20 มิ.ย. 2020 เวลา 11:10 • สุขภาพ
Food waste คืออะไร? ทำไมมันจึงเกิดขึ้น? ทำไมเราต้องใส่ใจกับปัญหานี้? Food waste ไปเกี่ยวโยงกับ bioplastics ได้อย่างไร? และวิธีการแก้ไข?
3.75 ตันเศษผักผลไม้ถูกนำมาตั้งไว้เพื่อสร้างความตระหนักเรื่อง Food waste ในลอนดอน
1 ใน 3 อาหารที่ถูกผลิตออกมากลายเป็น food waste สงสัยละสิครับใช่มั้ยว่าแล้วมันน่ากลัวยังไง
แล้วถ้าผมบอกว่าขยะในกองขยะทั่วโลกมีพลาสติกอยู่ 18% และเศษอาหารอยู่ 22% ภาพเริ่มชัดขึ้นมั้ยครับว่าปัญหานี้ทำไมมันถึงคู่ควรที่จะอยู่ในสายตาของเราทุกคน ใกล้ตัวอีกนิดนะครับ ในไทยมีขยะทั้งหมดดว่า 27000 ล้านตัน ซึ่งเกินกว่าครึ่งของขยะเหล่านั้นคือ เศษอาหาร
อาหารที่เหลือทิ้งทั่วโลก "ถ้า"สามารถนำมาปรุงและแจกให้ผู้คนทั่วโลกจะสามารถแจกได้ถึง 1.8 พันล้านคนทั่วโลก ในขณะนี้บนโลกของเรามีผู้คนอดอยากและขาดสารอาหารจำนวนถึง 1ใน8ของจำนวนประชากรโลกและมีเด็กตัวน้อยๆตาย 1 คนต่อ 10 วินาที ที่เราหายใจอยู่
ผมมี 2 why ในเรื่องนี้
Why แรกก็คือ why ทำไมจึงเกิดขึ้น?
ข้อแรกเลยนะครับคือ Stock display ซึ่งว่ากันง่ายๆก็คือ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์หรือของกินต่างๆนานาที่เราจะเลือกซื้อต้องดูดีที่สุด สวยที่สุด ใหม่ที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงนะครับ การมีรูปร่างที่ผิดเพี้ยนไปบ้างหรือมีบางส่วนที่เน่าเสียมันเป็นเรื่องปกติพื้นฐานของสิ่งที่มีชีวิตหรือเคยมีชีวิตอยู่แล้ว
ข้อที่2 Expectation of cosmetic perfection คือ ความไม่สมบูรณ์แบบที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่คาดเดาได้หรือไม่ได้ในการทำการเกษตร ประมงหรือเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเรื่องนี้เกิดปัญหาโดยตรงต่อเกษตรกรหรือชาวประมง ผักผลไม้หรือสัตว์ที่มีตำหนิไม่สามารถขายต่อได้ 40-60% ของปลาที่จับขึ้นมาไม่ได้ขึ้นบก 1 ใน 4 ของผักผลไม้ไม่ได้ออกจากฟาร์ม
ข้อที่3 ซึ่งเป็นข้อที่น่าสนใจมากๆก็คือ Misunderstanding by sell-by dates ซึ่งก็คือ "วันหมดอายุ" นั้นแหละครับ ตัวเลขเหล่านั้นคือ ช่วงระยะเวลาที่อาหารเหล่านั้น fresh ที่สุด สดที่สุด ดีที่สุด แต่!!! ไม่ใช่กินไม่ได้ อย่างเช่น นมสดที่เราเห็นในในซุปเปอร์มาร์เก็ตมีระยะเวลา expired อยู่ที่ 12 วัน ซึ่งไม่เคยมี scientific backing ว่านมสามารถอยู่ได้แค่ 12 วันในอุณหภูมิที่เหมาะสม มันก็แค่การสร้างโปรโมชั่นเพื่อการตลาด
Why ที่2 คือ why ทำไมเราต้องแคร์?
ที่ผมกล่าวไปเบื้องต้นว่า ประเทศไทยมีขยะถึง 27000 ล้านตัน และเกินกว่าครึ่งคือเศษอาหาร เข้าโหมดวิทยาศาสตร์กันนิดนึงนะครับ การทับถมของกองขยะสร้างก๊าซ methane ซึ่งทำลายชั้นบรรยากาศของเราร้ายแรงกว่า Co2 ถึง 23 เท่า และ food waste นี่สร้าง 11% ของ Greenhouse gas ถ้าเทียบให้เห็นชัดๆเลยก็คือการสร้างคาร์บอนมอนอกไซด์เท่ากับรถยนต์ 37 ล้านคัน
Food waste เกี่ยวโยงกับ bioplastics อย่างไร?
Bioplastics คือพลาสติกชีวภาพที่ผลิตขึ้นมาจากวัสดุธรรมชาติและสามารถย่อยสลายได้โดยกรรมวิธีทางชีวภาพ (biodegradable plastics) โลกในอุดมคติ ลองคิดภาพผักกาดที่เหี่ยวอยู่ในถุงพลาสติกชีวภาพโดนทิ้งอยู่สวนผักข้างบ้านคุณ หากเกิดการย่อยสลายจะไม่เกิดก๊าซ methane แต่ผลิต Co2 ซึ่งอย่างน้อยๆก็มีประโยชน์ต่อพืชได้นำไปผลิตอาหารต่อไป
Biodegradable plastic
วิธีการจัดการ (สำหรับคนธรรมดาๆอย่างเรา)
ข้อแรก Circular economy คือการหมุนเวียน แจกแจง ทำให้ wastes เหลือน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็นการ recycle, redo, reuse หรืออาจจะเป็นการซื้อขายจากเกษตรรายย่อยที่อยู่ในชุมชม ซื้อของในชุมชนในจังหวัดหรือในประเทศ
ข้อ2 คิดเสมอว่าสิ่งที่เรากินมันพอเพียง ไม่มากไป ไม่น้อยไป เหลือถ้ามีอาหารเหลือทิ้งแล้วสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
ข้อ3 ทำความเข้าใจกับ labels หรือฉลาก (ลองไปดูในตู้เย็นสิ จะเข้าใจอะไรหลายๆอย่างเลยละครับ)
ข้อสุดท้ายคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว มองให้มันคือเทรนด์ที่ไม่มีวันตกในการกินอาหารให้หมดจาน ไม่เหลือทิ้งและแยกขยะ
การสร้างการเปลี่ยนแปลงเล็กๆของเราทุกคนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ต่อสังคมเราแน่นอนครับ
- เมสข้าวเองครับ
Sources:
โฆษณา