Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สี่ตา-นอกตำรา
•
ติดตาม
14 มิ.ย. 2020 เวลา 16:41 • การศึกษา
“การปฏิเสธงานเป็นเพราะสองเหตุผลนี้นี่เอง”
เมื่อครู อาจารย์ หรือหัวหน้า สั่งงานให้ลูกศิษย์หรือลูกน้องทำ และรู้สึกว่าเขาอึดอัดที่จะทำ หรือทำด้วยความอืดระดับสิบ นั่นเป็นเพราะเขา “ทำไม่ได้” หรือ “ไม่อยากทำ” กันแน่
ให้ลองหาคำตอบดูว่าเป็นแบบไหน จะได้แก้ไขได้ถูกจุด ไม่เช่นนั้นจะทำงานร่วมกันยากลำบาก และต้องเหนื่อยตามงานมากทีเดียว
ถ้าคำตอบคือ “ทำไม่ได้” เป็นเพราะเขาขาดทักษะ ให้ดูว่าจะส่งเสริมทักษะนั้นๆ ได้อย่างไร ให้เขาได้ทดลอง ฝึกทักษะ จะได้มั่นใจ และครูมีหน้าที่ให้ความมั่นใจว่าเขาทำได้ หากผิดพลาดให้แนะนำ มีโอกาสให้แก้ไข
ถ้าคำตอบคือ “ไม่อยากทำ” หมายความว่าเขาขาดแรงจูงใจ ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมถึงต้องทำงานนี้ ทำไปทำไม ครูจึงมีหน้าที่ฟังให้มากก่อน จะได้รู้สิ่งที่เป็นแรงจูงใจ จากนั้นจึงให้เขาเข้าใจคุณค่าของตนเอง ของงาน เพราะถ้าเขาตระหนักได้ถึงคุณค่า ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เขาจะต้องการทำงานนั้นด้วยตนเอง ไม่ต้องให้บอกทีละขั้น
เมื่อเขามีทักษะมั่นใจแล้วและมีแรงจูงใจ เขาจะลงมือหากระบวนการมานำเสนอ ครูอาจารย์ หรือหัวหน้า มีหน้าที่แนะนำ ชี้แจงข้อจำกัด หรือมุมที่เขามองไม่เห็น ไม่ควรบอกวิธีให้ตรงๆ หรือเปลี่ยนวิธี เอาแต่ความคิดตนเอง เพราะเขาจะไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ตนเองคิดและต้องรับผิดชอบให้ถึงที่สุด เขาจะคิดว่าก็คุณสั่งแบบนี้ก็ทำไปเท่าที่บอก
แต่ครู อาจารย์ หัวหน้าที่ดี จะต้องทำให้เขารู้สึกว่าเขาฉลาด คิดงานเองได้ เป็นส่วนสำคัญของงาน นอกจากเขาจะรู้สึกต้องรับผิดชอบ เขาจะทำเกินที่บอก เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ และบางทีได้นวัตกรรมใหม่ด้วยแบบนี้
อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมเดิมๆ ยังมีทุกที่ คือ การเป็นผู้ใหญ่ต้องดูเก่ง ฉลาด มากประสบการณ์ ยิ่งได้แสดงความเห็นมาก ตำหนิ เด็กๆ จะได้ยำเกรง ไม่ได้บอกว่าผิดนะคะ แต่ใช้ได้กับบางคนเท่านั้น และใช้กับเด็กรุ่นหลังๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ผล
และก็มีนะที่ครู อาจารย์ หัวหน้าบางคน เห็นเขาทำงานมาเกินหน้าที่ตอนนำเสนอจึงบอกว่าใครสั่ง ทำแล้วเสียเวลาวาดการ์ตูนไหม เอาเวลาไปแก้สมการไหม ทั้งที่ผลลัพธ์ที่เราต้องการมากกว่าวิชาการคือการที่เขาสนุกที่ได้ทำได้เรียนด้วย
แต่แปลกที่น้อยนักจะมีคนมาสนใจเรื่องพวกนี้ ส่วนใหญ่ต้องการเห็นผลงานเลย ถ้าเด็กทำไม่ดีก็ควบคุม จนเด็กรู้สึกตัวเล็กนิดเดียว รู้สึกว่าตัวเองโง่ และไม่อยากนำเสนออะไร รอทำตามคำบอก ผลงานนั้นคือของผู้ใหญ่ ได้ตามที่คิดเลย แต่วันหนึ่งเด็กๆ ลูกน้องก็หมดไฟ (Burn Out) ทั้งที่เรื่องการพัฒนาองค์กร คือการพัฒนาคน และต้องดูที่เขาคิดกระบวนการจึงจะส่งเสริมผลงานในระยะยาวในยุคนวัตกรรมนี้
แรงบันดาลใจเรื่องนี้จาก
#podcast แปดบรรทัดครึ่งตอนที่ 490: บริหารงานแบบIntel
#หนังสือ Hight Output Management #Andrew S. Grove
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย