สวัสดีวันอังคารด้วย ปูไก่ อ่าวมาหยา
•
ปูไก่ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cardisoma carnifex) เป็นปูชนิดหนึ่งในวงศ์ปูบก (Gecarcinidae) มีอีกชื่อเรียกว่า ปูขน หรือ ปูภูเขา
•
มีรูปร่างหน้าตาเหมือนปูทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่ ช่วงที่โตเต็มวัยกระดองเป็นรูปไข่สีน้ำตาลปนเหลือง ด้านหน้าโค้งมนกลม ตัวผู้มีกล้ามที่ใหญ่โตและแข็งแรง ขาเดินมี 4 คู่ ข้อสุดท้ายมีปลายแหลมขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ขาเดินทุกคู่มีขนสีดำ ก้ามมีสีน้ำตาลปนส้ม ความยาวกระดองประมาณ 8-20 เซ็นติเมตร
•
มีลักษณะเด่นดังนี้
•
1.ปูไก่ในช่วงวัยอ่อนจะใช้ชีวิตในน้ำทะเล พอโตก็ย้ายมาอยู่บนบก และจะกลับไปทะเลอีกครั้งในตอนที่ตัวเมียวางไข่ในน้ำทะเลเท่านั้น
•
2.มีเหงือกเป็นขุย มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมากคล้ายถุงลมในปอดของสัตว์บก เพื่อหายใจจากอากาศโดยตรง
•
3.มีการขับถ่ายด้วยกระบวนการเปลี่ยนของเสียจากแอมโมเนียให้กลายเป็น กรดยูริก แล้วเก็บไว้ในเนื้อเยื่อ เนื้อปูไก่จึงไม่อร่อย คนจึงไม่นิยมนำมา บริโภค
•
4.เป็นปูบกที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานฯได้ทำการวัดขนาด พบว่ามีขนาดกระดอง 10 เซ็นติเมตร เมื่อกางก้ามคู่หน้าออกเต็มที่มีความยาวถึง 35-45 เซ็นติเมตร
•
5.เมื่อพระจันทร์เต็มดวงช่วงผสมพันธุ์ มันจะออกมาล้อแสงจันทร์จับคู่ พร้อมใช้ก้ามคู่หน้าสีกัน เกิดเสียง"เจี๊ยบๆ"คล้ายลูกไก่ร้อง จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปูไก่"
•
สามารถพบตามลำธารบนภูเขาและตามป่าชายหาดตามเกาะของภาคใต้ แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ ยะลา พังงา ซึ่งปัจจุบันพบได้ยากมาก
•
ขอบคุณข้อมูล อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
•
•
ติดตามกันได้ที่