20 มิ.ย. 2020 เวลา 16:24 • การศึกษา
“Management of Community-Acquired Pneumonia in Immunocompromised Adults: A Consensus Statement Regarding Initial Strategies” (ACCP-Chest 2020) ตอนที่ 1
หลังจากที่ ATS/IDSA ออก guideline สำหรับ community-acquired pneumonia ออกมาแล้วนั้น แต่ใน guideline ไม่ได้รวมถึงกลุ่มประชากร immunocompromised เนื่องจากมีความซับซ้อนมากกว่า
เรามาเริ่มกันทีละหัวข้อกันเลยครับ
📕 Definition ของ immunocompromised patients คือ? (ดูตามตารางได้เลยครับ)
+ ในที่นี้จะหมายถึง Primary immune deficiency, active malignancy หรือ malignacy ภายใน 1 ปี (ยกเว้น localized skin cancer, early stage cancer), คนไข้ที่ได้รับยา CMT, HIV infection ที่ CD4 < 200, solid organ transplantation, ได้ steroid dose >,= 20 mg/day ของ prednisolone เป็นเวลามากกว่า 14 วัน , ได้ biologic immune modulators, ได้ยา DMARDs- other immunosuppressive drug เช่น cyclosporin, cyclophosphamide, HCQ
+ ส่วน common comorbid อื่นๆ เช่น DM, chronic lung disease, liver disease, kidney disease, elderly patient ในกลุ่มพวกนี้จะถือ เป็น relatively immunocompromised  ในกลุ่มนี้เมื่อเกิดภาวะติดเชื้อ pneumonia มักจะเป็นเชื้อกลุ่มเดียวกับ CAP ในประชากรที่มีสุขภาพปกติ ดังนั้นการรักษาให้รักษาตาม CAP guideline ปัจจุบัน
📕 Case immunocompromised patients ที่มีภาวะ CAP จำเป็นต้องนอน รพ.หรือไม่ และใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน
+ ใน host ทั่วไป เราจะใช้ PSI, CURB-65 เป็นเกณฑ์ตัดสิน แต่เนื่องจากคนไข้กลุ่ม immunocompromised patients ยังไม่มี validated score ออกมา  การที่ผป. on ยา immunosuppressive drug ก็ยังมีผลต่อ inflammatory response ซึ่งจะส่งผลต่อ infiltrate ใน CXR
+ ในคนไข้ immunocompromised patients : O2 sat < 92% จะถือว่า เป็น threshold สำหรับการ hospital admission
+ แต่อาจจะต้องระวังในคนไข้กลุ่มนี้ ที่อาการจะเปลี่ยนแปลงได้เร็วเป็น severe pneumonia
📕 เชื้อที่มีแนวโน้มเป็นสาเหตุของ pneumonia ในคนไข้กลุ่ม immunocompromised patients (ให้ดูตามตาราง)
+ คนไข้กลุ่มนี้ pathogen ให้นึกถึง =  same respiratory virus and bacteria that cause CAP in  the non-immunocompromised patients + common respiratory pathogen ที่เป็นสาเหตุของ CAP ใน immunocompromised patients (bacteria + Mycobacteria + virus + fungi + parasite) + Specific Immune Deficiency (Unique Respiratory Pathogen Associations)
+  Specific Immune Deficiency (Unique Respiratory Pathogen Associations) เช่น กลุ่ม neutropenia , กลุ่ม AIDS, T-cell depletion, etc.
📕การ Work up
+ แนะนำให้ทำ initial microbiological work up และ ให้ empirical therapy ก่อนที่จะ de-escalation เมื่อได้ผลเชื้อ
+ การ work-up แนะนำให้ประเมินเชื้อที่เป็นไปได้ (likely organism)จาก risk factor ของคนไข้ (ดูจากตาราง)
+ การ bronchoscope และ BAL ในคนไข้ immunocompromised patients ที่มีภาวะ CAP จะมีประโยชน์ในคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบบ multiple opportunistic pathogen โดยแนะนำให้ทำก่อนการรักษา - ช่วงแรกของการรักษา เนื่องจากจะไม่เปลี่ยนแปลงผลการเพาะเชื้อ
Management of Community-Acquired Pneumonia in Immunocompromised Adults: A Consensus Statement Regarding Initial Strategies (Chest-ACCP-2020)
รอติดตามตอนที่ 2 เรื่อง treatment นะครับ
โฆษณา