Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอเก่งกระดูกและข้อ
•
ติดตาม
16 มิ.ย. 2020 เวลา 22:40 • สุขภาพ
ไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไม่ได้ เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร?
ผมยกตัวอย่างคนไข้อายุ 50 ปี เริ่มมีอาการปวดไหล่มาได้ประมาณ 2 เดือน อาการเริ่มปวดมากขึ้นเรื่อย ก็ไปรักษาด้วยการนวด หลังจากนวดที่หหล่แล้วมีอาการปวดระบบมากขึ้น ไม่สามารถยกแขนได้ ไม่สามารถขยับไหล่ได้เลย ถอดเสื้อลำบาก ยกมือ แปรงฟันลำบาก
ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ เนื่องจากมีอาการปวด และขอไหล่ยึดติด
สาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดเนื่องจากเกิดการอักเสบในตำแหน่งของกระดูกข้อต่อ เส้นเอ็น เเละเนื้อเยื่ออ่อนรอบข้อ
ผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อไห่ลติดทุกทิศทาง ต้องจำแนกให้ได้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรบ้างได้แก่
1. คนไข้ที่มีปัญหาที่ไหล่โดยตรงเช่น เส้นเอ็นฉีกขาด ก้อนหินปูนในเส้นเอ็นที่ข้อไหล่ ถุงน้ำอักเสบที่ข้อไหล่
ก้อนหินปูนที่ไหล่
2. โรคที่เกิดนอกข้อไหล่แต่ส่งผลกระทบทำให้ข้อไหล่ติด เช่น คนไข้เส้นเลือดสมองตีบทำให้เกิดอัมพาต คนไข้เบาหวาน คนไข้โรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการไหล่ติด
ปัญหาข้อไหล่ติดที่เกิดจากกระบวนการอักเสบของข้อไหล่โดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดในเพศหญิง อายุ 40-60 ปี ซึ่งคนไข้มักจะมีอาการปวดบริเวณรอบๆข้อไหล่ และต้นแขนส่วนบน เมื่อขยับไหล่หรือแขนมักจะทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น อาการปวดมักจะเป็นตลอดเวลา
การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้มาก ส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น การยกมือหวีผม การสวมใส่ชุดชั้นใน การสวมใส่เสื่อยืดลำบาก
ระยะของไหล่ติดจะมีอยู่ 3 ระยะได้แก่
1. ระยะเริ่มแรก ที่เกิดการอักเสบของข้อไหล่ที่อาจจะเกิดจากก้อนหินปูนหรือไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก ยิ่งเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ยิ่งมีอาการปวดในทุกทิศทางของการเคลื่อนไหว ข้อไหล่เริ่มมีการติด ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ
2. ระยะข้อไหล่ติด อาการปวดจะเริ่มทุเลาลง แต่ปัญหาที่ตามมาคือเกิดการยึดติดของข้อไหล่ทุกทิศทาง ไม่สามารถเคลื่อนไหวของข้อไหล่ได้
3. ระยที่ 3 เป็นระยะที่เริ่มมีการคลายตัวของข้อไหล่ ข้อไหล่เริ่มขยับได้ดีมากขึ้น
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายเพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของข้อไหล่
การตรวจด้วย x ray เพื่อประเมินสภาพของกระดูกข้อไหล่
การตรวจด้วย ultrasound เพื่อประเมินสภาพของเส้นเอ็น และลักษณะการอักเสบภายในข้อ
การตรวจ ultrasound ที่ไหล่
ก้อนหินปูนในไหล่
เส้นเอ็นไหล่ขาด
การตรวจ MRI หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะช่วยประเมินสภาวะของแคปซูล เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกของข้อไหล่
taninnit.com
การตรวจด้วย MRI - หมอเก่ง สันป่าข่อยคลินิก (กระดูกและข้อ)
FacebookTwitterLineการตรวจด้วย MRI ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพ […]
การรักษา
การรับประทานยาแก้ปวด ลดการอักเสบ
การฉีดยาลดการอักเสบเฉพาะที่ที่บริเวณข้อไหล่
การฉีดยาเข้าไปเพื่อช่วยขยายข้อไหล่เพื่อยืดแคปซูลและเนื้อเยื่ออ่อนในข้อไหล่
การประคบเย็นเพื่อลดการอักเสบ
การทำกายภาพบำบัด ไม่แนะนำให้ทำในช่วงระยะแรกของโรคที่มีการอักเสบมาก เพราะยิ่งทำการเคลื่อนไหวข้อมาก คนไข้ยิ่งมีอาการปวดมากขึ้น จะทำเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือระยะที่ 3 เพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่
การพยากรณ์โรค
อาการไหล่ติดส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลรักษาค่อนข้างนาน ประมาณ 12-18 เดือน
สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่
Line OA
https://lin.ee/swOi91Q
หรือ Line ID search @doctorkeng
28 บันทึก
151
37
61
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ปวดไหล่
28
151
37
61
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย