สารพฤกษเคมี และสารประกอบฟีนอล
มีเกลือแร่ ไฟเบอร์ และมีโปรตีนสูง
ในขนุนยังมีไขมันและคอเลสเตอรอลที่น้อยมากๆ และให้พลังงานต่ำ โดยขนุน 100 กรัมให้พลังงานเพียง 94 กิโลแคลรอลีเท่านั้น
มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสจึงมีส่วนช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อขนุนดิบ ต่อ 100 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม
น้ำตาล 19.08 กรัม
เส้นใย 1.5 กรัม
ไขมัน 0.64 กรัม
โปรตีน 1.72 กรัม
วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม 1%
เบตาแคโรทีน 61 ไมโครกรัม 1%
ลูทีนและซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.105 มิลลิกรัม 9%
วิตามินบี 2 0.055 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 3 0.92 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 5 0.235 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 6 0.329 มิลลิกรัม 25%
วิตามินบี 9 24 ไมโครกรัม 6%
วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม 17%
วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม 8%
ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม 2%
ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม 3%
ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม 10%
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม 1%
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่อ้างว่า ขนุนมีสรรพคุณลดการอักเสบและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา สอดคล้องกับงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่กล่าวถึงสารประกอบอาร์โทคาร์เปซิน (Artocarpesin) ในขนุนอันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟีนอลิก คาดว่า สารนี้มีคุณสมบัติช่วยลดภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นจากการต่อต้านปฏิกิริยาบางอย่างภายในร่างกาย รวมทั้งอาจมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
งานวิจัยด้านคุณสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียชิ้นหนึ่งที่ทำในห้องทดลองก็ชี้ว่า ผงสกัดสารอาร์โทคาร์ปิน (Artocarpin) และอาร์โทคาร์ปาโนน (Artocarpanone) จากลำต้นของขนุนมีฤทธิ์ช่วยยั้บยังเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงได้หลากหลายชนิด แต่ว่าคุณสมบัติในการต้านอักเสบและยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของขนุนจะนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ได้จริงหรือไม่ คงต้องรอให้มีการศึกษาในคนโดยตรงและยืนยันประสิทธิภาพได้อย่างแน่ชัดเสียก่อน
สรรพคุณของขนุนสำหรับการรักษาโรค
1. ช่วยในเรื่องการนอนหลับ
ในขนุนมีแมกนีเซียมและธาตุเหล็กที่ช่วยกระตุ้นให้ฮอร์โมนเมลาโทนินทำงานได้อย่างเต็มที่ จึงส่งผลให้นอนหลับสบายขึ้น