17 มิ.ย. 2020 เวลา 12:25 • ธุรกิจ
## บางธุรกิจที่ไม่น่าจะโดนผลจากโควิด เช่น Grab ยังต้องขอลดรายจ่าย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ##
1.
แอนโทนี ตัน ซีอีโอบริษัท Grab
ได้ทำหนังสือถึง Grab 8 สาขาที่ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 63 แจ้งว่า
.
“บริษัทขอเลิกจ้างพนักงาน 360 คน หรือ ประมาณ 5 % ของทั้งหมดพร้อมจ่ายเงินชดเชยและโบนัส ตามที่ระบบบริษัทได้กำหนดไว้ บริษัทให้สัญญาว่า ปีนี้จะไม่มีการเลิกจ้างพนักงานอีก”
2
2.
แอนโทนี บอกว่า
Grab เองเจอปัญหาเรื่องรายจ่ายที่สูงขึ้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่มีการประกาศล็อคดาวน์ บริษัทได้พยายามที่จะบริหารต้นทุนให้ดีที่สุดแล้ว เช่น ตัดงบบางส่วน ควบคุมรายจ่าย ลดเงินเดือนผู้บริหาร แต่ก็ยังไม่ไหว จึงจำเป็นต้องลดพนักงานบางส่วนไป
3.
ขณะนี้ Grab กำลังเริ่มปรับแผนงานใหม่
เพื่อให้ธุรกิจผ่านช่วงวิกฤติไปได้ บริษัทจะมีการตัดโครงการบางส่วนที่ไม่ทำรายได้ออก และโฟกัสกับงานเดลิเวอรี่มากขึ้น เช่น บริการรับส่งผู้โดยสาร หรือ งานส่งอาหาร ซึ่งถือเป็นส่วนที่ทำเงินให้กับบริษัทในขณะนี้
===========
ก่อนหน้านี้ ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม
บริษัท Uber ซึ่งทำธุรกิจคล้ายกับ Grab ก็เพิ่งมีข่าวปลดคนไป 3,700 คน (14% ของพนักงานทั้งหมด) และยังมีธุรกิจคู่ค้าและคู่แข่งอีกหลายเจ้า อย่าง Lyft ที่ต้องลดรายจ่ายด้วยการเลย์ออฟพนักงาน
ดูไม่น่าจะกระทบใช่มั้ยละคะ Grab เนี่ย
เพราะช่วงเราซ่อนตัวอยู่ในบ้านหนีโควิด ปองว่าเราน่าจะเห็น หน้าพี่ ๆ Grab กันบ่อยสุดเนอะ เพราะอาหารก็ Grab เรียกส่งของก็ Grab อะไร ๆ ก็เรียกหาพี่เสื้อเขียวมาบริการ ก็แอพเค้าสะดวกนี่คะ
ถามว่า...เราใช้บริการส่งของเยอะแค่ไหน ??
ก็แค่...แกร็บ (ประเทศไทย) ขอรับคนขับเพิ่มอีก 35,000 คนในเดือนเมษาที่ผ่านมา เพราะมีคนส่งของมีไม่พอ
อ้าวววว ก็น่าจะดีนี่นา...แล้วปลดคนทำไมกัน
เพราะ…รายได้หลักจริง ๆ ของ Grab ไม่ใช่การส่งอาหารค่ะ แต่เป็น “การรับส่งคนเดินทาง” และ มากกว่า 50% เป็นนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ Grab
# Grabคือหนึ่งในธุรกิจพึ่งพาท่องเที่ยว
CEO ของ Grab ประเทศไทย
เคยออกมาพูดเมื่อปีก่อน ในงานฉลองครบรอบ 6 ปีว่า
.
“เกินครึ่งของรายได้บริษัทมาจาก การรับส่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะลูกค้าจากจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย
Grab กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตลอด 6 ปีมานี้ มีคนเรียกใช้บริการ Grab มากกว่า 320 ล้านครั้ง และด้วยนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของทั้ง 8 ประเทศที่ Grab ให้บริการอยู่ โดยเฉพาะประเทศไทย บริษัทเชื่อว่าหลังจากปี 2562 เป็นต้นไป จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ดังนั้นบริษัทจึงตัดสินใจขยายกิจการไปยังต่างจังหวัด ปัจจุบัน Grab มีรถให้บริการถึง 18 จังหวัดในไทย
“และนั้นคือ สิ่งที่บริษัทพูดไว้ก่อนเกิดโควิด”
# Grabเป็นบริษัทที่ขาดทุนต่อปีเยอะมาก
ปองเข้าไปส่องผลกำไรแล้ว แทบร้อง อ๊ากก !
.
นี่แค่ดูย้อนหลัง 3 ปีนะคะ บริษัทขาดทุนเฉลี่ย 700 ล้านบาทต่อปี จากการที่เค้าต้องทำการตลาดหนักมาก ให้คนรู้จักแอพลิเคชั่น
จำได้มั้ยคะ ช่วงแรก ๆ ที่ Grab เปิดตัว
จะมีโค๊ดส่วนลดเยอะมว๊ากกก เยอะจน...มีบางช่วงปองได้โปรนั่งฟรีด้วยค่ะ
แถม Grab ยังขยายไลน์การบริการเยอะในช่วง 2 ปีมานี้
เช่น Grabfood และ GrabExpress แล้วพอเปิดตัวใหม่ เค้าก็ต้องใช้เงินโปรโมทเยอะ เพื่อสู้กับเจ้าเก่าในพื้นที่อย่าง Food Panda และก็ต้องจ้างคนมาดูแลงานบริการทางนี้ อย่างเช่น ต้องมีไอทีเพิ่ม ต้องมี Call Center เพิ่ม เป็นต้น
#โควิดมาทีดับฝันหลายธุรกิจท่องเที่ยว
Grab เรียกว่า โดนเต็ม ๆ เพราะลูกค้าหลักเป็นคนเดินทาง แล้วปองดูจากรายงานการเงิน คิดว่าสภาพคล่องของบริษัทไม่น่าไหว ถ้าการท่องเที่ยวยังหดตัวแบบนี้ บริษัทน่าจะต้องลดการบริการบางอย่าง พร้อม ๆ กับที่อาจจะต้องปลดคนเพิ่มอีกในอนาคต
เมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกดูท่าจะซึมยาววว
บริษัทที่จะกระทบก่อน คือ กลุ่มที่ลงทุนหนักหน่วง แบบไม่ได้คิดเผื่อสถานการณ์อันเลวร้ายอย่างโควิด เรียกว่า กระหน่ำเติมเงินลงไปกับธุรกิจ "ชนิดยอมขาดทุนวันนี้ เดี่ยวกำไรดีในวันหน้า" แล้วยิ่งรายได้หลักมาจากคนเดินทางแล้วละก็ กระทบเต็ม ๆ เมื่อมีคำสั่งกักตัวคนในบ้าน
งานนี้ Grab คงต้องเร่งปรับแผนธุรกิจ
เพื่อความอยู่รอดของบริษัทละค่ะ เพราะโควิดที่ระบาดรอบ 2 ในจีน ดูท่าจะยาววว การท่องเที่ยวคงยังไม่ฟื้นตัวเร็ว ๆ นี้
สำหรับสาระแบบสั้นๆ และคลิปสั้นทันข่าว ติดตามได้ที่
ด้วยความปรารถนาดี
The Wisdom Diary
#GRAB
#แกร็บ
#Covid
#โควิด
#DWisdomDiary
โฆษณา