Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MALAO มาเล่า
•
ติดตาม
17 มิ.ย. 2020 เวลา 08:00 • ครอบครัว & เด็ก
....เรื่องน่ารู้.....ในโลกของ...
🌸ดาวน์ซินโดรม🌸
โรคทางพันธุกรรมที่พ่อแม่ ควรดูแลด้วยความรักความเข้าใจ
👶เราเชื่อว่าพ่อแม่หลายคนคงเสียใจไม่น้อย เมื่อลูกเกิดมาพร้อมความผิดปกติในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม แม้โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่พ่อ แม่ สามารถอยู่กับลูกให้มีความสุขได้ด้วยความรักและความเข้าใจ
🌸ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)🌸เป็นชื่อที่เราเคยได้ยินและคุ้นหูกันอยู่แล้ว พบว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยที่เกิดมาพร้อมกับกลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของแท่พันธุกรรมหรือโครโมโซมคู่ที่ 21 คือมีเกินมา 1 แท่ง โดยปกติคนเราจะมีโครโมโซมซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณํของแต่ละบุคคล เช่น สีของตา เพศ หรือการพัฒนารูปร่างหน้าตา ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม รวมเป็น 46 โครโมโซม แต่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมมักมีโครโมโซม 47 โครโมโซม ส่งผลให้เกิดลักษณะผิดปกติของรูปร่างหน้าตา และอวัยวะต่างๆ
ดาวน์ซินโดรมสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดตามลักษณะการเกิด แต่มีอาการแสดงที่ออกมาคล้ายกัน ได้แก่
1)Trisomy 21 มีโครโมโซมในคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
2)Translocation มีภาวะการสับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายโครโมโซมในคู่ที่ 21 ย้ายไปอยู่ติดกับโครโมโซมคู่อื่น
3)Mosaicism มีเพียงบางเซลล์ที่ผิดปกติ จึงมีอาการผิดปกติหรือลักษณะภายนอกที่แสดงออกมาน้อยกว่าแบบอื่น
โอกาสในการมีบุตรเป็นกลุ่มอาการดาวน์นั้นเกิดขึ้นได้ในหญิงตั้งครรภ์ทุกวัย แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุ 35 ปีขึ้นไป
🐰ลักษณะทางร่างกายของเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม
เด็กกลุ่มอาการดาวน์ มีลักษณะทางร่างกายภายนอกที่จำเพาะ เช่น ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ดั้งจมูกแบน ลิ้นโตคับปาก มีลายฝ่ามือตัดขวาง กระดูกข้อกลางของนิ้วก้อยสั้นหรือหายไป ตัวนิ่มอ่อนปวกเปียก ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน ตัวเตี้ย และมักจะมีรูปร่างอ้วน เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อน และปัญหาที่พบร่วมอื่นๆ
นอกจากลักษณะภายนอกร่างกายแล้ว เด็กกลุ่มนี้อาจมีภาวะการเจ็บป่วยอื่นๆที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษร่วมด้วย เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด ลำไส้อุดตัน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ปัญหาสายตาและการได้ยิน เป็นต้น มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นกว่าเด็กปกติ มีภาวะสติปัญญาล่าช้า บางคนมีอาการชัก สมาธิสั้น ออทิสติก หรือมีปัญหาทางด้านพฤติกรรม และอาจเป็นอัลไซเมอร์เมื่อมีอายุมากขึ้น🐰
⚕️แนวทางการวินิจฉัยโรคดาวน์ซินโดรม
เนื่องจากยังไม่มีวิธีการรักษากลุ่มอาการดาวน์ให้หายขาด การตรวจคัดกรองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยการเจาะเลือด อัลตราซาวนด์ เจาะน้ำคร่ำ หรือการตรวจชิ้นเนื้อรก จะทำให้ทราบได้ว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่เป็นกลุ่มอาการดาวน์หรือไม่ เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่และทีมแพทย์ผู้ดูแลจะได้วางแผนในการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป⚕️
💗การดูแลรักษาบุตรที่เป็นดาวน์ซินโดรม💗
คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดู อาจต้องเผชิญกับความเครียด ความกังวล และเสียใจที่ลูกเกิดมาพร้อมกับกลุ่มอาการดาวน์ การยอมรับความจริงและการมีความเข้าใจในกลุ่มอาการดาวน์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีพัฒนาการเป็นลำดับขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วๆไป แต่อาจมีความล่าช้ากว่าเด็กปกติ
เครดิตภาพ: psicoportal
คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับเด็กและช่วยเหลือเด็กในด้านต่างๆ ร่วมกับการส่งเสริมพัฒนาการ🤽🤹🤼 เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามศักยภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เด็กบางคนสามารถเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ และสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้มีความสุข
เครดิตภาพ: psicoportal
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูไม่ควรคาดหวังในตัวเด็กมากจนเกินไป และควรให้กำลังใจซึ่งกันและกันในการเลี้ยงดูลูกที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ แม้ว่าจะเด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาในหลายๆด้าน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าลืมมองด้านดีๆของเขา เพราะเด็กกลุ่มนี้มักจะเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี ร่าเริง และเลี้ยงง่ายกว่าเด็กทั่วๆ ไป😊
ขอบคุณข้อมูลจาก
pobpad.com/ดาวน์ซินโดรม
komchadluek.net/news/knowledge/223780
www.phyathai.com
บันทึก
1
4
1
1
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย