20 มิ.ย. 2020 เวลา 04:22 • การศึกษา
ภาษาถิ่นเกาหลีใต้ มาดูกัน
사투리 (ซาทูรี) คือภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่มีสำเนียงแตกต่างกัน หรือ เรียกง่ายๆว่าภาษาถิ่น
표준어 (พโยจูนอ) คือภาษาเกาหลีมาตรฐาน
ซาทูรี แบ่งสำเนียงภาษาออกเป็น 6 ภูมิภาค ได้แก่
1. Seoul&Gyeonggi ( 서울 경기도 사투리 )
2. Gangwon ( 강원도 사투리 )
3. Chungcheong ( 충청도 사투리 )
4. Gyeongsan ( 경상도 사투리 )
5. Jeolla ( 전라도 사투리 )
6. Jeju ( 제주도 사투리 )
1. Seoul&Gyeonggi ( 서울 경기도 사투리 )
ทั่วทั้งประเทศเกาหลีใต้มีคนเข้าใจสำเนียงนี้มากถึง 99.99% เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการบริหารและการพัฒนาทางด้านต่างๆ และเป็นสำเนียงกลางหรือสำเนียงมาตรฐานของชาวเกาหลีใต้
2. Gangwon ( 강원도 사투리 )
กังวอนตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงโซลและกยองกีทำให้สำเนียงนี้ไม่ค่อยมีความแตกต่างมากนักในด้านการออกเสียง ผู้เขียนได้รวบรวมตัวอย่าง
บางคำมาให้สังเกตความแตกต่างกัน เช่น
아버지 (อาบอจี) เปลี่ยนเป็น 아부지 (อาบูจี) แปลว่า พ่อ
어머니 (ออมอนี) เปลี่ยนเป็น 어머이 (ออมออี) แปลว่า แม่
어른 (ออรึน) เปลี่ยนเป็น 으른 (อือรึน) แปลว่า พ่อแม่, ผู้ปกครอง
고기 (โกกี) เปลี่ยนเป็น 괴기 (กเวกี) แปลว่า เนื้อ
3. Chungcheong ( 충청도 사투리 )
ภาษาเกาหลีสำเนียงจูงจองถือได้ว่าเป็นสำเนียงที่นุ่มนวล เปรียบได้กับ
สำเนียงทางภาคเหนือของเรา
มีจุดสังเกตด้านภาษาคือ 오 (โอ)
กลายเป็น 우 (อู) และ 요 (โย) กลายเป็น 유 (ยู)
ถ้าคนที่ใช้ภาษากลางทักทายกันจะใช้คำว่า 안녕하세요
(อันนยองฮาเซโย) แต่ชาวจุงจองจะพูดว่า 안녕하세유
(อันนยองฮาเซยู)
คำว่า 모양 (โมยัง) กลายเป็น 모냥 (โม-นยัง) แปลว่า รูปร่าง
คำว่า 뱀 (แบม) กลายเป็น 뱜 (บยัม) แปลว่า งู
คำว่า 젓가락 (ช็อดการัก) กลายเป็น 저범 (ชอบ็อม) แปลว่า ตะเกียบ
คำว่า 일어나다 (อีรอนาดา) กลายเป็น 인나다 (อินนาดา)
แปลว่า ลุกขึ้น
4. Gyeongsan ( 경상도 사투리 )
เป็นสำเนียงที่แตกต่างจากภาษากลางอย่างมาก สำเนียงนี้ถ้าเทียบกับสำเนียงทางบ้านเราคือสำเนียงทางภาคใต้ ที่ฟังดูหยาบไปหน่อยถ้า
เทียบกับภาษากลาง แต่ก็มีเสน่ห์ของภาษาของมัน สำเนียงกยองซานจะมีสำเนียงการพูดที่เร็วและดูห้วนๆ
สำเนียงกยองซาน มักจะเปลี่ยนสระ 으 (อือ) เป็น 어 (ออ)
เช่นคำว่า 음식 (อึมชิก) เป็น 엄식 (ออมชิก) แปลว่า อาหาร
และปกติถ้าคำนั้นมีสระผสมจะอ่านออกเสียงแค่สระตัวที่สองเท่านั้น
เช่นคำว่า 도서관 (โดซอ-กวาน) เป็น 도서간 (โดซอกัน)
แปลว่า ห้องสมุด
ภาษากลาง 정말 (ช็องมัล) หรือ 그래 (คือแร) แปลว่า จริงๆหรอ?
ภาษาสำเนียงกยองซาน 맞나? (มันนา)
ภาษากลาง 뭐야? (มวอยา)
ภาษาสำเนียงกยองซาน 뭐고 (มวอโก)
แปลว่า นั่นอะไร?
ภาษากลาง 이리와 (อีรีวา)
ภาษาสำเนียงกยองซาน 이리온니 (อีรี-อนนี)
แปลว่า มานี่ Come on
5. Jeolla ( 전라도 사투리 )
โดยปกติแล้วสำเนียงจอลโล จะเปลี่ยน .....세요 เป็น .....라우
เปลี่ยนสระ ㅓ(ออ) เป็น ㅡ (อือ) และ ㅕ(ยอ) เป็น ㅖ(เย)
ตัวอย่าง :-
먹다 (ม็อกตา) พูดว่า 믁다 (มึกตา)
없다 (อ็อบตา) พูดว่า 읎다 (อึบตา)
และลักษณะเฉพาะของสำเนียงนี้ ปกติถ้าในประโยคคำถามจะลงท้ายด้วย คำว่า 잉 (อิง)
เช่น 밥 믁어잉? (พัม มึกกอ อิง) กินข้าวแล้วหรือยัง?
และก็ยังมีคำที่แตกต่างกัน คือคำว่า 새우 (แซอู) ใช้คำว่า 새비
(แซบี)
모기 (โมกี) เป็น 모구 (โมกู) แปลว่า ยุง
지금 (จีกึม) เป็น 시방 (ชีบัง) แปลว่า ตอนนี้
어제 (ออเจ) เป็น 인자 (อินจา) แปลว่า เมื่อวาน
6. Jeju ( 제주도 사투리 )
เป็นสำเนียงบนเกาะเชจู ที่ใครๆที่ชอบเกาหลี หรือซีรี่ส์เกาหลีคงไม่มีใครไม่รู้จักเกาะเชจู ด้วยความที่สำเนียงเชจูเป็นสำเนียงของชาวเกาะและแยกจากแผ่นดินใหญ่ สำเนียงก็จะมีความแตกต่างกว่า
สำเนียงบนแผ่นดินใหญ่ บางครั้งชาวเกาหลีด้วยกันอาจจะไม่ค่อยเข้าใจสำเนียงเชจูสักเท่าไหร่
วันนี้ผู้เขียนมีประโยคที่เมื่อผู้อ่านสามารถนำไปใช้เมื่อไปเที่ยวเกาะเชจู เช่น 혼저옵세예 (ฮนจี-อบเซเย) ยินดีต้อนรับ,
고맙수다 (โคมับซูดา) ขอบคุณ, 반갑수다 / 반갑시오
(พันกับซูดา/พันกับชีโอ) ยินดีที่ได้รู้จัก
강아지 (คางาจี) ชาวเชจู พูดว่า 강생이 (คังแซ็งงี) ลูกสุนัข
고양이 (โกยางี) เป็น 고냉이 (โกแนงี) แมว
감자 (คัมจา) เป็น 지실 (จีชิล) แปลว่า มันฝรั่ง
고구마 (โคกูมา) เป็น 감저 (คัมจอ) แปลว่า มันเทศ
할아버지 (ฮาราบอจี) เป็น 하르방 (ฮารือบัง) แปลว่า ปู่
นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของภาษาถิ่นเกาหลีใต้นะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ภาษาเกาหลี และทำให้เรียนรู้ความหลากหลายของภาษาเกาหลีบนคาบสมุทรเกาหลีกันนะครับ
Enjoy Learning, guys.... Bye Bye

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา