18 มิ.ย. 2020 เวลา 06:24 • ไลฟ์สไตล์
วันนี้เปลี่ยนแนวพาไปดูของสวยๆ งามๆ กันบ้างค่ะ
เอารูปปลากัดบางส่วนที่เคยเพาะมาฝากกันค่ะ ช่วงว่างๆ มักจะนั่งถ่ายรูปปลากัดเล่น พบว่าเป็นการฝึกสมาธิที่ดีมาก กว่าจะถ่ายได้แต่ละรูปต้องรอจังหวะ มีสมาธิจดจ่อและใจเย็นมาก
ปลากัดแฟนซี
เราไม่ได้เพาะปลากัดจริงจัง เลยไม่ได้ใช้หลักการอะไรมากมายในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ มาลุ้นเอาตอนออกลูกว่าได้แบบไหนบ้างก็สนุกดี
วิธีดูง่ายๆ ว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย แค่ยกโหลใส่ปลาขึ้นดูที่ใต้ท้อง ตัวเมียท้องจะป่องๆ มีตุ่มไข่สีขาวๆ และสีสัน ครีบต่างๆ จะไม่สวยโดดเด่นแบบตัวผู้
ปลากัดแฟนซี
เมื่อได้พ่อแม่พันธุ์ที่ถูกใจก็จัดการเพาะ อาหารก็ให้ไรแดงเหมือนปลาน้ำจืดทั่วไป
ปลากัดที่เป็นที่ต้องการของตลาดมี 2 ประเภท คือ ปลากัดสวยงาม ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะเด่นของสีสัน เช่น โค่ย (Koi) มีลักษณะลวดลายคล้ายปลาคาร์พ เพราะคำว่าโค่ยเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง ปลาคาร์พ
ปลากัดโค่ย
ปลากัดโค่ย
ปลากัดโค่ย
นีโม (Nemo) มีสีสันลวดลายคล้ายปลานีโมนั่นเอง มักจะมีสีส้ม แดง เหลือง บางครั้งก็มีสีดำหรือขาวปนอยู่ด้วย ซึ่งพัฒนาต่อมาจากปลากัดโค่ยอีกที
ปลากัดนีโม่
ดราก้อน มีสีมุกทั้งตัว ครีบสีแดงจะเรียกว่า เรดดราก้อน สีดำจะเรียกว่า แบล็กดราก้อน
ปลากัดเรดดราก้อน
ปลากัดเรดดรากอน
นอกจากนั้นยังมีมาร์เบิล, ซามูไร, เฮลล์บอย, บัตเตอร์ฟลาย, ซูเปอร์เรด, ซูเปอร์แบล็ก, ไวต์แพลตทินัม, คอปเปอร์, แคนดี้และอีกมากมาย ที่ดังมากก็จะเป็นปลากัดลายธงชาติ
ปลากัดแบล็คคอปเปอร์
ราคาขึ้นอยู่กับเกรดปลาและความนิยมในช่วงนั้นๆ มีตั้งแต่หลักสิบ หลักร้อย จนไปถึงหลักพัน ที่มีชื่อเสียงอาจจะหลักหมื่น เช่น ปลากัดลายธงชาติ ของเราเกรดธรรดาก็จะราคาแค่หลักสิบหลักร้อย
ถ้าขยันๆ ก็จะเอามาจัดใส่ขวดโหลแต่หลังๆ ไม่ว่างดูแลเลยไม่ได้เลี้ยงต่อ
ส่วนปลากัดอีกประเภทหนึ่ง คือ ปลากัดป่า ที่ใช้กัดแข่งกันซึ่งเราไม่ได้เพาะไว้
การเลี้ยงปลากัดเป็นงานอดิเรกก็เพลิดเพลินไม่น้อย แต่ต้องมีเวลาดูแล หลายครั้งที่เห็นพ่อแม่มาซื้อปลาให้ลูก ทราบว่าพอลูกเบื่อก็ไม่ได้ดูแลและปล่อยให้ปลาตาย ฟังแล้วเศร้าใจค่ะ
การเลี้ยงสิ่งมีชีวิตต้องมั่นใจว่าเรารักและมีเวลาดูแลเขาด้วย เพราะเขามีชีวิตและต้องการการเอาใจใส่จากเราค่ะ 🌿🌿
โฆษณา