19 มิ.ย. 2020 เวลา 15:10 • ประวัติศาสตร์
“นอร์มังดี”💂🏻‍♂️💂🏿‍♀️💂🏼
ในระหว่าง เดือน พ.ค.-มิ.ย.๑๙๔๔ นายพลรอมเมลแห่งกองทัพเยอรมันได้รับมอบหน้าที่จากฮิตเลอร์ในการป้องกันการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งคาดว่าจะมีการยกพลขึ้นบริเวณฝั่งตะวันตกของฝรั่งเศสแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเมื่อไรและที่ไหนแน่ จึงได้สร้างแนวปราการต้านทานตลอดชายฝั่งแอตแลนติกจากเนเธอแลนด์จรดฝรั่งเศส
ฮิตเลอร์หวังว่าจะทำลายกองทัพของสัมพันธมิตรที่ชายหาดที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้สัมพันธมิตรต้องยอมออกจากสงคราม แต่คนที่รู้ดีที่สุดว่าแผนการของฮิตเลอร์ก็เป็นเพียงแค่การคุยโวเท่านั้น นั่นก็คือท่านนายพลรอมเมลผู้ได้รับมอบหน้าที่ให้ป้องกันกำแพงแอตแลนด์ติก ก็เพราะว่าในช่วงปลายสงครามนี้นาซีเยอรมันขาดการครองอากาศ มีเครื่องบินรบไม่เพียงพอสนับสนุนการปฏิบัติการทางบกและการต่อต้านกองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตร
ท่านนายพลรอมเมลเคยได้รับบทเรียนนี้มาแล้วในสงครามทะเลทรายในอาฟริกาเหนือ แต่ถึงกระนั้นการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีในเช้ามืดของวันที่ ๖ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๔ เพียงคืนเดียวทหารฝ่ายสัมพันธมิตรก็ต้องสูญเสียชีวิตทหารหาญไปเกือบหมื่นนายและไม้กางเขนที่ตรงหน้าเกร็ดเล็ก ผสมน้อยก็คือ นายทหารสหรัฐฯและสัมพันธมิตรที่ได้สละชีพเพื่อปกป้องเสรีภาพของยุโรป จึงขอไว้อาลัยกับเขาและชื่นชมในความกล้าหาญในการยกพลขึ้นบกที่มีแนวต้านทานของเยอรมนีที่แข็งแกร่งที่สุด แต่พวกเขาก็สามารถสร้างหัวหาดและใช้ที่นี่ในการเป็นฐานเพื่อเคลื่อนทัพเข้าพิชิตนาซีเยอรมัน ปลดปล่อยปารีสจากการยึดครองของนาซี ในอีก ๒ เดือนต่อมา
อนุสรณ์สถานที่นอร์มังดี เป็นที่ดินแห่งเดียวที่ทหารหาญของสหรัฐฯ ได้ยึดครอง และนอนอย่างสงบที่นี่
การยกพลขึ้นบกในวัน ดีเดย์ คือ วันที่ ๖ มิ.ย.๑๙๔๔ ในปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ สัมพันธมิตรตัดสินใจที่จะเปิดศึกทางด้านตะวันตกหรือฝั่งแอตแลนติก ในขณะที่สหภาพโซเวียตทำการรุกคืบทางด้านตะวันออกทางโปแลนด์และยูเครน โดยตัดสินใจที่จะยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี และมีเป้าหมายใช้ท่าเรือเมืองแชร์บูร์กในการเป็นฐานส่งกำลังของกองทัพพันธมิตรในการปลดปล่อยปารีส
เป้าหมายทียกพลขึ้นบกในครั้งนี้มีความยาวประมาณ เกือบ ๑๐๐ กม. และมีเมืองที่สำคัญที่จะสามารถเป็นบันไดไปยังปารีสได้ก็คือเมือง Caen หรือเมือง กอง (ซุมทางรถไฟสู่ปารีส) และนี่เป็นไปตามยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ที่ได้กำหนดไว้ว่า ต้องจัดการกับเยอรมนีก่อน แล้วค่อยจัดการกับญี่ปุ่นในภายหลัง หรือ” Germany First”
ก่อนหน้าการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้การลวง การหลอกล่อเยอรมนี ให้เข้าใจผิดว่า จะทำการยกพลที่นอร์เวย์บ้าง และอเมริกันจะยกพลขึ้นบกที่ Pas de Calais และสร้างความเข้าใจผิดว่า การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีเป็นการยกพลขึ้นบกลวง
เทคนิกที่ถูกนำมาใช้จากประสบการณ์การยกพลขึ้นบกในอิตาลีก่อนหน้านี้ก็คือ ก่อนการยกพลขึ้นบกนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรจะต้อง ปิดผนึกพื้นที่บริเวณยกพลขึ้นบกให้ได้ก่อน เพื่อป้องกันการเสริมกำลังจากฝ่ายเยอรมัน ด้วยตัดเส้นทางคมนาคมที่จะเข้ามาในพื้นที่การรบในหลังแนวข้าศึก ได้แก่ การยึดสะพาน เส้นทางรถไฟ สถานีรถไฟ ถนนสายสำคัญ ที่มั่นที่เป็นอุปสรรคทางธรรมชาติ โดยเมื่อยกพลขึ้นบกได้แล้ว จะลุกคืบไปทางตะวันออกเพื่อยึดแม่น้ำ Seine กับมุ่งลงใต้เพื่อยึดแม่น้ำ Loire
ปัญหาการบังคับบัญชาของฝ่ายเยอรมันที่สำคัญก็คือ ไม่มีผู้ใดเลยในสมรภูมิภาคตะวันตกนี้มีสิทธิ์ขาดหรือเป็นผู้บัญชาการสูงสุด เนื่องจากฮิตเลอร์ไม่ไว้ใจใคร จึงให้กองทัพแต่ละกองทัพไม่ขึ้นแก่กัน และกองทัพรถถังแพนเซอร์ห้ามเคลื่อนย้ายหากไม่ได้รับคำสั่งจากฮิตเลอร์โดยตรง
แม้ว่าหน่วยข่าวกรองของเยอรมันจะได้เตือนว่าการยกพลขึ้นบกของสัมพันธมิตรนั่นใกล้เข้ามาแล้ว แต่กองทัพเรือของเยอรมันเชื่ออย่างหนักแน่นว่าไม่มีทางที่สัมพันธมิตรจะยกพลขึ้นบกในระหว่าง ๕ ถึง ๗ มิถุนายน ๑๙๔๔ เนื่องจากการพยากรณ์อากาศของเยอรมันได้พยากกรณ์ว่าสภาพอากาศในทะเลเข้าขั้นเลวร้ายมาก ไม่มีทางที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะยกพลขึ้นบกในห่วงนี้อย่างแน่นอน นี่คือเหตุผลว่าทำไมไม่มีเรือเยอรมนีแม้แต่ลำเดียวออกทะเลเลย
การยกพลขึ้นบกที่ปีกซ้ายของกองทัพอังกฤษที่บริเวณเมือง Bayeux หรือบริเวณหาด Gold โดยกองพลที่ ๕๐ ของอังกฤษ ไม่ยากเย็นนักสามารถยึดเมืองนี้ได้ในเช้าของวันที่ ๗ มิ.ย. แต่ที่ย่ำแย่ก็คือ กองพลที่ ๓ ของคานาดาในหาด Juno ได้รับการต้านทานอย่างหนักจากโครงข่ายป้อมปืน และที่หาด Sword ก็มีปัญหาเรื่องน้ำขึ้นสูงทำให้ต้องล่าช้า ส่งผลให้แผนของม้อนเตโกเมรี่ในการยึดเมืองกองล่าช้าออกไป ยิ่งไปกว่านั้นการยิงทำลายเมืองกองของฝ่ายสัมพันธมิตรยิ่งเป็นอุปสรรค แต่กองหินและสร้างปรักหักพังกับเอื้ออำนวยให้กับฝ่ายเยอรมัน
การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีในปี ค.ศ.๑๙๔๔ เป็นเพียงแผนปฏิบัติการ (Operation) หนึ่งในบรรดา หลายๆแผนปฏิบัติการ ที่บรรจุอยู่ในแผนการทัพ (War Plan) ที่จะพิชิตสงครามกับเยอรมนี เช่น แผนปฏิบัติการ “ Torch “ ในการขับไล่เยอรมนีออกจากอาฟริกาเหนือเพื่อเป็นสะพานวางบุกซิซิลี(แผนปฏิบัติการ Husky ) และทอดต่อไปยังอิตาลี เพื่อปลดปล่อยกรุงโรม
นอกจากนี้ ยังมีแผนปฏิบัติการที่ Anzio บนชายหาดใกล้กับกรุงโรม และแผนปฏิบัติการ Dragoon ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เพื่อประสานการรุกกับการบุกที่นอร์มังดี ในขณะที่ทางรัสเซีย ก็รุกคืบผ่านโปแลนด์ เรียกว่าเยอรมนีถูกล้อมทุกด้าน แต่ด้วยความบ้าคลังของฮิตเลอร์ไม่ยอมแพ้ กลับให้ทหารและประชาชนชาวเยอรมันสู้ตาย ผลก็คือบ้านเมืองพังพินาศ ซึ่งแทบไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย แทนที่จะเก็บรักษาบ้านเมืองไว้ เก็บคนไว้ เพราะไม่ว่าอย่างไรอนาคตของเยอรมนีก็แพ้อย่างแน่นอนนะครับ เพราะถูกลุมกินโต๊ะขนาดนั้น
แผนภาพการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี 6 มิ.ย.1944
แผนที่ข้างล่าง เป็นภาพการวางกำลังรบของเยอรมัน ประกอบด้วย ๓ กองพลนี้ คือ กองพลทหารราบที่ ๒๔๓ วางกำลังทางตะวันตก กองพลทหารราบที่ ๗๐๙ วางกำลังตรงกลาง และกองพลทหารราบที่ ๙๑ วางทางปีกตะวันออก แต่ในจำนวนนี้ เพียงสองกองพลเท่านั้น ที่เผชิญหน้ากับกองทัพสหรัฐ ๓ กองพลทหารราบ และ ๒ กองพลทหารพลร่ม ยิ่งไปกว่านั้น แต่ละกองพลทหารราบของเยอรมันยังจัดไว้เพียง ๒ กรมภายใต้กองพล คือมีทหารราวๆ กองพลละ ๑๐๕๕๕ คนเท่านั้น จึงทำให้เป็นงานหนักมากสำหรับพวกเขาในการป้องกันการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี
แผ่นจารึก ของ จ่า จอห์น บี เอลเลอรี่ ที่อนุสรณ์สถาน นอร์มังดี “กองทัพสามารถสร้างหรือสั่งผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ แต่ไม่อาจสั่งสร้างหรือซื้อความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในตัวทหารหาญได้เลย”
คราวนี้นี้เรามาดูเฉพาะที่หาดยูท่ากันบ้าง กองพลทหารราบที่ ๔ ของสหรัฐฯ ยกพลขึ้นบกที่หาดยูท่าใกล้กับเมือง Madeleine โดยมีเป้าหมายขั้นต้นคือ เมือง ซังมาเรีย ดูมอง หรือ St Marie du Mont และ เมือง ซังแมร์อิงรีส หรือ St.Mere Eglise เพื่อบรรจบกับกองพลทหารพลร่มที่ ๑๐๑ และกองพลทหารพลร่มที่ ๘๒ ที่ปล่อยลงเหนือถนนหมายเลข ๑๓ เพื่อตัดขาดเมืองทั้งสองจากการช่วยเหลือของกองทัพเยอรมันที่อยู่ลึกเข้าไป
ภาพเฉพาะส่วน การยกพลขึ้นบกที่หาด ยูท่า
Normandy American Cemetery ทหารสหรัฐมาเสียชีวิตที่นี่เพียงไม่กี่วันในการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ไม้กางเขนไกลสุดลูกหูลูกตาเลยทีเดียว ท่านนายพล John J.Pershing กล่าวและให้สัญญากับทหารหาญผู้เสียชีวิตที่นี่ว่า Time will not dim the glory of their deeds. หรือเวลาจะไม่ทำให้เกียรติยศและชื่อเสียของพวกเขาเจือจางไป
Pointe du Hoc หนึ่งในภูมิประเทศที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี
ลักษณะภูมิประเทศของหาดยูทาห์บีช
โฆษณา