16 มิ.ย. 2020 เวลา 08:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความเจ้าเล่ห์ในการเอาตัวรอดของ ‘จักจั่นงวง’
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เมื่อพูดถึงหน้าร้อนก็คงหนีไม่พ้นทะเลสีครามกับหาดทรายสีขาวเป็นแน่ แต่ยังมีอีกอย่างที่เป็นสีสันให้กับฤดูนี้ นั่นก็คือ ‘จักจั่นงวง’ นั่นเอง
‘จักจั่นงวง’ หรือ ‘ด้วงงวงช้าง’ (Props candelaria) เป็นแมลงที่อยู่ในวงศ์ Fulgoridae คือ ปีกจะหุบอยู่ข้างลำตัวมีสีสันโดดเด่นสะดุดตา ปีกของมันจะเป็นเยื่อบางๆ มีลายขวางที่ปีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเมืองไทยพบจั๊กจั่นงวงถึง 7 สกุล 30 ชนิด บางชนิดจะมีงวงยื่นออกมาหรือบางชนิดก็ไม่มีให้เห็นเลย พวกมันมักจะออกมาเผยโฉมให้เห็นในฤดูร้อนและวางไข่ในฤดูหนาว ขนาดตัวของมันจะอยู่ที่ 2-8 เซนติเมตร อาศัยอยู่ใต้พื้นดินเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากพืชเป็นอาหาร
SHUTTERSTOCK
นอกจากสีสันที่สวยงามของปีกแล้วมันยังมีลักษณะนิสัยพิเศษนั่นก็คือ ‘แกล้งตาย’ เมื่อมนุษย์หรือนักล่าไปจับตัวของมัน มันจะแกล้งตายเพื่อให้เราไม่สนใจ แต่เมื่อเผลอเมื่อไหร่ มันจะขยับตัวแล้วหนีไปทันที หากใครต้องการจะพบเห็นความสวยงามของเจ้า ‘จักจั่นงวง’ สามารถหาชมได้ตามป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์หรือสวนผลไม้ต่างๆ แต่จุดที่พบเห็นเจ้าจั๊กจั่นงวงได้มากที่สุดคือที่ จ.พิษณุโลก
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
SHUTTERSTOCK

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา