20 มิ.ย. 2020 เวลา 07:00 • ธุรกิจ
คุณใจดี หรือ แค่ไม่ใส่ใจ
ปัญหาท้อปฮิตอีกเรื่องนึงที่เจ้าของธุรกิจมักจะมาปรึกษา และเป็นปัญหาที่ทำให้ ธุรกิจ SME จำนวนมากกว่า 80% เป็นได้แค่ธุรกิจ SMEs ไม่สามารถเติบโตได้ หรือมากมาย ต้องปิดกิจการในเวลา 3-5 ปี คือ ความ "ใจดี"
เจ้าของมักจะเล่าว่า ฉันเป็นคนใจดี ลูกน้องทำผิด ก็ให้ "อภัย" คิดว่า คนเรานั้น ผิดพลาดได้ และ ถ้าลูกน้องทำไม่เป็น เราก็จะ มาทำงานแทน อะไรเค้าทำไม่ได้ เราก็มาทำแทน หรือ หาคนมาช่วย จะได้ไม่ผิด หรือผิดน้อยลง ถ้าคนเค้าเก่ง เค้าฉลาดกว่านี้ คงไม่มาเป็นลูกจ้าง ลูกน้อง
" มีเหมือนกัน ที่เราทนไม่ไหว พยายามสอนนะคะ เรา "บอก" เค้าว่า แบบนี้ไม่ได้ มันจะเสียหาย ต้องทำแบบนี้ แบบนี้ " แต่บอกแล้ว ก็ไม่ฟัง เหมือนไม่เข้าใจ "
ไหน...ท่านใด เป็นแบบนี้บ้างคะ
หุยมี Mindset ของธุรกิจ และคนที่ประสบความสำเร็จมาเล่าให้ฟัง
1) การ "สอน" ลูกน้อง เหมือนการ สอน "ลูก" ค่ะ การพร่ำบ่น การใช้อารมณื ไม่ว่า จะเป็นรำคาญ หรือ โกรธ ผิดหวัง มันไม่ได้ ทำให้คนได้เรียนรู้นะะคะ แต่เป็นการ ทำให้ อีกฝ่าย "หูดับ" ปิดการรับรู้ การสื่อสาร เพราะเค้า ก็ไม่อยากรับความเจ็บปวด จากการพร่ำบ่นของเรา
การสอนที่ดีที่สุด คือ การทำให้ดู
ลองนึกถึงครูที่สอนว่ายน้ำ หรือ การสอนลูกให้หัดเดิน หัดพูด เราต้องทำให้ดู ค่อยๆ สังเกตว่า เค้าทำอะไร ถูกไม่ถูก แล้วจับเค้าค่อยๆ พาทำ ออกเสียงให้ดู แล้ว นำพาเค้าทีละนิด
1
การที่ลูกน้อง ทำงานผิดพลาดบ่อยๆ เราต้องมาดูว่า เค้าทำอย่างไร ถึงผิดพลาด
อย่าได้ใช้ความชาญฉลาดของเรา มาเดาว่า เค้าน่าจะผิดเพราะอะไร เพราะแต่ละคน มีต้นเหตุของการ "ทำไม่ได้" ไม่เหมือนกัน
หุยนึกถึงตอนเด็กๆ คุณแม่ของหุย มักจะสอนให้หุยไปทำงานกับคนงาน และลองทำดู ว่า คนงาน รู้สึกอย่างไร และลองให้หุยคิดปรับปรุงการทำงานของลูกน้อง หุยจะลองทำๆๆๆ เพื่อให้ดูว่า มันติดขัดตรงไหน และลองปรับวิธีการ จนได้วิธีการที่ดีขึ้น แล้ว หุยจึงจะไปสังเกตลูกน้อง แล้วค่อยๆ ปรับวิธีการทำงานของลูกน้อง
การจะโค้ชชิ่งการทำงานของใครก็แล้วแต่ เราต้องใช้เวลาในการสังเกต แล้วลองเป็นเค้าดู เราจะเจอว่า เค้าติดปัญหาอะไร แล้วค่อยๆ พาเค้าแก้ ไม่ใช่ ใช้แค่ "ปากที่พร่ำบ่น แล้วเรียกว่า สอนแล้ว"
2) การที่ลูกน้องทำงานผิดพลาด หรือ ทำงานไม่ดีบ่อยๆ วิธีแก้ไข ไม่ใช่ "ให้อภัย" นะคะ เพราะสิ่งที่ทำนั้น เค้าไม่ได้เรียกว่า ให้อภัย แต่ เป็นความ "ไม่รับผิดชอบ " ในฐานะผู้นำ ที่ปล่อยให้ความผิดพลาดเกิดซ้ำซากในองค์กร ถ้าคนทำผิดซ้ำ เราจะใช การ "อภัย" ไม่ได้ แต่เราต้องหาทางแก้ไขปรับปรุง
การให้อภัย คือ การที่ความผิดพลาด เกิดขึ้นโดยไม่เจตนา หรือ ไม่คาดฝัน และไม่เคยเกิดขึ้น แต่ถ้าซ้ำซาก ต้องจัดการค่ะ การที่เราคิดว่า เราให้อภัย ครั้งแล้วครั้งเล่า นั้น แปลว่า ที่แท้จริง เรากำลังเลี่ยงความรับผิดชอบของเรา เราไม่กล้าที่จะเข้าไปจัดการปัญหา และมันสร้างปัญหาที่บานปลาย
ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ กับคนที่หนึ่ง จะเกิดขึ้นต่อไป เหมือนโรคระบาด
และ มันจะเป็นแบบนี้ในทุกๆพื้นที่ของชีวิต เพราะเราเป็นคนที่เลี่ยงปัญหา และไม่รับผิดชอบในการปรับปรุงให้ดีขึ้น
3) อีกมุมนึงที่คนไม่คอ่ยคิด แต่หุยอยากให้คิด การที่เราจ้างลูกน้องมาทำงาน แปลว่า เวลาของเราต้องว่างมากขึ้น เพื่อให้เราไปทำงานที่สำคัญมากขึ้น สร้างรายได้ ทำให้ธุรกิจเติบโต แต่เมื่อลูกน้องไม่สามารถทำงานของตัวเองได้ดี เราต้องลงมาดู มาทำงานแทน เวลาของเราที่ต้องไปทำให้ธุรกิจเติบโต มั่นคงก็หายไป ทำให้ธุรกิจ ไม่โตเสียที
ลองคิดดูว่า การที่เราไม่สอนให้ลูกน้องทำงานตามบทบาทหน้าที่ให้ดี เราต้องลงมาทำงานแทนเค้าไม่จบไม่สิ้น มันสร้างความเสียหายเพียงใด มันทำให้โอกาสของเราหายไปเยอะแค่ไหน การเป็นคน "ใจดี" ให้อภัยพร่ำเพรื่อนี่ มันสร้างความเสียหายให้ธุรกิจเพียงใด และเราควรเปลี่ยนแปลง หรือ เราจะรักษาความใจดีแบบนี้ต่อไปดี เราต้องลองคิดดู
ความเสียหายของธุรกิจ เกิดขึ้นจาก Mindset ผิดๆ ของผู้ประกอบการแบบนี้เยอะมาก และเมื่อทนแบกรับความเสียหายไม่ไหว อดทน อภัยซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกำไรหด ทุนหาย สุดท้าย ก็ต้องปิดกิจการด้วยความชอกช้ำ มันไม่ได้มาจากการ เป็นคนใจดี ให้อภัยของเรา แต่มาจากการไม่แก้ปัญหา ไม่รับผิดชอบในการพัฒนาลูกน้องของเราเองต่างหาก
แต่ทั้งนี้ ไม่ได้บังคับว่า เราต้องเลือกทางไหนนะคะ แค่เล่าให้ฟัง ชี้ให้ดูค่ะ ถ้าบางคน จะไม่สามารถปล่อยนิสัย "ใจดี ขี้สงสาร ให้อภัย"แบบนี้ได้ คุณก็จงปล่อยวาง ยอมรับว่าคุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และจะมีการรั่วไหล จากนิสัยนี้ของเรา ถ้ารับได้ ก็โอเค
ให้กำลังใจนะคะ ใครมีปัญหาแบบนี้ มาคุยกันค่ะ
โฆษณา