#คลิปเพลงสั้น, #เรื่องเล่าก่อนเข้าเรื่องสั้นจันทร์เจ้าขา,
สวัสดีครับ เพื่อนๆ
เช้านี้ขอส่งคลิปที่พัก เล่นแจมบรรเลงสนุกๆ ระหว่างเรียบเรียงเพลง”จันทร์เจ้าขา” เวอร์ชั่นคลาสสิค ร้องคู่นะครับ..
ใน fam project นี้ ทำให้ได้เห็น อีกมุมนึงของน้องเปรมในความมุ่งมั่น ตั้งใจทำ และลงรายละเอียด ของ hobby project เล็กๆนี้ ..
ขอบคุณบางมุมดีๆของ COVID ที่ทำให้เราได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นอีก..
#เรื่องเล่าก่อนเข้าเรื่องสั้นจันทร์เจ้าขา
-มหาดเล็กไล่กา (สมัยเก่า) นั้น รัชกาลที่ 5 จะทรงคัดเลือกข้าหลวงเดิมจำนวน 12 คน จัดเป็นทหารมหาดเล็กเด็ก เรียกว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา” ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมาจิกกินข้าวสุกเวลาทรงบาตร ..จัดตั้งเป็นบอดี้การ์ดให้รับการฝึกทหารแบบยุโรป ต่อมาได้ขยายกำลังขึ้นโดยฝึกข้าหลวงเดิมสมทบกับพวกมหาดเล็กไล่การวม 24 คน จึงเรียกทหารมหาดเล็กชุดนี้ว่า “ทหาร 2 โหล” ต่อมา จึงมีการพัฒนา และขยาย จนตั้งโรงเรียนพิเศษขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ..
และมีพระยาสุรศักดิ์มนตรี เป็นเล็บเตอร์เนนท์โคโลเนล (นายพันโท) ผู้บังคับการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์..
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เสด็จฯ ทรงเปิดโรงเรียนนี้เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2430 โดยช่วงแรก จะเรียกชื่อโรงเรียนนี้ว่า “คะเด็ตสกูล” (Cadet School) มีโดยมีชาวต่างชาติ เป็นผู้บังคับการโรงเรียนคนแรกและวางกำกับหลักสูตร,
ในปี พ.ศ. 2431 จึงเปลี่ยนจากชื่อเรียก คะเด็ตสกูล เป็น “โรงเรียนทหารสราญรมย์”, โดยตึกโรงเรียนนายทหารสราญรมย์นั้น ปัจจุบันคือ กรมแผนที่ทหาร และอาคารเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบกที่ถนนราชดำเนินนอก ก็ถูกใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพบกจวบจนถึงปัจจุบัน..
#เกร็ดเพิ่มเติม
-จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี มีชื่อเดิมว่า เจิม เป็นชาวฝั่งธนบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2394 เป็นบุตรของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) กับคุณหญิงเดิม บุนนาค
-ปี พ.ศ. 2426 เกิดเหตุโจรผู้ร้ายชุกชุมที่เมืองสุพรรณบุรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อครั้งเป็นจมื่นไวยวรนาถได้รับมอบหมายให้ไปปราบ ซึ่งสามารถปราบได้สำเร็จ ,รวมทั้งปราบโจรผู้ร้ายจากทางหัวเมืองตะวันออกด้วย
-ในปี พ.ศ. 2428 ยังได้รับหน้าที่ให้เป็นแม่ทัพปราบฮ่อที่หัวเมืองลาว และในปี พ.ศ. 2436 ได้รับหน้าที่ไปปราบฮ่ออีกครั้งหนึ่ง โดยคิดค้นและผลิตลูกระเบิดขึ้นใช้ในการรบ จนกระทั่งปราบฮ่อได้สำเร็จราบคาบ..
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
18/6/2020
ภาพและข้อมูลสนับสนุน ส่วนหนึ่ง: ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมิถุนายน 2554, ผศ. ยุวดี ศิริ., วฎัรยา หุ่นเจริญ. “โรงเรียนสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6”. น. 119.,
ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทานสุพรรณบัตรและหิรัญบัตร, เล่ม ๑๓, ตอน ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๓๙, หน้า ๖๑๔