15 มิ.ย. 2020 เวลา 04:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เดินทางข้ามเวลา....
เราสามารถเดินทางข้ามเวลาได้มั๊ย ?…เป็นคำถามที่มีมาเนิ่นนานและเป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนกำลังค้นหาคำตอบ
หากเรามองว่าเวลาคือสิ่งที่เดินทางเป็นเส้นตรง โดยเข็มนาฬิกาเดินจากอดีตมายังปัจจุบันและมุ่งต่อไปสู่อนาคตอย่างต่อเนื่อง การเดินทางข้ามเวลาในรูปแบบนี้จะอิงอาศัยทฤษฏีสัมพัทธภาพของ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์"
ซึ่งบ่งชี้ว่าโลกไม่ได้มีแค่ 3 มิติ (กว้าง ยาว สูง) แต่ยังมีมิติที่ 4 คือมิติของเวลา เข้ามาเชื่องโยงกันอย่างแน่นแฟ้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรียก “กาล-อวกาศ (Space-Time)”
Credit: shutterstock
เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วเราจะสามารถเดินทางข้ามเวลาจากฝั่งนึงไปอีกฝั่งนึงได้ยังไง ?
เราสามารถ "พับ" Space-Time 2 ตำแหน่งที่อยู่แยกห่างกันไกลมาบรรจบกันได้ เพื่อย่นระยะทาง โดยทางลัดที่เกิดจากการพับมิติทั้งสี่นี้เรียกว่า "รูหนอน" (Wormhole) ซึ่งเป็นช่องทางคล้ายอุโมงค์เชื่อมต่อเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน
Credit: ALAMY ภาพแสดงให้เห็นรูหนอนข้ามเวลาซึ่งเกิดจากการพับตัวและบิดเบี้ยวของกาล-อวกาศ
แม้ว่ารูหนอนจะมีกระจายอยู่ทั่วไปในจักรวาล แต่รูหนอนที่อยู่ใกล้โลกของเรามากที่สุดก็อาจจะอยู่ห่างออกไปหลายล้านปีแสง และยังไม่มีใครรับรองได้ด้วยว่าหากเราเดินทางข้ามรูหนอนนั้นไปเราจะไปโผล่ในยุคสมัยไหน
นอกจากนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอื่น ๆ อยู่ เช่น รูหนอนมักยุบตัวพังถล่มได้ง่าย และอาจบดขยี้ผู้ที่กำลังเดินทางท่องเวลาอยู่ภายในนั้นได้
แม้ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์บางรายมองว่าการเดินทางข้ามเวลาไม่สามารถเป็นไปได้จริง แต่หลายรายก็ฝากความหวังไว้กับความก้าวหน้าของวิทยาการควอนตัม
โฆษณา