19 มิ.ย. 2020 เวลา 23:38
มาทำความรู้จักกับสายไฟฟ้า VAF และสาย VAF-G
โครงสร้างของสาย VAF
โครงสร้างของสาย VAF
ส่วนแรกคือ ตัวนำ ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าครับ มีทั้งแบบแกนเดี่ยวและแบบเกลียว มีขนาดตังแต่เบอร์ 1- 16 Sq.mm ครับ
ส่วนถัดมา คือ ฉนวน มีหน้าที่ป้องกันการลัดวงจร อันตรายจากการสัมผัสตัวนำโดยตรง ซึ่งฉนวนจะทำมาจาก PVC ครับ
สีของฉนวนสีน้ำตาล จะใช้เป็นสายเฟส
สีของฉนวนสีฟ้า จะใช้เป็นนิวทรัล
สีของฉนวนสีเขียวแถบเหลือง จะใช้เป็นสายดิน
ส่วนถัดมาจากฉนวน คือ เปลือก PVC  สีขาวที่หุ้มฉนวนและตัวนำไว้ เพื่อป้องกันความชื้นและช่วยป้องกันความเสียหายทางกลจากการขูดขีดจากการติดตั้งครับ
โครงสร้างของสาย VAF-G
สาย VAF จะอ้างอิงมาตรฐาน มอก.11-2553 จะทนแรงดันไฟฟ้า 300/500 V และทนอุณหภูมิได้ 70 องศาเซลเซียสนะครับ ซึ่งจะแสดงกำกับไว้ที่เปลือกของสายครับ
เราสามารถแยกประเภทของสาย VAF ได้ 2 แบบ ครับ คือ แบบ 2 แกน และ แบบ 3 แกน คือมีสายดินเพิ่มขึ้นมาตามมารฐานการไฟฟ้าที่ให้มีสายดินครับ
ตารางขนาดสาย
ข้อกำหนดในการใช้สาย VAF
สามารถใช้เดินเกาะกับผนังอาคาร
ใช้เดินเกาะผนังอาคาร
ใช้เดินในราง Wireway และต้องป้องกันน้ำ ไม่ให้เข้ารางครับ
1
ใช้เดินในราง Wireway
ข้อห้ามในการใช้งานสาย VAF
ห้ามใช้สาย VAF ร้อยในท่อร้อยสายครับ เพราะสายจะมีลักษณะแบน ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อร้อยสายในท่อ
ห้ามร้อยสายในท่อ
ห้ามใช้สาย VAF เดินสายบนราง Cable
ห้ามเดินสายบนราง Cable
ห้ามร้อยสายฝังดินหรือร้อยสายในท่อฝังดิน
ห้ามร้อยสายในท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง
โฆษณา