22 มิ.ย. 2020 เวลา 13:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คลื่นความร้อนกำลังโจมตีประเทศในแถบขั้วโลกเหนือ
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูฝน ประเทศฝั่งทางเหนือที่มี 4 ฤดูกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน สิ่งหนึ่งที่มักจะมาพร้อมกับฤดูร้อนและมีแนวโน้มการเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือ คลื่นความร้อน หรือ Heat wave
1
theguardian.com
นิยามของการเกิด คลื่นความร้อน คือ การที่พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งมีความร้อนสะสมจนอุณหภูมิในช่วงเวลานั้นสูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยปกติ มักจะเกิดเวลาที่มีความชื้นในอากาศสูงและจะต้องเกิดเหตุการณ์แบบนี้หลายวันติดต่อกัน ประมาณ 5 หรือ 7 วันขึ้นไป
1
สามารถเกิดได้จาก 2 สาเหตุ
1. แบบสะสมความร้อน คือ พื้นที่บริเวณนั้นเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ทั้งผลจากแสงอาทิตย์และความกดอากาศสูง ทำให้กระแสลมสงบ เกิดเป็นความร้อนสะสมในพื้นที่บริเวณนั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2. แบบพัดพาความร้อน คือ การที่มวลอากาศร้อนและความกดอากาศสูงถูกพัดเข้ามาปกคลุมในพื้นที่นั้นๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นความร้อนที่พัดมาจากทะเลทราย หรือเป็นความกดอากาศสูงที่ก่อตัวจากทะเลแล้วพัดพาความร้อนกับความชื้นขึ้นแผ่นดิน
ความกดอากาศสูง มีความสำคัญต่อการเกิด คลื่นความร้อน เพราะความกดอากาศ คือ น้ำหนักของอากาศที่กดทับเหนือบริเวณนั้นๆ ความกดอากาศสูงจึงหมายถึงการมีอากาศอยู่ในบริเวณนั้นมาก อากาศไม่ลอยตัวขึ้น ทำให้ความกดอากาศต่ำไม่ไหลเข้ามา เมื่อไม่เกิดการแทนที่อากาศจึงคล้ายกับเป็นโดมขังความร้อนไว้ ความร้อนบริเวณพื้นดินจึงเกิดการสะสมขึ้นกลายเป็น คลื่นความร้อน
รูป: ความกดอากาศสูงในชั้นบรรยากาศทำให้ความร้อนของพื้นที่บริเวณนั้นเกิดการสะสม
เมื่อปลายเดือน พฤษภาคม ที่ผ่านมามีข่าวเกิดน้ำมันรั่วครั้งใหญ่ในเขตขั้วโลกเหนือ (Arctic Circle) ของประเทศรัสเซีย มีสาเหตุมาจากชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) ยุบตัวลงเพราะชั้นน้ำแข็งข้างล่างละลายเนื่องจากอากาศร้อนขึ้น ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของไซบีเรียและรัสเซียตะวันออก ยังมีรายงานเกิดไฟป่า โดยสาเหตุหลักที่อยู่เบื้องหลังคาดว่ามาจาก คลื่นความร้อน หรือ Heat Wave นี่เอง
theswaddle.com
ecowatch.com
พื้นที่ที่ได้ชื่อว่ามีอุณหภูมิหนาวเย็นอย่างไซบีเรีย กำลังเผชิญกับอุณหภูมิที่ร้อนที่สุดในรอบ 130 ปี ในปี 2020 นี้ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวที่ผ่านมา สูงกว่าปกติถึง 6 องศาเซลเซียส และยังคงเผชิญคลื่นความร้อนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงฤดูใบไม้ผลิ
เดือนพฤษภาคม เมือง Verkhoyansk ที่อยู่ห่างจากเขตขั้วโลกเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 38 องศาเซลเซียส ทั้งที่ปกติอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวจะอยู่ประมาณ -40 องศาเซลเซียส และจะไม่ขึ้นสูงเกิน 20 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน
ถึงแม้จะเพิ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ในประเทศแคนาดาและอเมริกาด้านตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกว่า New England กำลังเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ อันเป็นผลมาจากคลื่นความร้อน
Ottawa เมืองหลวงของประเทศแคนาดา ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่หนาวเป็นอันดับ 7 ของโลก ต้องเผชิญกับอุณหภูมิสูงถึง 32 องศาเซลเซียส ในวันที่ 21 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งโดยปกติ ในหนึ่งปี จะมีวันที่อุณหภูมิสูงเกิน 32 องศาเซลเซียสประมาณ 5 วันเท่านั้น แต่เมื่อเริ่มเข้าฤดูร้อนมา ชาวมือง Ottawa เจอกับวันที่อุณหภูมิสูงเกิน 32 องศาเซลเซียส 4 วันติดกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมายังมีข่าวของการเกิดไฟป่าขึ้นที่ทางตอนใต้ของเมือง Quebec ประเทศแคนาดา ไฟยังขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ทางการกำลังพยายามควบคุมพื้นที่และดับไฟป่ากันอยู่ จนถึงตอนนี้มีพื้นที่เสียหายคิดเป็นบริเวณกว้างกว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปีที่แล้วประมาณ 3 เท่า
cbc.ca
References >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา