18 มิ.ย. 2020 เวลา 04:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Plug and Abandon EP1
การฝังกลบและสละหลุมปิโตรเลียม ตอนที่ 1 … เนื่องจากตอนนี้ในอ่าวไทยเรามีแท่นหลุมผลิต (WHP WellHead Platform) ที่ต้องรื้อถอน (decommission) มากมาย โดยเฉพาะแท่นฯที่เชฟรอนไม่ส่งมอบให้กรมเชื้อเพลิงฯ เพื่อนำไปใช้ต่อ แท่นฯเหล่านั้นต้องโดนรื้อ
แน่นอนว่า หลุมผลิตที่อยู่ในแท่นฯเหล่านั้นจะต้องถูก “เก็บกวาด” ให้เรียบร้อย ก่อนที่จะรื้อถอนตัวแท่นฯ
การ “เก็บกวาดหลุม” ในภาษาชาวบ้านนั้น ภาษาพวกเราชาวนักขุดหลุม เรียกว่า “ฝังกลบและสละหลุม” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Plug and Abandon เขียนกันย่อๆว่า PnA, P&A หรือ PNA.
คิดไว้นานแล้วว่าจะเขียนเรื่องนี้สักที ไม่ได้ฤกษ์ (ขี้เกียจน่ะ 555) และ ผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ เป็นแต่ขุดหลุม กลบหลุมไม่เป็น หลังๆมีหลังไมค์ถามมา ประจวบกับแนวโน้มงานในอ่าวไทยที่มีมากขึ้น ก็เลยคิดว่าจะเขียนเรื่องนี้เสียที
เนื่องจากผมเป็นผู้ไม่รู้ จึงต้องไปขอความรู้จากผู้รู้ หันไปหันมาก็ต้องพึ่งพาตัวจริงเสียงจริงของงานนี้ในวงการเรา คือ Baker ผมได้ขออนุญาติในการนำรูป และ ข้อความทั้งหมดมาประกอบการเขียนบทความนี้แล้วครับ
ขอบคุณ Baker Hughes ประเทศไทยไว้ ณ.ที่นี้ ในการอนุเคราะห์ ความรู้ และ สไลด์ บทความนี้
(ถ้าใครอยากให้ผมรีวิว หรือ แนะนำเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ ของ บ. service ก็สามารถส่งข้อมูลมาได้นะครับที่ nongferndaddy@hotmail.com)
การสละและฝั่งกลบหลุมมีขั้นตอนเทคนิคมากมาย ผมไม่สามารถเขียนให้จบในตอนเดียวจริงๆครับ ว่าจะเขียนไปเรื่อยๆเป็นตอนๆก็แล้วกัน
เพื่อเป็นการปูพื้น สำหรับคนที่ยังไม่ทราบว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร อยากให้อ่านบทความนี้ก่อนครับ
เป้าหมายของงานนี้
เหมือนกับงานก่อสร้าง หรือ งานเก็บกวาด ทางวิศวกรรม จุดประสงค์หลักของเราคือ ต้องปลอดภัย ไม่มีใครเจ็บ ข้าวของไม่เสียหาย สิ่งแวดล้อมไม่กระทบกระเทือน ฯลฯ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา