21 มิ.ย. 2020 เวลา 00:00 • ปรัชญา
คนจนมี 2 ประเภท คือ
คนจนประเภทที่ 1
คนจนที่ไม่มีทรัพย์สมบัติหรือมีไม่พอใช้จ่ายแล้วจำเป็นต้องกู้หนี้ การมีหนี้แบบนี้เป็นความทุข์
พอกู้หนี้มาแล้วก็ต้องใช้ “ดอกเบี้ย” การต้องใช้ดอกเบี้ยแบบนี้ก็เป็นความทุกข์
เวลาไม่สามารถใช้หนี้หรือจ่ายดอกเบี้ยได้ตามเวลาแล้ว “ถูกทวงหนี้” การถูกทวงหนี้แบบนี้ก็เป็นความทุกข์
เมื่อถูกทวงหนี้แล้วไม่มีจ่ายก็จะถูกเจ้าหนี้ตามอยู่เรื่อยๆ การถูกตามแบบนี้ก็เป็นความทุกข์
เมื่อโดนตามแล้วแต่ไม่สามารถจ่ายคืนได้ก็ต้องโดนจับ “การถูกจับกุม”แบบนี้ก็เป็นความทุกข์
ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็นความทุกข์ที่เกิดจากความยากจนของคนธรรมดา
คนจนประเภทที่ 2
คนที่ไม่มีศรัทธา (เชื่อในสิ่งที่ถูก ที่ควร)
คนที่ไม่มีหิริ (ความละอายต่อบาป)
คนที่ไม่มีโอตัปปะ(ความเกรงกลัวต่อบาป)
คนที่ไม่มีวิริยะ (ความเพียรพยายาม)
คนที่ไม่มีปัญญา (ความรู้รอบ)
เราเรียกคนแบบนี้ว่า “เป็นคนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ในอริยวินัย”
คนจนที่ไม่มี ศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ และปัญญา ย่อมทำสิ่งที่ไม่ดีทั้งทาง กาย คำพูด(วาจา) และใจ
เมื่อทำสิ่งที่ไม่ดีแล้วก็จะพูดปกปิดความผิดของตน เราเรียก “การพูดปกปิด” แบบนี้ว่า “ดอกเบี้ยที่เขาต้องชดใช้” เมื่อมีคนที่หวังดีมาตักเตือนว่ากล่าว เราเรียกแบบนี้ว่า “การถูกทวงหนี้” ไม่ว่าเขาจะไปอยู่ที่ไหนก็ตามแล้วเกิดอาการกลุ้มใจ กลัวคนอื่นจะรู้ว่าได้ไปทำเรื่องไม่ดีมา เราเรียกอาการแบบนี้ว่าการถูกเจ้าหนี้ตามอยู่เรื่อยๆ” สุดท้ายแล้วหลังจากที่เขาคนนี้ตายไปเขาก็จะต้องใปชดใช้กรรมในนรก เราเรียกแบบนี้ว่าการถูกจองจำ
อ่านเพิ่มเติม
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
อิณสูตร
ช่องทางติดตาม
โฆษณา