20 มิ.ย. 2020 เวลา 08:24
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน(Heat Detector)
เป็นอุปกรณ์ที่ตอบสนองไวต่อพลังงานความร้อนที่สูงขึ้น จากการเกิดเพลิง
ไหม้และความร้อนนี้แผ่ขึ้นไปบริเวณใกล้หรือบนเพดาน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนนี้มีหลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
ชนิดตรวจจับอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature Heat Detector)
อุปกรณ์ชนิดนี้จะตรวจจับความร้อนและแสดงสัญญาณเตือนเมื่ออุณหภูมิที่
ตรวจได้เกินค่าที่กำหนดไว้ เช่น 135 o F หรือ 200 o F เป็นต้น ขึ้นอยู่กับค่าที่ผู้ผลิตตั้งค่าไว้
การทำงานประกอบด้วย แผ่น Diaphram,โลหะ Alloy และสปริงทำงานร่วมกันโดย Alloy จะทำหน้าที่รับอุณหภูมิจากสภาพแวดล้อมที่อุปกรณ์ติดตั้งอยู่และละลายตัวเมื่อถึงพิกัดอุุณหภูมิที่ปรับตั้งมาจากโรงงาน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 135 F หรือ 200 F
เมื่อ Alloy ละลายจะทำให้สปริงดันแผ่น Diaphram จนกระทั่งไปดันปิดหน้าสัมผัสภายในวงจรของอุปกรณ์ทำให้เกิดสัญญาณแจ้งเหตุ ตู้ควบคุมจะรับสัญญาณดังกล่าวนี้
เป็นตัวแทนของสัญญาณการเกิดเพลิงไหม้และทำงานในกระบวนการต่อ ๆ ไป เมื่ออุณหภูมิลดแล้ว อุปกรณ์ตรวจจับนี้ยังคงค้างสัญญาณเตือนอยู่สังเกตุได้จากแผ่นวงกลมที่ยึดติดอยู่ด้านล่างอุปกรณ์จะหลุดออก (สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับแบบ แมคคานิกส์ ที่สามารถชำรุดได้หลังการใช้งาน)
ให้ปลดสายออกหรือนำอุปกรณ์ชุดใหม่เข้ามาเปลี่ยนและทำการ Reset ตู้ควบคุมเพื่อให้ระบบกลับมาทำงานปกติ
เหมาะสำหรับห้องที่มีการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็วเป็นประจำ เช่น ห้องครัว เป็นต้น
อุปกรณ์ Heat Detector ยี่ห้อ System Sensor (UL)
ชนิดตรวจจับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สูงขึ้น (Rate-of-Rise Heat Detector)
รายละเอียดการทำงานบรรยายด้วยภาพของแบรนด์ Hochiki (Japan)
อุปกรณ์ชนิดนี้ทำหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ถ้าอากาศ บริเวณโดยรอบ มีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าเดิมมากกว่า 15 F ภายใน 1 นาที จะ เกิดสัญญาณเตือนขึ้นมา(หรือขึ้นอยู่กับอุณหภูมิปรับตั้งของผู้ผลิต)
การทำงานใช้หลักการขยายตัวของอากาศ อุปกรณ์ทำงานประกอบด้วยส่วนห้อง อากาศ, แผ่นยึด Diaphram และรูระบาย
เมื่อเกิดเพลิงไหม้และความร้อนแผ่เข้ามาในห้องอากาศภายใน จะเกิดการขยายตัวมากขึ้น จนมีแรงดันให้แผ่นจานยึด Diaphram ไปดันปิดหน้าสัมผัสภายในวงจรของอุปกรณ์และเกิดการสร้างสัญญาณการเกิดเพลิงไหม้ ให้กับตู้ควบคุมในกรณีที่อุณหภูมิสูงขึ้นช้า ๆ
ถึงแม้ว่าอากาศภายในห้องจะขยายตัวเหมือนกัน แต่จะถูกระบายออกทางรูระบายได้ทัน ไม่สามารถดันแผ่น Diaphram ได้ จึงไม่มีการสร้างสัญญาณออกมา
อุปกรณ์ Rate-of-Rise จะมี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ชนิด Spot-Type ที่ตรวจสอบเป็นจุด ๆ และ Line-Type ที่มีตัวเซ็นเซอร์เป็นท่ออากาศ ติดตั้งลากเป็นลูป ให้ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการตรวจจับซึ่งจะครอบคลุมบริเวณได้กว้างกว่า แต่มีความยุ่งยากในการติดตั้งและปรับแต่ง
การใช้งาน สามารถตรวจสอบและแจ้งเตือนได้เร็ว โดยอุณหภูมิไม่จำเป็นต้องสูงถึงค่าที่ตั้งไว้ เมื่อเทียบกับชนิด Fixed Temp ใช้กับห้องที่อุณหภูมิทั่วไปปกติจะไม่เปลี่ยนแปลงมาก แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างช้า ๆ จนถึงขีดอันตราย จะไม่สามารถตรวจจับได้
ชนิดผสม (Rate-of-Rise & Fixed Temperature)
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบผสม Model.5601 ยี่ห้อ System Sensor(UL)
เพื่อชดเชยข้อเสียทั้งสองชนิด ให้อุปกรณ์ตรวจจับได้ไวมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็ว หรือถึงแม้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ถ้าเกินระดับที่กำหนด ก็จะทำการส่งสัญญาณเหมือนกัน
จะเห็นว่าการทำงานของอุปกรณ์ Heat Detector ในขณะปกติที่หน้าสัมผัสเปิดไม่มีกระแสไหลผ่านหรือไม่มีการเสียพลังงาน เพื่อใช้เลี้ยงให้อุปกรณ์ทำงาน เพราะจะทำงานด้วยหลักของเมคคานิกวงจร ระบบไฟเตือนอัคคีภัย
ในแต่ละโซนจึงสามารถต่อขนานได้อย่างไม่จำกัด
ยกเว้นอุปกรณ์ที่เป็น Electronic Heat Detectorสำหรับติดตั้งตรวจจับความร้อนและต่อ Remote LED ใช้งานจะนับเป็น 1 อุปกรณ์ ในโซนที่ต้องนับรวมแล้วไม่เกินจำนวนสูงสุดที่ต่อใช้งานต่อโซน เช่นถ้าตู้ควบคุมรับอุปกรณ์ได้ 20 ตัว ต้องนับ Heat Detector เข้าไปด้วยครับ
โฆษณา