18 มิ.ย. 2020 เวลา 10:22 • ไอที & แก็ดเจ็ต
#สถาปัตยกรรมการสร้างมือถือในยุคนี้ !!
## และ ##
#การเปรียบเทียบ S20-Ultra Exynos990 vs Snapdragon865 ที่มีประเด็น!!
จากที่แอดมินเขียนรีวิวเกี่ยวกับมือถือเรือธงบ่อย ๆ อย่างล่าสุดแอดมินเปรียบเทียบ P40Pro กับ S20Ultra … แอดให้น้ำหนักไปทาง S20Ultra (จะย่อว่า S20u นะครับ) มากกว่า แต่จากที่อ่านรีวิวการใช้งานจริงของผู้ใช้ส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นตรงกันว่า S20u เวอร์ชั่นที่ขายในเมืองไทย ที่ใช้ CPU Exynos990 (จะย่อว่า Exynos) มีปัญหาเรื่องความร้อนชัดเจน ต่างกับเวอร์ชั่นที่ขายในต่างประเทศที่ใช้ CPU Snapdragon865 (จะย่อว่า Snap865) วิ่งเรียบ ฉลุย ไม่ร้อน
บทความนี้แอดมินเลยขอเจาะลงมาดู CPU ที่ใช้ใน S20u กันว่า มันเป็นยังไงกัน !? ยาวหน่อยครับ แต่แอดมินจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่าย ๆ ครับ
1. สถาปัตยกรรม(Achitecture)
เราจะปลูกบ้านก็ต้องจ้างสถาปนิกมาออกแบบบ้านใช่ไหมครับ พอได้เป็นแบบแปลนค่อยให้วิศวกรมาก่อสร้างตามแบบอีกที …จะสร้าง
คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน ก็ต้องออกแบบสถาปัตยกรรมก่อนแล้วค่อยเอาไปสร้างตามแบบ
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในโลกใบนี้มี 2 สาย
1.1 CISC (Complex Instruction Set Computer) ชุดคำสั่งจะเยอะ ยืดยาว และซับซ้อน รวมมันลงไปในชิปเซต ทำให้ประมวลผลช้า กินทรัพยากรสูง
ยกตัวอย่าง สถาปัตยกรรม CISC ก็คือ Intel ครับ ชิปตระกูล x86 อันโด่งดัง จนมาเป็น CPU
Intel Core i-9 ในปัจจุบันคอมที่ใส่ CPU Intel จะเป็นพวก PC, Desktop, Server และ Notebook ครับ ปัญหาประจำตัวของมันคือ กินไฟ ขนาดใหญ่และหนัก จึงมีความร้อนสูง เราจะเห็นระบบระบายความร้อน (Heat Sink) แบบใหญ่โตเพื่อทำให้เครื่องเย็น ตัว CPU มีพัดลมประกบแบบส่วนตัวเลยทีเดียวครับ
1.2 RISC (Reduce Instruction Set Computer) สถาปัตย์นี้จะลดชุดคำสั่งให้สั้น รันเร็ว ไว ทำให้ประหยัดทรัพยากร กินไฟน้อยจึงประหยัดแบต ผลที่ตามมาคือ ทำตัวเครื่องได้เล็กลง ทำงานได้เร็ว (เปรียบเทียบได้คือ บูทมือถือ เร็วกว่า บูทโน๊ตบุ๊ค มาก) เบาและบางลง กินพลังงานน้อยจึงใช้ได้นาน
ขึ้น
*แอดมินขอเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความสมบูรณ์ของบทความครับ เพราะเพิ่งนึกออกว่า ใครเป็นคนเริ่มต้นสร้างเครื่อง RISC จนประสบความสำเร็จมาก่อน จนสมัยนั้นคือ คู่แข่งเบอร์ 1 ของ Intel นั่นคือ Sun Microsystem ครับ เป็นคนสร้าง RISC ใช้ชื่อ CPU ว่า SPARC (Scalable Processor Architecture) โดยมีระบบปฏิบัติการ Unix ขี่อยู่บนหลัง เมื่อก่อนถ้าถามว่า Server อะไรเร็วสุด ก็ต้องตอบว่า Server ของ Sun ครับ แต่ตอนหลัง ๆ Sun ก็ไม่สามารถต้านทาน Intel + Windows ได้ ครับ ตอนหลังโดนบริษัท Oracle เบอร์หนึ่งด้านระบบฐานข้อมูลซื้อไป ชื่อของ Sun ก็ค่อย ๆ หายไปจากวงการ
ส่วนอีกชื่อนึงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ CPU ที่ชื่อว่า PowerPC เป็น RISC เช่นกัน บริษัทผู้สร้างคือ Apple โดยเทพสตีฟ จ็อบ ที่เรารู้จักเป็นอย่างดีในยุคนี้นั่นเอง ชิป PowerPC เทพจ็อบได้สร้างขึ้นเพื่อมาใส่เครื่อง Macintosh ของเขา ในยุคนั้นเทพจ็อบทำเครื่อง Mac มาตีตลาดเครื่อง Intel/Windows PC แต่ก็เช่นกันครับ จุดจบคล้ายกันกับเครื่อง Sun ถึงเครื่อง RISC จะมีประสิทธิภาพดีกว่า CISC แต่ในทางการตลาดแล้ว Intel/Windows ได้ยึดหัวหาดเครื่อง PC (Personal Computer) ไปทั่วโลกแล้ว การผลิตแบบ mass เลยสู้เจ้าใหญ่ไม่ได้ครับ เพราะธุรกิจการผลิตชิป ถ้าขายได้น้อยคือขาดทุนอย่างเดียวครับเนื่องจาก ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะการวิจัยพัฒนาสูงมาก มีช่วงนึงในยุคปี 2000 ที่เครื่อง Mac ใช้PowerPC อยู่ แอดมินยังจำได้ว่ามีดราม่าระหว่างติ่ง 2 ฝ่ายระหว่าง ติ่ง Intel กับ ติ่ง PowerPC ว่าใครเร็วกว่ากัน ?? ถกกันบนเวบบอร์ดคล้าย ๆ ยุคนี้แหละครับที่มีการถกและเกทับกันระหว่าง iOS กับ Android ว่าใครดีกว่ากัน แต่ยุคนั้นเค้าถกเถียงกันเรื่อง CPU ครับ … แต่สุดท้าย Apple ก็ต้องเลิกสายการผลิต PowerPC มาใช้ Intel Processor อยู่ดีครับ เนื่องจากต้องการลดต้นทุนการผลิต … เครื่อง Mac หรือ MacBook จึงเริ่มบูทได้ทั้ง MacOS และ Windows ได้ตั้่งแต่นั้นมา
สรุปได้ว่าถึง Computer Achitecture จะดีกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าทางการตลาดจะขายได้เสมอไปนะครับ จนมาถึงยุคนี้ยุคมือถือ(Mobile) เฟื่องฟู เครื่อง RISC จึงได้ผงาดขึ้นมาอีกครั้ง เพราะ Intel/Windows ไม่สามารถสร้างมือถือ (Windows Mobile) ที่ครองใจผู้คนได้ อย่างที่บอกพอเป็น CISC มันจะอืด ใหญ่ และเชื่องช้า ไม่สามารถบีบ Windows เวอร์ชั่น Mobile ให้เล็กลงเพื่อนำมาใส่มือถือให้วิ่งได้เร็ว ๆ โดยช่วงนั้นเทพสตีฟ จ็อบ ก็ได้อุบัติ iPhone ออกมาโดยใช้ชิปของ ARM แจ้งเกิดมาจนถึงวันนี้ครับ
2. ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ RISC ณ วันนี้ ?
CISC ไม่ต้องพูดถึงครับ Intel เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลิตจนร่ำรวยจนถึงทุกวันนี้ แต่ RISC นี่เพิ่งเกิดมาประมาณ 35 ปีนี้เอง โดยบริษัทชื่อ
ARM Holdings เมื่อก่อนชื่อ Advanced RISC Machine แล้วมาเปลี่ยนเป็นAcorn RISC Machine แต่ใช้ตัวย่อคือ ARM เหมือนเดิม เป็นบริษัทของประเทศอังกฤษ ปัจจุบัน Softbank บริษัทโทรคมนาคมญี่ปุ่นเทคโอเวอร์ไปด้วยเงิน 970,000 ล้านบาทในปี 2016 (ข้อมูลนี้แอดมินเพิ่งรู้เหมือนกันว่า Softbank เป็นเจ้าของ ARM รวยจริง ๆ ครับ บริษัทที่ชื่อเหมือนธนาคารแต่ทำธุรกิจโทรคมนาคม/ไอที ตอนนี้ขาดทุนจากธุรกิจสตาร์ทอัพ Unicorn มหาศาล ต้องดูกันยาว ๆ ครับ)
3. ARM กินเรียบ !!
ดังนั้นใครจะผลิตมือถือแบบ iPhone(iOS) / Sumsung (Android) / Huawei(Android) หรืออุปกรณ์ไอทีตัวเล็กตัวน้อย ยกตัวอย่างเช่น Router,Smartwatch, อุปกรณ์ IoT หรือแม้แต่ชิปเซต 5G ก็ต้องมาขอซื้อไลเซ่นส์จาก ARM ไปผลิตครับ อย่าง Apple ก็ไปผลิตชิป A13 Bionic หรือ Huawei ผลิดชิปตระกูล Kirin , Qualcomm ก็ผลิตชิปตระกูล Snapdragon และ Sumsung ผลิตชิปตระกูล Exynos … ทุกค่ายมือถือ base on เทคโนโลยีชิปของ ARM ทั้งหมด ชึ่งข้อดีของชิป ARM คือประหยัดพลังงาน เล็ก และเร็วครับ เราจะสังเกตได้จากทุกค่ายมือถือใช้คำเดียวกัน เช่น Cortex, A, Mali, Adreno ซึ่งออกแบบมาโดย ARM และขายไลเซ่นส์ให้ค่ายมือถือเอาไปปรับ
จูนกันเอง อย่าง Apple ก็นำไปต่อยอดเองโดยตั้งชื่อทางการค้าว่า A13-Bionic เพื่อความแตกต่าง จากนั้นก็ไปสั่งผลิตโรงงานผลิตชิป TSMC (ของไต้หวัน)
4. สถาปัตยกรรมการผลิต 5 และ 7 นาโนเมตร (nm)
ข้อนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิปครับ ตัวเลข 5 หรือ 7 นาโนเมตร คือการบีบอัดทรานส์ซิสเตอร์ให้ชิดกันระดับ 5 หรือ 7 nm ยิ่งชิดกันเท่าไหร่ ยิ่งใส่ทรานส์ซิสเตอร์ได้มากขึ้น มันก็่จะเล็กลง และชิปทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้นและกินไฟน้อยลง แอดมินได้ยินข่าวล่าสุดว่า TSMC กำลังจะเดินเครื่องผลิตที่ 5 nm ปีนี้ครับ ในห้องแลปตอนนี้วิจัยที่ระดับ 3 nm. กันแล้ว ส่วนเทคโนโลยีการผลิตปัจจุบันของชิปเซตเรือธงจะอยู่ที่ 7 nm. !!
Fig.1 การขาย S20 ใน 2 กลุ่มประเทศ
5. มาเข้าเรื่องครับ Snapdragon865 vs Exynos990
บริษัท Qualcomm เป็นผู้ผลิตชิปตระกูล Snapdragon865 และ Sumsung ผลิต Exynos990 มาใส่มือถือของตัวเอง แต่ไม่รู้ด้วยเหตุผลทางการตลาดอย่างไร Sumsung ออกขาย S20u 2 เวอร์ชั่น (จาก Fig.1)
5.1 Worldwide ขายทั่วโลก ใช้ชิป Exynos990 ซึ่งแน่นอน ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้ครับ
5.2 กลุ่มประเทศ South Korea, USA, Canada, China, Japan และ Latin America ใช้ชิป Snap865
แอดมินจะไม่แปลกใจเลยถ้าในข้อ 5.2 ประเทศที่ขาย Snap865 จะมีแค่ประเทศแถบอเมริกา เพราะ Qualcomm เป็นบริษัทของอเมริกาย่อมมีผลประโยชน์ทางการตลาด แต่ข้อนี้ดันมี เกาหลีใต้ บริษัทแม่ของ Sumsung รวมอยู่ด้วย และ Sumsung เป็นผู้ผลิตชิป Exynos ด้วยมือของตัวเอง แต่ตัวเองกลับไม่เลือกใช้ และขายคนในประเทศ อันนี้ตลกมากครับ … มองไปที่ตลาดใหญ่อย่าง จีน และ ญี่ปุ่น ก็ใช้ Snap865
Fig.2 ตารางเปรียบเทียบ Snapdragon865 vs Exynos990
6. ทำไม Exynos ถึงร้อน ?
จากรูปที่ 2 ตารางเปรียบเทียบ Snap865 / Exynos990 ใช้เทคโนโลยีการผลิต 7 nm. เหมือนกัน แต่ผู้ใช้ Exynos ส่วนใหญ่บ่นกันเป็นเสียงเดียว
กันว่า เครื่องร้อนและแบตไหล เรื่องร้อนนี่เป็นประเด็นมาก มีคนบอกว่า เล่นเกมไปซักพักร้อนจนเฟรมเรทตก หรือ การใช้กล้องถ่ายรูปนาน ๆ เครื่องร้อนจนเครื่องต้องขอเบรก ต้องขอบอกนะครับว่า บางคนก็บอกไม่เป็น แต่เท่าที่แอดดูข้อมูลผู้ใช้ แอดเชื่อครับ เพราะคนที่บ่นว่าเครื่องร้อนนี่ จะเป็นเกมเมอร์ การเล่นเกมคือการใช้พลังของ CPU สูงสุดกว่าแอพใด ๆ เพราะมีการประมวลผลอย่างหนัก ไม่ว่าจะ CPU และ GPU ซึ่งทำงานทุกคอร์ ตัวสำคัญอีกตัวคือ จอของ S20u ใช้ 120 Hz Refresh Rate แน่นอนครับ ถ้าอยากได้ภาพสวย ๆ ต้องแลกมาด้วยพลัง CPU … พอมือถือร้อนและระบบระบายความร้อนออกแบบมาไม่รองรับ จึงเป็นที่มาของ frame rate ตก และ ตามมาด้วยการแฮงค์ อย่างการใช้กล้องต้องพัก พอระบบรวน แบตก็ไหลตามมาครับ
ในส่วนของการวางคอร์ใน CPU ไม่น่ามีผลครับ อย่างของ Snap865 ใช้ระบบ 1+3+4 แต่ Exynos ใช้ระบบ 2+2+4 เป็นแค่เทคนิคการแต่งของ
แต่ละค่ายมากกว่าครับว่าจะเน้นอะไร Single Core หรือ Multi Core ที่แอดมินบอกว่าการดีไซน์ส่วนนี้ไม่น่ามีผล ก็เพราะ Kirin980/990 ก็วางคอร์คล้าย Exynos เช่นกันแต่ Kirin ไม่มีปัญหาความร้อน
แต่ผู้ที่ใช้ Snap865 กลับไม่มีปัญหาอะไรครับ แฟนคลับของ S20u เลยซิ้อจากร้านหิ้วกันซะส่วนใหญ่ ไม่ซื้อจากศูนย์ซัมซุง ถึงแม้จะแพงกว่า และ
ไม่มีประกันก็ตาม
แอดมินมองปัญหานี้ว่า Sumsung ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการระบายความร้อนในชิปเซต Exynos ของตัวเอง ทำให้เรื่องการประหยัด
แบตมีผลตามมาครับ ถ้าจำไม่ผิด Sumsung ผลิต Exynos รุ่นก่อนเป็นเทคโนโลยี 8 nm. (Exynos9820 ใช้ใน S10/S10+ เปิดตัวช่วงต้นปี 62) ซึ่งคู่แข่งอย่าง Kirin ของ Huawei, Snap ของ Qualcomm หรือ สำนักแต่งซีพียูเบอร์ 1 คือ Apple ที่ผลิต A12Bionic ต่างผลิตกันที่ 7 nm. นานแล้ว ข่าวล่าสุดคือ Sumsung ไปจับมือกับ AMD (บริษัทผลิต CPU คู่แข่ง Intel) มาร่วมพัฒนาชิปของตัวเอง แอดมินหวังว่าน่าจะช่วย Exynos ให้ดีขึ้นนะต้องรอดูกันต่อไปครับ
Fig.3 คะแนนเปรียบเทียบจาก Antutu
7. การแก้ปัญหาเรื่องความร้อน
เท่าที่เห็นเรื่องระบบการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพคือ ชิป Kirin ตั้งแต่เบอร์ 980 ขึ้นไป ครับ เพราะ Huawei ใส่ระบบระบายความร้อนที่เรียกว่า Huawei SuperCool มีแผ่น Vapour Chamber และ Graphene Film ช่วยระบายความร้อนได้เร็วกว่าระบบอื่น (เป็นเสปคของ Mate20x เครื่องเมื่อประมาณ 1 ปีกว่ามาแล้ว) รวมทั้ง Huawei ขึ้นชื่อเรื่องแบตอึดในสามโลกครับ Mate20x จึงเป็นหนึ่งในรุ่นยอดฮิตที่เกมเมอร์ใช้กัน แต่พอเน้นประหยัดแบต จอภาพก็จะไม่สวยเท่ายี่ห้ออื่น ตรงนี้ต้องแลกกันครับ นอกนั้นมือถือ
หลายยี่ห้อเจอปัญหาการระบายความร้อนกันทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ iPhone
8. ความหวังของ Exynos 🌈
แอดมินขอเพิ่มหัวข้อนี้มาอีกข้อครับ ก็จะยาวขึ้นมาอีกนิด 😅
จากที่แอดมินพูดไว้ว่า Sumsung จับมือกับ AMD เมื่อปีก่อนเพื่อมาพัฒนา Exynos... ที่เลือก AMD ก็น่าจะเพราะหลัง ๆ AMD ที่เป็นคู่แข่งห่าง ๆ ของ Intel... เมื่อก่อน AMD เป็นลูกหม้อของ Intel ครับ ได้สัญญาผลิตชิป x86 ร่วมกับ Intel เพราะช่วงนั้นคอมพิวเตอร์บูมมาก Intel ผลิตไม่ทันเลยให้ AMD ช่วยผลิต ตอนหลัง AMD ก็แยกตัวมาผลิตเอง แต่ก็ยังตาม Intel แบบห่าง ๆ แต่ช่วง 5 ปีหลังมานี้ AMD ออก CPU รุ่น Ryzen ขึ้นมา พัฒนาแบบก้าวกระโดดมาใกล้ Intel เป็นครั้งแรก และที่สำคัญทำราคาได้ถูกกว่า Intel มากครับในรุ่นเท่ากัน อีกส่วนนึงที่ AMD เก่ง คือ ชิปการ์ดจอครับ (GPU) ภายใต้ชื่อ AMD Radeon มีแฟนคลับที่เป็นเกมเมอร์เยอะอยู่
นี่จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ Sumsung ดึงเข้ามาโคด้วย เมื่อเดือนก่อนมีข่าวหลุดผลทดสอบ Exynos1000 ตัวใหม่ล่าสุด ว่าใช้เทคโนโลยี GPU RDNA ของ AMD และใช้เทคโนยีการผลิต 5 nm. ปรากฏว่าเร็วกว่า Snap865 ถึง 3 เท่าครับ อาจจะได้เห็นใน S21 ในปีหน้า 2021 ครับ ถ้าเป็นไปตามที่หลุดจริง Exynos ก็จะไม่ไก่กาอีกต่อไป 🤔
สรุปว่า S20Ultra ควรซื้อเวอร์ชั่น Snapdragon865 ที่หิ้วจาก ตปท.ครับ ได้คุณภาพที่ดีกว่าแต่ก็แลกมาด้วยราคาและการที่ไม่มีประกัน คนซื้อต้องใจรักมากครับ
ในส่วนของวงการผลิตชิป แอดมินก็หวังว่าทำให้เห็นภาพไม่มากก็น้อยนะครับ เพราะวงการนี้ผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเงื่อนมาก การที่ทรัมป์ประกาศไม่ค้าขายกับ Huawei รวมถึงบีบผู้ผลิตชิปเจ้าใหญ่อย่าง TSMC ของไต้หวันไม่ให้ผลิตชิปให้ Huawei เป็นเกมที่มองยากมากครับว่าจะจบอย่างไร เพราะตอนนี้ Huawei ถือลิขสิทธิ์ 5G อยู่ ซึ่งก็อยู่บนลิขสิทธิ์การผลิตบนชิปเทคโนโลยี
ของ ARM อยู่ดี โดยบริษัท Softbank ของญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ แอดมินว่า สุดท้ายก็จบลงที่การตกลงผลประโยชน์ร่วมกันนั่นแหละครับ อยู่ที่ว่าจะตกลงกันได้ตอนไหน … อาจจะหลังเลือกตั้งของอเมริกาปลายปีนี้ก็เป็นได้ครับ !?
จากโพสต์ที่เคยรีวิวเอาไว้
Huawei P40 Pro+ vs Sumsung S20 Ultra เลือกอะไรดี ??
ถ้าชอบกด like 👍🏻ถ้าใช่กด love & share ❤️ ติดตามเป็นกำลังใจด้วยครับ
#เทพรีวิว#TepReview
Facebook - เทพรีวิว
Blockdit - เทพรีวิว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา