16 มิ.ย. 2020 เวลา 15:14 • ความคิดเห็น
เล่าเรื่องเมืองจีน: เมื่อ 'WeChat' ไม่ได้เป็นแค่ 'แอปแชท'
แต่ทำให้คนจีนทำทุกอย่างผ่านONLINE ได้เหมือนอยู่หน้าร้าน ยุค NEW NORMAL
- WeChat เป็นแอพลิเคชันชื่อดังที่คนจีนนิยมใช้กันมากที่สุด โดยความน่าสนใจของ WeChat คือการออกแบบประสบการณ์แบบ O2O คือ พยายามเชื่อมต่อลูกค้าจาก Online ไป Offline หรือจาก Offline ไป Online
- โดยในช่วง Covid-19 ที่ทำให้คนจีนต้องติดแหงกอยู่ในบ้านอกไปไหนไม่ได้ กลายเป็นความท้าทายให้หลายๆแบรนด์ ต้องหันมาสร้างประสบการณ์ผ่านมือถือ เพิ่มปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เพิ่มความน่าดึงดูดใจ เพื่อให้ปิดการขายได้โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเดินทางออกมาจากบ้าน กล่าวได้ว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
- หลายๆแบรนด์ในจีนหันมาใช้กลยุทธ์ ไม่ใช่แค่ Online to Offline แต่กลายเป็นต้องทำให้ Online = Offline
.
1. หน้าร้านออฟไลน์ = หน้าร้านออนไลน์
WeChat Official Account มีการพัฒนาให้ประสบการณ์ในการใช้ WeChat มีความยืนหยุ่น สามารถออกแบบคอนเทนต์ได้ค่อนข้างอิสระกว่า Facebook และ Line สามารถดีไซน์ template ที่แทรกไปด้วยวิดีโอ และภาพ .gif สามารถแทรก “สติกเกอร์” น่ารัก ๆ ในคอนเทนต์ ที่แฟน ๆ สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารใช้ Mini Program ซึ่งเป็นแอพขนาดเบาที่ฝังอยู่ใน WeChat สามารถดัดแปลงเป็นได้ทั้งหน้าเว็บ เกมส์ และช่องทาง e-commerce
1
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ Mini Program ของ King Power ที่ยกร้านต่าง ๆ ขึ้นไปอยู่บน Mini Program ทำให้นักท่องเที่ยวจีนสามารถซื้อของจาก King Power แบบออนไลน์ และชำระเงินได้ตั้งแต่อยู่ที่จีน แล้วค่อยมารับสินค้าเมื่อมาถึง King Power ในไทย ลูกค้าไม่ต้องแลกเงิน ไม่ต้องต่อแถว และไม่ต้องกลัวตกเครื่อง
.
2. พนักงานขายหน้าร้าน ย้ายมาอยู่บนออนไลน์
ฟังชัน Livestream ของ WeChat ยังมีประโยชน์ในการขายของแบบ real-time โดยพนักงานขายสามารถปิดการขายสินค้าได้ในเวลาไม่กี่ชม. จากที่ไหนก็ได้ หรือจะใช้ influencer มาไลฟ์สดหน้าร้านเพื่อสร้างความบันเทิง หรือช่วยลูกค้าเลือกของก็ยังได้
แม้แต่ประสบการณ์หน้าร้าน ก็สามารถยกขึ้นมาทำบนมือถือได้ เช่น แบรนด์ Armani ที่ทำให้ลูกค้าสามารถมาลองสีลิปสติกผ่าน Mini Program โดยออกแบบให้จอมือถือเป็นกระจกที่ให้ผู้ใช้ลองเลือกสีลิปสติกผ่าน AR Technology ตามใจชอบแล้วกดสั่งซื้อได้ทันที
.
3. ย้ายกิจกรรมหน้าร้าน มาอยู่บนมือถือ
จากเดิมที่ร้านค้ามักจะทำโปรโมชันเล่นเกมส์หน้าร้าน ก็สามารถใช้ Mini Program ใน WeChat สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ต่าง ๆ เพื่อเชื่อมกับคนจีนได้ ยกตัวอย่างเช่นเกมส์ของแบรนด์โสมชื่อดัง Eu Yun Sang ที่ฉลองปีหมูทองด้วย Mini Program ที่ออกแบบเป็นตู้คีบจับหมูเพื่อสะสมแต้ม แลกอั่งเป่า ซึ่งเป็นกิจกรรมยอดฮิตของชาวจีน
.
4. หน้าร้านมีป้ายโฆษณา บน WeChat ก็มีโฆษณา
เจ้าของ WeChat Official Account สามารถสร้างโฆษณาที่เรียกว่า Moment Ads ซึ่งมีความกลมกลืนไปกับ feed ของผู้ใช้ WeChat คล้าย ๆ กับโฆษณาของ Facebook โดย Moment Ads สามารถเข้าถึงคนได้โดยสามารถค่ากลุ่มเป้าหมายได้ตั้งตามโลเคชัน ความสนใจ เพศ อายุ และพฤติกรรม เป็นได้ทั้งภาพนิ่ง และวิดีโอ
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมแบรนด์ที่ทำการตลาดกับจีน จึงนิยมที่จะต้องมี WeChat Official Account ที่ได้รับการ Verify แล้ว ทำให้สามารถเข้าถึงฟีเจอร์ และทำแคมเปญการตลาดแบบครบลูป ตั้งแต่โฆษณาเรียกความสนใจ ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ทำกิจกรรมกระตุ้นยอดขาย ไปจนถึงการทำ CRM
.
สำหรับแบรนด์ไทยการทำ WeChat จึงเป็นประโยชน์มากในการเชื่อมต่อกับลูกค้าชาวจีนตั้งแต่ยังไม่เดินทางออกนอกประเทศ หรือเมื่อเดินทางมาแล้วแต่ยังมาไม่ถึงร้าน จนกระทั่งเข้ามาในร้านแล้วกลับออกไป ลูกค้าก็ยังคงอยู่กับเราในแอพ WeChat ทำให้เราสามารถสร้างยอดขายต่อเนื่องได้ตลอดเวลา
หากผู้ประกอบการหรือแบรนด์ไหนต้องการเปิด WeChat Official Account อ้ายจงแนะนำว่าควรดำเนินการผ่าน Tencent บริษัทแม่ของWeChatโดยตรง เช่น Tencent Thailand
หรือจะติดต่อผ่าน WeChat Official Partner ในประเทศไทย ที่มีบริการอื่นๆนอกเหนือจากWeChat เช่น Digilink Thailand ก็ได้
เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากรรมสิทธิ์ของแอคเคาน์ที่สร้างขึ้นจะเป็นของแบรนด์โดยตรง ไม่ได้อยู่ภายใต้ชื่อบริษัทอื่น ซึ่งจะทำให้เราเสียกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในอนาคต
ใครที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ในจีน และการทำตลาดจีน สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #การตลาดจีน #WeChat
โฆษณา