Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอเก่งกระดูกและข้อ
•
ติดตาม
20 มิ.ย. 2020 เวลา 01:29 • สุขภาพ
ข้อเข่าเสื่อม รักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ทำกันอย่างไร
วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเข่าถูกทำลาย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ในคนไทยเกิดจากข้อเข่าเสื่อม ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่ามาก ขาโก่งผิดรูป ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดมากโดยเฉพาะเวลาเดิน ทำให้จำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยปกติ จำกัดการเดินทางของผู้ป่วย
การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นคือการผ่าตัดตกแต่งผิวข้อซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้แก่
การตัดเตรียมกระดูก โดยตัดส่วนที่มีการสึกหรอออก
การวางโลหะและแผ่นพลาสติกรองข้อเข้าไปแทนที่
การปรับสมดุลของเนื้อเยื่ออ่อนรอบๆข้อเข่า
youtube.com
Total knee replacement การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า by Taninnit Leerapun, MD
หมอเก่ง ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ line ID search : @doctorkeng หรือเข้าไปใน line หน้า friend แล้วค้นหาคำว่า หมอเก่งกระดูกและข้อ กรุณากดลิงก์ด้านล่างครับ http:...
ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมคืออาการปวดของผู้ป่วยจะหายไป เข่าของผู้ป่วยจะตรงขึ้นไม่โก่งงอ สามารถเดินได้คล่องกว่าสภาพก่อนผ่าตัด ซึ่งโดยรวมจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดียิ่งขึ้น ซึ่งอาการปวดจะทุเลาลงไปมากกว่าร้อยละ 80 ของอาการเดิมของผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถหยียดเข่าได้ตรง และงอเข่าได้ประมาณ 120 องศา
youtube.com
ตัวอย่างคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม - YouTube
สำหรับอายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 สามารถใช้งานได้นานกว่า 10 - 15 ปี ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเช่น การติดเชื้อ ซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่างเช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแล้วทำให้มีการติดเชื้อมาที่ข้อเข่าเทียมที่ผ่าไว้
โอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดข้อเข่าเทียมได้แก่
1. การติดเชื้อของข้อเข่า ซึ่งโอกาสในการเกิดการติดเชื้อนี้น้อยกว่าร้อยละ 2 ของผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
2. โอกาสในการเกิดภาวะของเส้นเลือดที่สมอง และหัวใจตีบตันในช่วงผ่าตัดและหลังผ่าตัด โอกาสในการเกิดค่อนข้างน้อยมาก ขึ้นอบู่กับปัจจัยเสี่ยงในแต่ละบุคคล
3. การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งในคนไทยเกิดค่อนข้างน้อย ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดทางแพทย์ผู้ผ่าตัดจะมีการสอนการบริหาร การเตรียมตัวผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะนี้
4. อาการปวดหลังผ่าตัด ซึ่งอาจมีอยู่บ้างเล็กน้อยในช่วงประมาณ 2 - 3 เดือนหลังผ่าตัด ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและวิวัฒนาการที่ทันสมัยทำให้การควบคุมอาการปวดหลังผ่าตัดเป็นไปได้เป้นอย่างดี
5. อาการชาที่รอบๆบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งมักเกิดในช่วงที่ทำการผ่าตัดมีการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้น
การเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
แพทย์จะต้องทำการประเมินสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทุกระบบซึ่งได้แก่ ภาวะสภาพของหัวใจ การทำงานของไต การทำงานของตับ ตรวจสภาวะเลือดเพื่อดูสภาวะว่าผู้ป่วยมีปัญหาโรคเบาหวาน ความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยสามารถทนต่อการผ่าตัดได้ และแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีในผู้ป่วยเพื่อให้พร้อมในการผ่าตัด
1
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานยาบางอย่างก่อนที่จะรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของลิ่มเลือด (plavix)
ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจฟันเพื่อดูว่าสุขภาพของช่องปากผุ้ป่วยมีปัญหาเช่นฟันผุ ซึ่งต้องรับการรักษาก่อนผ่าตัด เพราะปัญหาฟันผุอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อเข่าเกิดการติดเชื้อหลังผ่าตัด
การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูว่ามีปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยเพศหญิงสูงอายุส่วนใหญ่มักมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งสาเหตุเนื่องจาก ภาวะหมดประจำเดือน การมีภาวะผนังอุ้งเชิงกรานหย่อนทำให้มีการอุดกั้นในระบบทางเดินปัสสาวะ และเกิดภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่งผลทำให้อาจมีการติดเชื่อที่ข้อเข่าเทียมได้
ผู้ป่วยต้องฝึกบริหารบริเวณข้อเข่า ข้อเท้า การใช้เครื่องพยุงช่วยเดิน ก่อนการผ่าตัด เพื่อฝึกกล้ามเนื้อของเข่าให้แข็งแรง และสามารถทำได้หลังจากที่รับการรักษาด้วยการผ่าตัดไปแล้ว
การปฏิบัติตนของผู้ป่วยหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ผู้ป่วยสามารถเดินได้ในวันแรกหลังผ่าตัดโดยใช้เครื่องพยุงในการเดิน และสามารถเดินได้เป็นปกติภายในระยะเวลา 2 - 3 เดือน
youtube.com
00 001 การทำกายภาพสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หลังผ่าตัดวันแรก
หมอเก่ง ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ line ID search : @doctorkeng หรือเข้าไปใน line หน้า friend แล้วค้นหาคำว่า หมอเก่งกระดูกและข้อ กรุณากดลิงก์ด้านล่างครับ http:...
หลังผ่าตัดอาจมีการใช้ถุงประคบเย็น ประคบบริเวณข้อเข่าข้างที่รับการผ่าตัดเพื่อลดอาการบวมและช่วยลดอาการปวด
ปัญหาที่ผู้ป่วยกังวลอย่างมากหลังผ่าตัดคืออาการปวด ในปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์มีวิธีการหลายอย่างในการลดอาการปวดหลังผ่าตัดได้เป็นอย่างดีเช่น การวางสายให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อลดอาการปวดที่บริเวณสันหลัง การให้ยาระงับปวดหลังผ่าตัด การฉีดยาระงับปวดเข้าไปในข้อในขณะที่ผ่าตัด การให้ยายับยั้งความรู้สึกที่เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณข้อเข่า ซึ่งจะทำให้อาการปวดลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหว ทำกายภาพได้อย่างรวดเร็วหลังผ่าตัด
การป้องกันการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม ถ้าผู้ป่วยต้องไปรับการรักษาและต้องมีการทำหัตถการต่อตัวผู้ป่วย เช่น การไปทำฟัน ผู้ป่วยควรต้องปรึกาาแพทย์ที่ทำการผ่าตัดให้ท่านทุกครั้งเพื่อรับคำแนะนำในการให้ยาฆ่าเชื้อโรคก่อนการทำหัตถการทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่จะมาที่บริเวณข้อเข่าเทียม
ผู้ป่วยต้องมีการบริหารข้อเข่า โดยการกระดกข้อเท้าเพื่อเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องให้มีการสูบฉีดโลหิตของเส้นเลือดป้องกันการบวมของเท้า และป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด การบริหารกล้ามเนื้อรอบๆเข่าเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่
Line OA
https://lin.ee/swOi91Q
หรือ Line ID search @doctorkeng
26 บันทึก
125
29
45
26
125
29
45
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย