18 มิ.ย. 2020 เวลา 08:10 • ประวัติศาสตร์
Brain Waves (คลื่นสมอง)
เรื่องราวที่น่าสนใจของประสาทวิทยา#Neuroscience
แมรี เชลลีย์ (Mary Shelly) ได้ให้กำเนิด ดร.แฟรงเกนสไตน์ (Dr. Frankenstein) ผู้ที่คอยปลุกอสูรกายของเขาด้วยวิธีการ “จุดประกายไฟแห่งชีวิต” เมื่อ 200 ปีก่อน ซึ่งนั้นก็ยังคงย้ำเตือนให้เราได้หวนกลับไปรำลึกว่า คงอีกไม่นานนักที่ กระแสไฟฟ้า (electricity) จะถูกมองในฐานะพลังอำนาจแห่งชีวิต หลังจากที่มันได้ถูกนำมาศึกษาด้วยวิทยาศาสตร์
รูปซ้าย-แมรี เชลลีย์ (Mary Shelly) ผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่อง แฟรงเกนสไตน์ (Frankenstein) ส่วนรูปขวามือ-นวนิยายเรื่อง แฟรงเกนสไตน์ (Frankenstein)
การสาธิตที่แสดงให้เห็นถึงการกระตุกตัวของกล้ามเนื้อนั้นได้บอกให้ทราบอย่างเป็นนัยๆว่า เส้นประสาททั้งหลายก็คือสายไฟที่คอยนำสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งถูกส่งตรงผ่านลงมาจากสมอง
ในยุคทศวรษที่ 1870 นักสรีรวิทยาชาวเยอรมันมีแนวคิดว่าด้วยการผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังสมองโดยตรง ในเวลาไม่นานนักหลังจากนั้น พวกเขาได้ค้นพบวิธีการใช้ขั้วไฟฟ้าขนาดเล็กแปะไว้ที่สมองของสุนัข ซึ่งวิธีการดังกล่าวนั้นสามารถที่จะโน้มนำการเคลื่อนไหวของสุนัขได้
เพื่อให้การศึกษาค้นคว้านั้นดูมีความเป็นระบบระเบียบมากขึ้น โดยเฉพาะยิ่ง อย่างเช่นการที่ เดวิด เฟอร์ริเออร์ (David Ferrier) (นักประสาทวิทยาและนักจิตวิทยาชาวสก๊อต - ผู้แปล) ได้ทำการระบุตำแหน่งของสมอง ในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวซึ่งอยู่รอบๆจุดยอดของเปลือกสมอง เขาพบว่าส่วนของสมองดังกล่าวนั้นเชื่อมโยงกับการมองเห็นและการได้ยิน!!!
เดวิด เฟอร์ริเออร์ (David Ferrier) - นักประสาทวิทยาและนักจิตวิทยาชาวสก๊อต
ซึ่งการค้นพบดังกล่าวเปรียบได้ดั่งการขว้างระเบิดซ้ำใส่บรรดาเหล่า phrenologist หัวรั้น (phrenologist คือ ผู้ที่ทายทักอุปนิสัยของผู้คนด้วยวิธีการลูบคลำลักษณะรูปร่างของกะโหลกศีรษะ - ผู้แปล) ที่เปรียบเปรยได้เช่นนั้นก็เพราะว่า มันไม่พื้นที่ใดในสมองที่จะสามารถระบุได้อย่างถูกต้องตรงตามกับแผนที่ศีรษะหยาบๆที่พวกเขาคิดค้นขึ้น
phrenologist คือ ผู้ที่ทายทักอุปนิสัยของผู้คนด้วยวิธีการลูบคลำลักษณะรูปร่างของกะโหลกศีรษะ
แผนที่ศีรษะแบบหยาบๆของศาสตร์ที่ชื่อว่า “Phrenology” - ศาสตร์ที่ว่าด้วยทายทักอุปนิสัยของผู้คนด้วยวิธีการลูบคลำลักษณะรูปร่างของกะโหลกศีรษะ
การติดขั้วไฟฟ้าในสมองที่อาศัยความละเอียดลออยิ่งขึ้นก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการทำงานวิจัย ซึ่งประโยชน์ของการติดขั้วไฟฟ้านี้ยังทำให้การอ่านสัญญาณไฟฟ้าอันเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในวงจรประสาทมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันต่างก็เป็นที่รู้จักในชื่อ “คลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram; EEG)”
ในตอนหน้าจะเป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ “คลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง”
อ้างอิงข้อมูล:
Turney J. (2018). Shattered worlds, Cracking neuroscience (pp. 22): Octopus publishing group Ltd.
อ้างอิงรูปภาพ:
โฆษณา