19 มิ.ย. 2020 เวลา 03:26
ไม้สักเมืองแพร่
ป่าไม้สัก
ผมเก็บข้อมูลเขียนเหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นในเมืองแพร่ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนประมาณสองสามวัน สมาขิกที่ติดตามข่าวคงจะทราบเหตุการณ์ที่รื้ออาคารในสวนรุกขชาติเชตวัน ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนอยู่ใจกลางเมืองแพร่บนฝั่งแม่น้ำยมว่าการรื้อถอนอาคารที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์การทำไม้ของเมืองแพร่อย่างไร ความสำคัญของไม้สักถึงต้องเป็นคำขวัญของเมืองแพร่
(หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม)
ในอดึตเมืองแพร่มีไม้สักมากเ ไม้สักเมืองแพร่นั้นถือว่าเป็นไม้ทรงคุณค่า รวมถึงเป็นไม้ที่ใช้สร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ บ้านเรือน สถานที่สำคัญต่างๆและเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศโดยการทำไม้ในสมัยเริ่มแรกมีเจ้านายในท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมดูแล ต่อมาในปี พ.ศ.2410 อังกฤษได้ขยายความต้องการไม้มายังภาคเหนือของสยาม ขอสัมปทานกับเจ้าผู้ครองนครแพร่ ในการทำช่วงแรกมักจะมีการให้สัมปทานซ้ำซ้อน มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น รวมทั้งการเก็บภาษีตอไม้ ขอนไม้สัก การชักลากไม้ คนงานตัดไม้ ฯลฯ ซื่งมีผลประโยชน์ทางธุรกิจมากมาย ต่อมาพ.ศ.2439 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นมาดูแลโดยรัฐบาลอนุญาติให้แต่ละบริษัทให้ทำไม้ครั้งละ 15 ปีทั้งหมด 3 ครั้ง บริษัทที่ได้รับสัมปทานยุคแรกไก้แก่บริษัทบอมเบย์เบอร์มาทำป่าไม้ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม บริษัทบริติช บอร์เนียวทำที่ป่าแม่ต้า บริษัทอีสท์เอเซียทิ้ค ทำที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม
การชักลากไม้สักในเมืองแพร่ของบริษัทที่ได้รับสัมปทาน
การชักลากไม้สักในเมืองแพร่ของบริษัทที่ได้รับสัมปทาน
และเมื่อหมดสัมปทานได้มอบที่ดินและอาคารต่างๆ ให้รัฐบาลนำมาใช้ประโยชน์ซึ่งได้จัดตั้งโรงเรียนป่าไม้แพร่แห่งแรกแห่งเดียวในประเทศไทย และที่ทำการป่าไม้ภาคแพร่
โรงเรียนป่าไม้และที่ทำการป่าไม้แพร่
ซึงอาคารและที่ดินที่ยกให้กับรัฐบาลนี้เป็นของบริษัทบอมเบย์เบอร์มาตั้งอยู่ชุมชนเชตวัน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ซึ่งกรมป่าไม้ใช้เป็นสถานที่ทำงานมาหลายปี แต่เนื่องจากอยู่ริมตลิ่งแม่น้ำยม เกิดการเซาะพังของตลิ่งในฤดูน้ำหลาก เลยต้องย้ายสำนักงานไปยังที่ปัจจุบันอยู่ตรงข้ามกับบิ้กซีสาขาแพร่ ส่วนที่ทำการเดิมปัจจุบันทำเป็นสวนรุกขชาติอยู่ติดกับน้ำยมโดยมีอาคารที่มีประวัตฺศาสตร์อันทรงคุณค่า มีสถาปัตยกรรมร่วมอาณานิคมทั้งตะวันตกและช่างพื้นเมืองแพร่ผสมผสานอยู่อย่างลงตัวด้วย
สวนรุกขชาติเชตวัน
แต่ก็มีเรื่องเศร้าสลดและคนเมืองแพร่หดหู่ใจที่หน่วยงานภาครัฐได้ทำการรื้อถอนอาคารประวัติศาสตร์หลังนี้ในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 โดยได้งบประมาณมาปรับปรุงอาคาร แต่ปรากฎว่าท่านได้ทุบทำลายอาคารประวัติศาสตร์ 130 กว่าปีเหลือแต่ซากปรักหักพังโดยไม่มีความสำนึกคุณค่าของประวัติศาสตร์เลย ชาวแพร่รู้สึกเสียใจในการกระทำของท่านมากครับ
ไม่เหลืออะไรเลย
อย่างไรก็ตามเมืองแพร่เป็นเมืองไม้ มีประวัติศาตร์ในเรื่องการใช้ไม้ ทำที่อยู่อาศัยอาคารบ้านเรือน ปัจจุบันยังมีอาคารทั้งของราชการและเอกชนที่เก่าแก่และมีอายุยาวนาน ที่จะนำเสนอเรื่องราวมาให้ทุกท่านได้ทราบคอยติดตามนะครับ
โฆษณา