18 มิ.ย. 2020 เวลา 01:50 • สุขภาพ
เรื่องของงูกัด
อาการของงูกัด แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ
1. อาการเฉพาะที่
2. อาการจากพิษของงู
อาการเฉพาะที่
- ปวด บวม แดง อักเสบ
- อาจจะมีการติดเชื้อแทรกซ้อน
- ถ้าบวมมาก อาจจะเกิดการกดเส้นประสาทหรือหลอดเลือด
- เกิดเนื้อตายได้ (ถึงแม้ว่าจะมาเร็จ ก็เกิดได้)
การรักษา เป็นการรักษาเพาะที่ ไม่จำเป็นต้องให้เซรุ่ม
ถ้าติดเชื้อก็ให้ยาฆ่าเชื้อ
ถ้าบวมมาก อาจจะให้สเตียรอยด์
ถ้าเกิดเนื้อตาย ก็ตัดเนื้อตายออก
อาการจากพิษงู แบ่งเป็น
1. พิษต่อระบบประสาท
2. พิษต่อระบบโลหิต
3. พิษต่อระบบกล้ามเนื้อ
พิษต่อระบบประสาท พบในงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา
ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
มักจะสังเกตได้จากหนังตาตกก่อน
ทำให้เสียชีวิตได้ ถ้ากล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง
พิษต่อระบบเลือด พบในงูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้
ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
เกิดเลือดออกไม่หยุด
พิษต่อระบบกล้ามเนื้อ พบในงูทะเล ไม่มีเซรุ่มเฉพาะ
จะให้เซรุ่มเมื่อเกิดอาการจากพิษ
คือ มีอาการอ่อนแรงแล้ว
หรือ ตรวจเลือดพบว่ามีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
เซรุ่ม คือแอนติบอดีที่ได้จากสัตว์
การนำมาให้กับคน จึงมีโอกาสเกิดการแพ้รุนแรงได้
ดังนั้น จึงให้เมื่อมีข้อบ่งชี้ คือเกิดอาการจากพิษงู
และต้องทดสอบว่าแพ้หรือไม่ ก่อนจะให้
ส่วนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- พยายามให้บริเวณที่ถูกกัด อยู่นิ่ง ๆ เพื่อให้พิษเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้า
เช่น หาอะไรดามไว้
- ไม่ต้องรัดอะไรทั้งนั้น
- ล้างแผลเหมือนแผลทั่วไป
- รีบไป ร.พ.
ถ้าได้รูปงูไปด้วยก็ดี โดยเฉพาะส่วนหัวของงู
(เคยเจอเคสที่เอางูมา แต่ตีหัวจนเละ บอกไม่ได้ชัดเจนว่างูอะไร)
ถ้าไม่รู้ว่างูอะไร ส่งไปถามได้ที่ไลน์ “งูเข้าบ้าน”
โฆษณา