21 มิ.ย. 2020 เวลา 04:13 • ประวัติศาสตร์
[ เล่าปี่ จอมราชันย์คนระดับแรร์ × หาใช่ราชันย์ขี้แงอย่างนิยาย ]
刘备 (玄德) Liu2 Bei4 (Xuan2de2)
หลิวเป่ย ชื่อรอง เสวียนเต๋อ นั้น เป็นการออกเสียงแบบสำเนียงจีนกลาง
เล่าปี่ ชื่อรอง เหี้ยนเต็ก นั้น เป็นการออกเสียงแบบสำเนียงจีนฮกเกี้ยน
2
ในนิยายที่เราอ่านกันนั้น เขียนอิงประวัติศาสตร์ออกมาได้ดีว่า
เป็นคนที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในยุคเดือดร้อนทุกย่อมหญ้า
แต่กลับสามารถสร้างเนื้อสร้างตัว ถ่อมเนื้อถ่อมตัวจนสร้างราชวงศ์ได้
ทั้งยังมีบุคลิกที่ดีเคารพ กราบไหว้ต่อชนทุกชั้น เป็นแบบอย่างที่ดีจากนิยายได้ดีมากๆ
3
แต่กระนั้นเล่าปี่ เล่าเหี้ยนเต็ก ในบันทึกประวัติศาสตร์ ตามจดหมายเหตุ แท้จริงแล้ว
แทบจะเป็นคนละขั้ว ต่างกับในวรรณกรรมที่แต่งอิงประวัติศาสตร์ ที่เราได้อ่านกันจนปัจจุบันนี้
การค้นคว้าตามจดหมายเหตุแต่ละฉบับที่บันทึกต่างกันนั้น ล้วนไม่ได้เป็นดั่งในนิยาย
ซึ่งในนิยายเขียนเล่าปี่เป็นทรงคุณธรรม ก็ดีจริง แต่เขียนให้เป็นคนขี้แง มีน้ำตาตลอดมากเกินไป
3
แต่ในความเป็นจริงแล้วในพงศาวดารนั้น เล่าปี่เป็นวีรบุรุษที่มีความสามารถรอบด้าน
ทั้งการบริหารการเมือง และการทหาร และมีบุคลิกเหนือชั้นกว่าคนอื่นๆ
ทุกคนในประวัติศาสตร์คนใดๆ ในยุคปลายราชวงศ์จวบจนยุคสามก๊กนั้น
ซึ่งในด้านประวัติศาสตร์เขาจะเป็นอย่างไรโปรดติดตามชมกัน ใน....
20 อันดับ จดหมายเหตุ เรื่องจริง เล่าปี่
| อันดับที่ 1 |
ค.ศ.184 เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ไม่ได้พบเจอกันแล้วเกิดการทะเลาะวิวาทกันแล้วไปดื่มสุราร่วม
หรือบังเอิญเจอกันในร้านเหล้า แล้วเล่าประวัติแต่ละคนพอถึงเล่าปี่ก็ร่ำไห้ตั้งแต่แรก
หรือเจอกับเล่าปี่ถอนหายใจ จากนั้นจึงไปร่วมสาบาน
( ส่วนนี้เป็นแค่เรื่องแต่งแค่นั้น ซึ่งการร่วมสาบานแบบนี้พึ่งเกิดในสมัยราชวงศ์หมิง
เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย จึงไม่ได้ร่วมสาบานกันจริง ตามนิยายแต่งเติมไว้ )
:: ถึงกระนั้นในประวัติศาสตร์ก็บันทึกเรื่องของทั้งสามคนว่า เป็น 3 หนุ่มที่ นอนเตียงเดียวกัน กินข้าวโต๊ะเดียวกัน ไปไหนไป ทำศึกร่วมกันมาตลอด
ซึ่งเป็นการแสดงถึงว่า ความรักของสามคนนี้นั้น เป็นความรักยิ่งกว่าพี่น้องท้องในไส้
จุดนี้จึงทำให้นำมาแต่งเติมเสริมความรักของ เล่า กวน เตียว มาให้เราอ่านนั่นเอง
| อันดับที่ 2 |
เล่าปี่ไม่ได้มีใบหูใหญ่ยาวถึงบ่า ตาชำเลืองถึงใบหู ไป สามพี่น้องเจอกันครั้งแรกไม่ได้มีหนวดยาว ทั้งในตอนนั้นเขายังเพียงอายุ 23 ปี และไม่ใช่ 28 ปี เหมือนในนิยายกล่าวไว้
( ลักษณะเล่าปี่ในบันทึกจดหมายเหตุของเล่าปี่ จะบันทึกว่า เป็นคนมีลักษณะหูยาน
แขนยาวถึงเข่า หน้าขาวดั่งหยก ริมฝีปากแดงชาด สูง 8 ฟุต
(8ฉื่อ尺 ฉื่อ หรือ เซี๊ยะ ในสำเนียงจีนฮกเกี้ยน คือ ฟุตในสมัยนั้น)
บุคลิกอุปนิสัยสุภาพเรียบร้อย ชอบเข้าหาทุกคนตั้งแต่ชาวบ้านจนกระทั่งขุนนางใหญ่
จึงเป็นที่รู้จักแก่ทุกคน ผู้คนจึงรักใคร่งาย อีกทั้งที่สำคัญ
เล่าปี่เป็นคนเก็บความรู้สึกเก่ง ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ จะไม่แสดงออกทางสีหน้า )
:: นั่นจึงเป็นต้นตอของการแต่งให้เล่าปี่ เป็นคนเคารพกราบไหว้คน แก่คนทุกชั้น
เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ทั้งต่อเยาวชน และผู้ที่กำลังจะเป็นผู้นำ
ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในด้านใน สถาบันใดก็ตาม สมควรเอาเล่าปี่เป็นแบบอย่าง
ควรปลูกฝังให้ผู้อ่านสามก๊ก บอกลูกหลานว่า แม้เล่าปี่จะดูเป็นคนกลิ้งกลอก ดูตอแหล
แต่เมื่อเราสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน น่ารักย่อมเป็นที่รักแก่ทุกคนทุกชั้นได้ไม่ยาก
เป็นพื้นฐานที่จะทำให้คนมาสนับสนุนเรา มอบประโยชน์ให้แก่เรา ได้เปรียบกว่าใครๆ
คุณลักษณะเช่นนี้ควรทำเป็นคุณสมบัติที่ดีของทุกคนไว้ ยกมาใช้กันได้ทุกคน
| อันดับที่ 3 |
ค.ศ.184 ในช่วงการประท้วงของกบฏโพกผ้าเหลือง
เล่าปี่ปราบปรามกับกบฏผ้าเหลืองแล้วได้ไปช่วยตั๋งโต๊ะ
ที่กำลังหนีจากกบฏผ้าเหลืองมา แต่พอรู้ว่าเล่าปี่เป็นใคร
ก็กลับเกลียดชัง เหยียดยศ กร่างตำแหน่ง แบ่งชนชั้นวรรณะ
( ส่วนด้านความจริง ในจดหมายเหตุสามก๊กได้บันทึกว่า
เล่าปี่กวนอูและเตียวหุยทั้งสามคนได้ช่วยกันระดมทหารอาสา
แล้วปราบปรามกลุ่มโจรผ้าเหลืองแถบอิวจิ๋วร่วมกับกองทหารของราชสำนัก
ซึ่งเป็นคนละที่กับซิหลงที่ตั๋งโต๊ะพ่ายแพ้แตกทัพมา ดังนั้นจึงไม่สามารถช่วยกันได้
ศึกครั้งนี้เล่าปี่ได้ผลดีมาก ชื่อเสียงของ เล่าปี่ จึงเริ่มโด่งดังขึ้น
ในทางภาคเหนือนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยแผ้วทาง
ให้เล่าปี่กระโจนเข้าสู่วงการเมืองซึ่งเวลานั้นยังไม่มีผู้ใดคาดคิดว่า
ผู้นำกองทหารอาสาเล็กๆอย่างเล่าปี่จะได้กลายเป็นหนึ่งในเหล่ายอดขุนศึก
แห่งยุคสมัยที่ผงาดขึ้นสู่จุดสูงสุดของการชิงอำนาจแผ่นดินในเวลาต่อมา
1
:: อย่างไรก็ตามการแต่งเติมให้เล่าปี่มีน้ำใจก็มีผลประโยชน์กว่าในด้านประวัติศาสตร์
ซึ่งแท้จริงแล้วนิยายได้แต่งให้สอนเราว่า จงผูกมิตรสร้างภราดรภาพ
ให้คนรักชื่นชมเรามาก จะมีคนช่วยเรา สนับสนุนเรา ให้เราทำต่อไป
แต่หากทำแบบตั๋งโต๊ะที่มีอำนาจแล้วทิ้งประชาชนสามัญชน คนรากหญ้า
แล้วสนใจแต่คนใหญ่โตชั้นนายทุน หนุนเจ้าสัว ก็คงไม่มีใครอยากช่วย
แต่กลับสาปแช่งทั้งสิบทิศ ดั่งในยาขอบแต่งฉายาเอาไว้
1
แต่หากเรามีไมตรีที่ดีต่อกัน อยากช้วยเหลือเกื้อกูลแบบเล่าปี่
ก็ควรจดจำนำไปใช้ในนิยายที่แต่งให้สะท้อนความจริงได้ทุกสมัยนี้
สร้างภราดรภาพที่ดีต่อกัน ไม่เอาแต่ใจ แตกฝ่าย แตกพวก ผนวกรวมกันไม่ได้
| อันดับที่ 4 |
ค.ศ.188 นิยายแต่งว่าเตียวหุยเฆี่ยนตีผู้ตรวจการแผ่นดิน
แต่แม้จริงแล้วในบันทึกจดหมายเหตุเตียวหุยไม่ได้จับผู้ตรวจการแผ่นดิน
มาเฆี่ยนตีเพื่อช่วยเล่าปี่จากการถูกกล่าวหาว่าติดสินบนเจ้าพนักงาน
( แต่เป็นเล่าปี่เองที่จับผู้ตรวจการแผ่นดินเฆี่ยนตี
แม้ในบันทึกประวัติศาสตร์จะบันทึกว่าเขาเป็น ผู้ที่มีความอำมหิตไม่ใช่น้อย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันสะท้อนถึงความเป็นลูกผู้ชายที่กล้าหาญและองอาจเป็นอย่างมาก
เพราะหากใครมาทำร้ายให้ตนเองให้ผิด ไม่ยุติธรรมต่อเราแล้ว
เราก็ต้องลุกขึ้นสู้กับความทุจริตของผู้ที่บิดเบือนความจริง
จะนำเราลงดิ่งสู่การมีความผิด ที่ไม่ผิดจริง เป็นแค่การสาดโคลนของพวกเอาแต่หาเรื่องชาวบ้าน
เพื่อที่จะให้ตนเองจะได้ดูดี มีผลงาน หวังรับรางวัลจากการใส่ร้ายป้ายสี )
:: ดังนั้นหากเป็นฉะนี้แล้ว แม้นิยายจะตกแต่งให้เป็นฝีมือของเตียวหุย
และถึงแม้แท้จริงประวัติศาสตร์จะบันทึกว่าเล่าปี่อำมหิตอยู่มากก็ตาม
ก็สมควรที่จะอำมหิตแล้ว เพราะสถานการณ์บังคับต้องให้ลงมือทำ
ต้องสั่งสอนให้หลาบจำ สมเป็นชายชาตรี กล้าสู้กับปัญหาด้วยตนเอง
นั้นจึงสะท้อนให้เห็นว่าเล่าปี่ก็มีความเด็ดขาดไม่น้อย ไม่เป็นรองไปมากกว่าโจโฉ
และแสดงให้เห็นว่าเล่าปี่ไม่ใช่คนขี้แงเหมือนดั่งนิยายแต่อย่างใด
แต่สมเป็นชายชาตรี สมเป็นผู้นำคนอย่างแท้จริง และก็เหมาะสมอยู่ที่นิยายเขียนแต่งกล่าวไว้ว่า
เล่าปี่นั้น สมเป็น "จอมคนผู้เที่ยงธรรม มีเมตตาจิตต่อปวงชน" อย่างแท้จริง
| อันดับที่ 5 |
ค.ศ.188 หลังเล่าปี่เป็นนายอำเภออันฮ่อกวน(安喜縣 อานซี่เซี่ยน)
แล้วเฆี่ยนตีผู้ตรวจการ แต่เล่าปี่ก็รับหน้า รับผิดจริงตามความเป็นลูกผู้ชายกล้ารับความผิด
จึงลาออกจากนายอำเภอ ไปอยู่กับกองซุนจ้าน เล่าปี่ก็ได้รับหน้าที่เป็นนายอำเภอเพ่งง้วน(平原 ผิงหยวน)
ด้วยความเข้าถึงผู้คนทุกระดับชั้นได้โดยง่ายไม่ถือตัวนับ ผู้คนจึงรักไคร่เล่าปี่มาก
1
( มีบันทึกในจดหมายเหตุว่าช่วงที่เล่าปี่ปกครองเพ่งง้วนอยู่นั้น
มีบุคคลชื่อเล่าเป๋ง(刘平 หลิวผิง) เกิดความริษยาที่เล่าปี่แซ่เล่าเหมือนกัน แต่กลับไม่เป็นที่นิยมเหมือนกัน
เล่าเป๋งจึงส่งมือสังหารจัดการเล่าปี่ในยามวิกาล แต่เล่าปี่ไหวตัว
จึงใช้กระบี่จับสองมือประจำกายจัดการมือสังหารเหล่านั้นด้วยตนเองส่งผลให้ชื่อเสียงความเก่งกล้าของเล่าปี่โด่งดังและยิ่งทำให้ผู้คนนิยมชื่นชอบมากขึ้นไปอีก
1
:: ดังนั้นจากข้อความที่ปรากฏในจดหมายเหตุนี้ จึงแสดงให้ได้เห็นว่า
มีหลายเรื่องหลายมุมของเล่าปี่ในนิยายที่แทบไม่ได้พูดถึงเลย
เช่น นั่นก็คือ ความมีบุคลิกภาพของ “ผู้ชำนาญใช้กระบี่และความเป็นผู้นำท้องถิ่น”
แสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วเขาเป็นผู้สร้างตัวมาจากชนชั้นหัวโจกในหมู่บ้าน
เมื่อเล่าปี่เริ่มสร้างชื่อเสียงขึ้นมาในฐานะของผู้นำทหารอาสาที่ไม่ได้มีศักดิ์ฐานะ
ย่อมแสดงว่าแรกเริ่มแล้วเล่าปี่มีสถานะเป็นเสมือน
“ ผู้นำปวงชนในท้องถิ่นท้องที่"
ดังนั้นเมื่อเล่าปี่มีกวนอู เตียวหุย สองยอดขุนพลคู่กาย
ที่มีรูปลักษณ์และบุคลิกภาพน่าเกรงขาม เป็นพี่น้องและทหารคู่ใจ
ด้วยบุคลิกและตัวตนของเล่าปีในแง่มุมนี้จึงเป็นสิ่งที่โดนปกปิดหรือโดนมองข้ามไป
หลังจากเขาเริ่มเข้าสู่วงการเมืองและการชิงอำนาจ
แต่มันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้เล่าปี่ดึงดูดใจผู้คนมาได้โดยง่าย
และนำความสำเร็จมาให้อย่างยิ่งใหญ่ในการสร้างอาณาจักร
ที่สำคัญคือจากบันทึกประวัติศาสตร์แล้ว ก็ปรากฏว่าเขาใช้กระบี่จับสองมือในเล่มเดียว
ไม่ได้ถือกระบี่คู่อย่างที่นิยายแต่งไว้แต่อย่างใด
| อันดับที่ 6 |
ค.ศ.189 พระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โฮจิ๋นแม่ทัพใหญ่ในตอนนั้นครองอำนาจสูงสุดจัดตั้งฮ่องเต้เอง
และมีการนำเสนอจากอ้วนเสี้ยว ว่าให้เชิญตั๋งโต๊ะ มาปราบพวกเหล่าขันที
แต่โฮจิ๋นก็โดนกพวกสิบขันทีลอบรุมสังหาร อ้วนเสี้ยวและโจโฉเป็นคนสนิทของโฮจิ๋น
จึงลงมือนำทหารเข้ากวาดล้างพวกขันทีในวังจนหมดสิ้น
แต่ก็เปิดโอกาสให้ให้ตั๋งโต๊ะแห่งเสเหลียงได้นำกองทหาร
เข้ามาควบคุมสถานการณ์ในนครหลวงไว้ได้ ตั๋งโต๊ะจึงทำการรัฐประหารยึดอำนาจ
สั่งปลดรัชทายาทเล่าเปียนออกแล้วเลือกตั้งองค์ชายรองเล่าเหียบ
หรือตันลิวอ๋องให้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แทน
จากนั้นตั๋งโต๊ะจึงอ้างเหตุว่าฮ่องเต้ยังเยาว์แล้วตั้งตนขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการควบคุมอำนาจบริหารและกองทัพทั้งหมด
เหล่าขุนนางที่คิดต่อต้านต่างก็ถูกเก็บกวาดจนหมดอ้วนเสี้ยวจึงต้องเผ่นหนีออกมา
และไปรวบรวมกำลังทหารที่ถิ่นฐานของตนโจโฉซึ่งหนีการมอบยศอำนาจยศจากตั๋งโต๊ะ
ประกาศเชิญเหล่าขุนศึกทั่วแผ่นดินให้มาร่วมกันปราบตั้งโต๊ะก่อ
เกิดเป็นกองทัพพันธมิตรกวนตง กองซุนจ้านเป็นขุนศึกคนหนึ่งที่ตอบรับ
ในช่วงแรกของทั้งสองฝ่ายนั้นตั้งโต๊ะได้เสียฮัวหยงไปในทัพของซุนเกี๋ยน
( ซึ่งในนิยายจะเขียนใหม่ว่าไม่มีใครดวลกับฮัวหยงได้จนกระทั่ง
กวนอูของสังหารฮัวหยงได้ด้วยาวเพียงกระบวนท่าเดียว
กลายเป็นที่ถือลั่นชื่อเสียงของกวนอูได้รับการยอมรับในหมู่เหล่าขุนศึกไปทั่ว
เหตุการณ์นี้ได้ถูกกล่าวไว้ในนิยายสามก๊ก เป็นเพียงเรื่องแต่งขับฝ่ายพระเอกให้มีอภินิหารขึ้น
แต่ในจดหมายเหตุสามก๊กได้บันทึกว่าผู้สังหารฮัวหยงนั้นแท้จริงคือซุนเกี๋ยน
อีกทั้งยังไม่มีบันทึกเล่าปี่เข้าร่วมกองทัพพันธมิตร แล้วได้สู้กับลิโป้พร้อมกัน 3 คนพี่น้องอีกด้วย )
:: ดังนั้นเรื่องการช่วยทัพพันธมิตรให้พ้นจากฝ่ายตั๋งโต๊ะด้วยฝีมือเล่าปี่ จึงไม่มีอยู่จริง
แต่กระนั้นก็ยังสะท้อนให้เห็นอยู่ดีว่า แม้เล่าปี่จะเป็นคนชั้นล่างต่ำต้อยเพียงใด
แต่หัวใจหามีความต่ำต้อยจะเอาแต่ผลงานอย่างพวกขุนศึกอื่นๆไม่
วรรณกรรมหรือนิยายนี้จึงแต่งมาได้ใจ แม้เล่าปี่จะเป็นเพียงสามัญชนร่ำไป
แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีต่อทุกคนควรทำตามหรือจดจำไว้
ว่าประวัติศาสตร์หรือไม่ว่านิยายก็ตามไป เล่าปี่ก็ยังเป็นคนที่กล้าหาญกว่าใคร
เรียนรู้จากต่ำสุดค่อยๆก้าวเป็นผู้นำในมจคนสมัยนั้น จนถึงสมัยนี้อยู่ร่ำไป
ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีใจต่อต้านเผด็จการที่ครอบงำประเทศไว้
แม้ตนจะไม่มีอำนาจใด แต่ก็เก่งกาจกว่าใครทุกคนในประวัติศาสตร์
ซึ่งควรทำตามเล่าปี่ เป็นอย่างยิ่งเพื่อความเป็นธรรมต่อประชาชน คนจนทุกคนเรื่อยไป
1
| อันดับที่ 7 |
ค.ศ. 193 เมื่อเล่าปี่ทราบข่าวว่าโจโฉนำทัพบุกชีจิ๋ว (จีนกลางเรียก สวีโจว Xuzhou 徐州) ระหว่างการเดินทัพได้สังหารหัวเมืองต่างๆโดยรอบอย่างโหดเหี้ยมสร้างความหวาดกล้วให้ชาวชีจิ๋วไปทั่ว
เป็นเหตุให้โตเกี๋ยมเจ้าเมืองซีจิ๋วต้องเร่งส่งหนังสือไปขอความช่วยเหลือจากขุนศึกโดยรอบ
แต่ไม่มีใครให้การช่วยเหลือ ขงหยงทายาทรุ่นหลังของขงจื้อซึ่งอยู่ที่เมืองปุดไป
จึงแนะนำเล่าปี่ซึ่งขณะนั้นกำลังนำทหารตั้งมั่นอยู่ใกล้กันให้นำกองทัพไปช่วยเหลือ
เล่าปี่รีบเคลื่อนทัพไปช่วยโตเกี๋ยมสู้ศึก
( จะเห็นได้ว่าในประวัติศาสตร์ เล่าปี่ไม่ได้ถูกโตเกี๋ยมเสนอ แคว้นชีจิ๋วให้
แต่ถูกตันเต๋งและขงหยง เชิญเล่าปี่มาควบคุมแคว้น ดังนั้นเรื่องนี้ในนิยายจึงเป็นแค่เรื่องแต่งเพียงยกระดับให้เล่าปี่มีคุณธรรมไม่รับเมืองแค่นั้น
แต่ก็มีคำพูดจริงตามประวัติศาสตร์ว่า ตนนั้นเหมือนน้ำ โจโฉนั้นเหมือนไฟ โจโฉโหดเหี้ยม แต่เรานั้นใจเย็น
จึงเป็นจุดที่ทำให้เล่าปี่มีความเป็นวีรชนมากกว่า และจึงเป็นจุดที่ให้ก่อนเป็นนิยายนักเล่าเรื่องแต่งราว
ได้เอาจุดนี้ไปทำเป็นตัวเองของเรื่องแต่ง
ดังนั้นเล่าปี่หากจะเป็นพระเอกของเรื่องก็ไม่แปลกเพราะเล่าปี่มีคุณสมบัติตามประวัติศาสตร์ )
:: นั้นคือจุดที่ดีของเล่าปี่ ที่ทำให้คนชอบเล่าปี่มากขึ้น
นั้นคือการเป็นผู้ที่เหมือนน้ำและใจเย็น ใครก็อยากมีเจ้านายแบบนี้
แต่หากจะให้มีลูกน้องเป็นเล่าปี่ ที่คิดอยากแยกตัวสร้างกิจการ
ด้วยการยึดกิจการของพี่น้อง หรือคนกำลังตกทุกได้ยากคงไม่เหมาะสม
ดังนั้นหากจะนำเล่าปี่มาเป็นผู้จัดการหรือหัวหน้าคน ย่อมเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมารับหน้าที่
เพราะจะทำให้มีลูกน้องรักใคร่สามัคคี เชื่อฟังเจ้านายแบบเล่าปี่ได้ดี
บริษัท องค์กรของท่านอาจจะมั่งคงดี แต่ก็อาจสั่นคลอนเพราะบารมีของเขาได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน
| อันดับที่ 8 |
หลังจากเล่าปี่ได้ครองชีจิ๋ว ก็ได้แต่งงานกับน้องสาวของบิต๊ก
ค.ศ. 195 เล่าปี่ครองชีจิ๋วได้ราวหนึ่งปี ลิโป้ซึ่งพ่ายศึกต่อโจโฉได้เดินทางมาขอพึ่งพิง
แม้ว่าจะมีคนคัดค้านรับลิโป้มาอยู่บ้าง โดยให้เหตุผลว่าลิโป้นั้น
เพื่อผลประโยชน์แล้ว เขาถึงกับยอมสังหารบิดานายตนเองไปถึงสองคน
แต่เล่าปี่เห็นว่าลิโป้มีใจอยู่ฝ่ายราชวงศ์ฮั่นจึงรับลิโป้มาอยู่ด้วยแล้วยกเมืองเสียวพ่ายให้แก่ลิโป้ไปดูแล
เพื่อให้ไปเป็นกันชนกับโจโฉที่ครองกุนจิ๋ว ที่อยู่ไม่ห่างกันมากนัก
แต่เรื่องนี้ได้กลายเป็นข้อผิดพลาดร้ายแรงที่สุดของเล่าปี่
ที่ทำให้เขาเสียโอกาสที่จะเป็นใหญ่ในภาคกลางและเสียหายติดต่อกันไปหลายปี
แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์
ซึ่งทำให้เล่าปี่เปลี่ยนไปเป็นบุรุษเลือดเย็นในเกมการเมืองหลังจากนั้นด้วย
(นอกจากเล่าปี่จะไม่เคยถูกเสนอชีจิ๋วให้ และจะเห็นได้ว่า ตัวเล่าปี่นั้น
ก็ไม่เคยเสนอแคว้นซีจิ๋วให้กับลิโป้อีกด้วย แต่ที่นิยายไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปนั้น
นั่นก็คือลิโป้นั้นแย่งไปเองในยามวิกาล จนต้องเสียชีจิ๋วให้ลิโป้ไป)
:: แต่กระนั้นเองในนิยายก็แต่งไว้อย่างดีมาก
เพราะแต่งให้เล่าปี่เป็นคนใจกว้างสมเป็นนายคน สมเป็นผู้นำ
เพื่อจะใช้เขาทำงานให้เราให้ดีที่สุด หรือร่วมเราปราบศัตรูให้เราได้ดีที่สุด
ความไว้ใจ การให้เกียรติจึงต้องมีให้ผู้อื่นก่อนเสมอ
เป็นความน่าทึ่งของผู้แต่งอีกมุมมองหนึ่ง ที่เขียนให้เล่าปี่ น่าคบไปมากกว่าเดิม
ดังนั้นจึงไม่ต้องน่าสงสัยเลย ว่าทำไมเล่าปี่ถึงเป็นคนจูงใจประชาชนได้
เพราะมีความครบรสเรื่องผู้นำนั้นเอง แต่เสียอย่างเดียวคือใจกว้างเกินไป
| อันดับที่ 9 |
ค.ศ.196 ในนิยายสามก๊กบทที่ 20 เขียนไว้ว่า เมื่อเล่าปี่เข้าเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้
“โปรดให้เอาปูมประวัติราชตระกูลมาตรวจสอบดู” ที่แท้จริงแล้ว
เล่าปี่เป็นทายาทรุ่นที่ 18 ของพระเจ้าฮั่นเก็งเต้ (ฮั่นจิ่งตี้) ตามที่ปรากฏในปูมประวัติ
นอกจากเล่าหงผู้เป็นปู่และเล่าเห็งผู้เป็นบิดาแล้ว (บรรพชนของเล่าปี่)
ทุกคนล้วนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ทั้งเล่าปี่ยังอาวุโสกว่าพระเจ้าเหี้ยนเต้หนึ่งรุ่น
“เล่าเหี้ยนเต๊กคือพระเจ้าอาของพระเจ้าเหี้ยนเต้” เหี้ยนเต๊กเป็นชื่อรองของเล่าปี่
ตั้งแต่นั้นเล่าปี่จึงได้รับการยกย่องเป็น “พระเจ้าอา” และเขาตั้งตัวเองเป็นผู้สืบสายสันตติวงศ์ที่ถูกต้องของราชวงศ์ฮั่น
( ในประวัติศาสตร์เล่าปี่เป็นพระเจ้าอาจริงหรือไม่? เมื่อสืบค้นพงศาวดารกันแล้ว ก็จะพบว่าคำ “พระเจ้าอา” เป็นเพียงคำในนิยายสามก๊กแต่งขึ้น
เพื่อ “ยกเล่าปี่กดโจโฉ” จึงต้องเพิ่มเนื้อหานี้เข้ามา ตาม
“พงศาวดารสามก๊ก ภาคสู่ซู (เรื่องของจ๊กก๊ก) บทประวัติองค์บุพราช (เล่าปี่)” บันทึกว่า
เล่าปี่เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่นจริง “เป็นอนุชนสืบเชื้อสายมาแต่ตงสานอ๋องเล่าเซ่ง (หลิวเซิ่ง)
บุตรของเล่าเซ่งชื่อเล่าจิง (หลิวเจิน) รัชศกหยวนโซ่วปีที่ 6
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเล็กเสียเต๋งเฮ้า (ลู่เฉิงถิงโหว-พระยาตำบลลู่เฉิง)
อยู่ที่เมืองตุ้นก้วน (อำเภอจัวเสี้ยน) ต่อมาส่งเงินบูชาพระเทพบิดรไม่ครบตามระเบียบจึงถูกปลด
แม้สายสกุลของเล่าปี่จะไม่ชัดเจน การที่บอกว่าเล่าปี่เป็นอนุชนรุ่นที่ 18
ของพระเจ้าฮั่นเก็งเต้ (ฮั่นจิ่งตี้ กษัตริย์องค์ที่ 4 ของราชวงศ์ฮั่น)
และเป็น “พระเจ้าอา” ของพระเจ้าเหี้ยนเต้นั้นเป็นพี่เรื่องแต่งในนิยายแค่นั้นไม่ใช่เรื่องจริง
ทั้งในประวัติศาสตร์ก็ “ไม่มีบันทึกไว้ด้วยว่ามีเหตุที่พระเจ้าเหี้ยนเต้
เคยนับถือเล่าปี่ในฐานะจักรพระเจ้าอา นั้นแต่อย่างใดอย่างชัดเจนอีกด้วย
:: ถึงกระนั้น แม้เล่าปี่จะไม่ได้เป็นพระเจ้าอาจริง แต่ก็ถูกแต่งตั้งเป็นนายพลพิชิตตะวันออก
และทำการปกป้องและคงชื่อของราชวงศ์ฮั่นไว้ ตั้งแต่แรกจนพระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกโจผีปลดออก
ซึ่งในอดีตนั้นเล่าปี่ไม่ได้สถาปนาราชวงศ์ว่าจ๊ก แต่สถาปนาแคว้นตนว่าฮั่น เพื่อเป็นการสืบต่อเชื้อสาย
เล่าปี่จึงพยายามบุกเหนือเพื่อจะชิงตัวเหี้ยนเต้มา แต่ก็ถูกเบนความสนใจ จนเปลี่ยนอุดมการณ์ไปก่อน
เพราะกวนอูถูกพันธมิตรเดิมหักหลังไป
และเตียวหุยเมาแล้วถูกทหารคนลอบสังหารนำหัวไปสวามิภักดิ์ต่อพันธมิตรง่อก๊ก
เมื่อเล่าปี่ถูกเสียคนสนิทตั้งแต่ก่อนเริ่มเข้าสู่การเมืองยันเป็นทหารจวบจนสร้างราชวงศ์ได้นี้
จึงเสียใจเป็นอันมาก ทำให้อารมณ์โศกเศร้าเลยอุดมการณ์เดิม แล้วคิดไปล้างแค้นก่อนบุกเหนือ
เล่าปี่จึงไม่ได้เหี้ยนเต้มา ทหารและเสบียงก็ขาดเพราะถูกพันมิตรเผาทิ้ง
ขงเบ้งจึงต้องตั้งต้นใหม่ แล้วบุกเหนือใหม่ แต่ด้วยทางเสฉวนกันดารนัก
เสบียงหมดก่อนทุกครั้ง และต้องถอยกลับก่อน ขงเบ้งทำงานหนักเช่นนี้จนตาย
เหี้ยนเต้ก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกับขงเบ้งตาย ในปี ค.ศ.234
เหลือแต่เพียงเรื่องจารึกไว้ว่าเดิมเล่าปี่สู้เพื่อราชวงศ์
แต่ไม่สามารถกอบกู้ได้ ชนรุ่นหลังจึงเปลี่ยนชื่อรัฐของเล่าปี่ว่า จ๊กก๊ก หรือ จ๊ก-ฮั่น
เพื่อไม่ให้ชนรุ่นหลังได้สับสนต่อไป เมื่อมีการได้อ่านพงศาวดารขึ้น
จึงเป็นต้นเหตุให้นิยายแต่งเล่าปี่เป็นพระเจ้าอา ผู้สร้างจ๊กก๊กขึ้นมา สืบราชวงศ์ฮั่น
เป็นวีรบุรุษผู้กอบกู้ชาติแต่ล้มเหลว เพราะมีความเมตตามากเกินไป
ไม่รู้จักตัดสินผิดถูก จนเลือดแค้นเข้ากระดูก ผูกความรักไว้มากกว่าแผ่นดิน
เรื่องเพื่อชาติจึงกลายเป็นเรื่องส่วนตัวโดยมีอารมณ์เป็นตัวชักนำ
ทั้งที่ในอันความเป็นจริงหากเล่าปี่รวบรวมแผ่นดินได้ก็เป็นการล้างแค้นที่ยิ่งใหญ่กว่า
ผู้คนจะสรรเสริญมากกว่า มาโดนอดีตคนรุ่นหลังต่อว่าเอาแต่กลับเอาแต่มจจนเสียงานใหญ่ไป
ทั้งๆที่เล่าปี่ตั้งแต่แรกก็ทำสุดกำลังจนสร้างชาติได้ ก่อแผ่นดินได้
| อันดับที่ 10 |
ค.ศ. 207 เวลานั้นเล่าปี่ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองซินเอี๋ยช่วยเล่าเปียวป้องกันศึกจากโจโฉ
เวลานั้นเล่าปี่ได้เชื้อเชิญชีซีมาให้คำปรึกษาแล้วได้ต้อนรับเป็นอย่างดี
ชีซีได้แนะนำเล่าว่า“ จูกัดเหลียงขงเบ้งเปรียบดั่งมังกรหลับ "ท่านขุนพล (เล่าปี่) อยากพบเขาหรือไม่”
เล่าปี่ตอบกลับว่า“ โปรดรีบเชิญเขามาเถิด”
แต่ชีซีกล่าวต่อว่า
“ เป็นการยากที่จะเชื่อเชิญขงเบ้งให้มาด้วยตนเองท่านควรต้องเดินทางไป
พบกับเขาเองเพื่อแสดงความจริงใจให้เขาได้เห็น”
ด้วยเหตุนี้เล่าปี่จึงตัดสินใจเดินทางไปพบขงเบ้งด้วยตนเอง
แต่เมื่อไปถึงที่พักของขงเบ้งแล้วก็ไม่ได้พบจำต้องเดินทางกลับ
แต่เล่าปี่ก็ยังคงเดินทางกลับไปพบอีกถึงสามครั้งสุดท้ายเล่าปี่จึงได้พบกับขงเบ้ง
ทั้งคู่ได้สนทนาเรื่องราวของบ้านเมืองภายในกระท่อมแล้วในที่สุด
ขงเบ้งก็ได้รับทำงานเป็นที่ปรึกษาในกองทัพให้กับเล่าปี่มานับแต่นั้น
ปี ค.ศ. 208 เล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วได้ล้มป่วย แล้วสิ้นชีพลงกะทันหัน
เล่าจ๋องบุตรชาย รับสืบทอดอำนาจ ในปีเดียวกันโจโฉเคลื่อนทัพใหญ่บุกเกงจิ๋ว
ทำให้เล่าจ๋องยอมสวามิภักดิ์ ทำให้เล่าปี่อพยพประชาชนจำนวนนับล้าน
หนีลงได้ไปอยู่ที่เมืองแฮเค้าโจโฉส่งทหารม้า 5,000 คนไล่ล่าขบวนของเล่าปี่ที่เตียงปันจนแตกกระเจิง
มารดาของชีซีโดนโจโฉจับตัวได้ในระหว่างความวุ่นวายดังนั้น
ชีซีจึงตัดสินใจขอแยกจากขบวนของเล่าปี่ เพื่อไปหามารดาของตนที่ทัพโจโฉ
(ดังนั้นเล่าปี่จึงไม่ได้พึ่ง ชีซี ในการปกป้อง ซินเอี๋ย จาก โจหยิน และ ลิเตียน
เล่าปี่เขาจัดการและดำเนินการป้องกันซินเอี๋ยด้วยตัวเองทั้งสิ้น)
:: แต่กระนั้นเองนิยายก็แต่งไว้ดีมาก สอนให้คนอ่านได้ดีทำตามได้ดีมาก
เพราะนิยายมีไว้อ่านเพื่อเพิ่มความสนุก แต่กลับสอนให้กตัญญูและภักดีต่อบุพการีไว้ดีมาก
ไม่ว่าบุพการีจะอยู่ไหน แต่เมื่อมีภัยเราก็ต้องควรไม่อกตัญู และจงรู้คุณบุพการีที่ได้เลี้ยงเรามา
แม้ในประวัติศาสตร์จะได้ช่วยเล่าปี่ทำศึกหรือไม่ แต่ในประวัติศาสตร์ก็สอนใจเช่นกัน
เพราะในขณะที่โดนทัพโจโฉบุกมา ชีซีก็เป็นห่วงและขอไปตามมารดาทันที
ก็ยังแสดงความกตัญญูรู้คุณอยู่เช่นกัน และความรู้อันเหมาะสมเป็นที่ปรึกษาเป็นอย่างมาก
| อันดับที่ 11 |
ยังอยู่ใน ค.ศ.208 เมื่อเล่าปี่ได้ลงใต้หวังผูกพันธ์มิตรซุนกวน
ได้มีชาวบ้านนับแสนได้ติดเล่าปี่เพื่อหนีจากโจโฉมาด้วย
แต่ด้วยอานุภาพม้าเร็วของโจโฉ ทำให้หนีไม่รอด แม่ชีซีถูกจับไปแล้วชีซีต้องตามไปด้วย
ทั้งที่สำคัญครอบครัวของเล่าปี่ยังพลัดหลงกับขบวนอพยพเล่าปี่
จูล่งจึงหันม้ากลับ ทางอพยพ ทหารต่างรายงานว่าจูล่งหักหลังไปเข้ากับโจโฉ
เล่าปี่โกรธมากขว้างขวานทองประจำตำแหน่งใส่ทหารผู้รายงาน ตะโกนบอกว่าไม่ใช่แบบนั้นเป็นแน่
เวลาต่อมาจู่ลงก็พาครอบครัวเล่าปี่มาครบทุกคน อย่างปลอดภัย
( จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์นี้จะแตกต่างกับนิยายตรงที่ ไม่มีรายละเอียดการฝ่าทัพไปช่วยอาเต๊า
และครอบครัวของเล่าปี่ไม่ได้ตายไปไหนสักคน แต่ยังครบทุกคน
ที่สำคัญไม่มีการขว้างอาเต๊า เพื่อบอกรักลูกน้องมากกว่าลูกเมียอีกด้วย )
:: แต่กระนั้นเอง ก็เป็นการแต่งที่กินใจคนอ่านมาก ตั้งแต่เริ่มอ่าน
ทำให้ทุกคนเชื่อและติดใจมาก แถมยังสอนให้เราเป็นนายที่ดีในยามทุกคนทุกข์ลำบากได้ดีอีกด้วย
สมแล้วที่เป็นล่อกวนตง นักแต่งนิยายแห่งยุค แม้จะตั้งใจแต่งให้สอนใจหรือไม่หรือเพียงให้ผู้อ่านอิน
แต่ก็ทำได้ดีมาก และทุกคนควรเอาแบบอย่างเล่าปี่ และก็ไม่ควรเอาด้านไม่ดีทิ้งลูกตนแบบนั้น
สอนได้ทั้งสิงด้าน สองมุมในฉากเดียวกัน ซึ่งจะหายากมากๆ สำหรับนิยายสอนเราควรไม่ควรแบบนี้
| อันดับที่ 12 |
ต่อมาโจโฉได้ส่งแฮหัวตุ้นและอิกิ๋ม ไปนำทัพใหญ่บุกโจมตีเล่าปี่ ที่ทุ่งพกบ๋อง
แต่เล่าปี่รู้ตัวจึงเตรียมพร้อมรับศึกเล่าปี่วางกับดักใช้เพลิงเผาทำลายทัพของแฮหัวตุ้นจนกระทั่งแพ้พ่ายกลับไป
( ซึ่งหลอก้วนจงได้บรรยายในนิยายว่าแผนเพลิงพิฆาตนี้เป็นผลงานศึกครั้งแรกของขงเบ้ง
และเสริมรายละเอียดเข้าไปมากมายส่วนในจดหมายเหตุประวัติเล่าปี่จะบอกว่าเป็นผลงานทำศึกของเล่าปี่เอง )
:: ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตัวแฮหัวตุ้นนั้น ไม่ได้ถูกเผาทัพด้วยฝีมือของจูกัดเหลียง แต่เป็นเล่าปี่คิดเอง
แต่กระนั้นเองสิ่งสำคัญของนิยายที่แต่งให้ขงเบ้งเก่งกาจฉลาดขึ้น
ล่อกวนตง ไม่ได้เขียนให้ขงเบ้งดูเก่งอย่างเดียว ไม่สนว่าจะดีหรือไม่ดี
แต่ยังเขียนให้ขงเบ้งสามารถพิสูจน์ตัวเองให้คนยอมรับว่าแม้ตนเองยังเยาว์กว่าใครก็สามารถทำงานได้ดีอีกด้วย
นับเป็นการแต่งที่ควรทำตาม คนรุ่นใหม่ควรทำตาม และคนรุ่นก่อนควรเปิดใจกว้าง
อย่าใจแคบเหมือนกวนอู เตียวหุย จนปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ให้เติบใหญ่ได้ดี เป็นคติที่ควรทำ
| อันดับที่ 13 |
ค.ศ.208 ครั้งเล่าปี่ส่งขงเบ้งไปผูกพันธ์มิตรกับซุนกวนเพื่อร่วมต้านโฉโฉ
ขงเบ้งจึงกลับมาอยู่กับเล่าปี่ต่อ ไม่ได้อยู่เหมือนในนิยายเขียนไว้ จนถูกจิวยี่กลั่นแกล้ง
เล่าปี่ได้เป็นกำลังต่อต้านภาคพื้นดินดังในนิยายเขีบนไว้ แต่ก็ไม่ได้มีการไล่ตี และปล่อยโจโฉไปโดยกวนอู
( จะเห็นได้ว่าแม้ว่าเล่าปี่จะเกี่ยวข้องกับ ศึกเซ็กเพ็ก แต่บทบาทส่วนมาก เป็นของฝ่ายซุนกวนมากว่า
เพราะเป็นศึกระหว่างจิวยี่และโจโฉที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ )
:: ในประวัติศาสตร์นั้นครั้นเล่าปี่ลงใต้มาพร้อมกับประชาชน โลซกก็รู้ดีว่าจะมาขอรวมมิตรต้านโจโฉ
ในบันทึกจึงมีบอกว่าฝ่ายง่อก๊กคิดแผนผูกพันธมิตรได้ก่อน
แต่ไม่ว่าฝ่ายไหนจะฝ่ายไหนก็ตามก็เป็นผลดีที่ได้ร่วมกันต่อต้านเผด็จการหลังจากนั้น
จึงทำให้โจโฉหันมาบริหารบ้านเมืองกับประชาชนมากขึ้น ส่งทหารไปทำนาถุนเถียนกับประชาชน
สั่งให้ทหารเตรียมเสบียงไว้ และเพิ่มขวัญกำลังใจทหาร ลดภาษีประชาชน
ทำให้ประชาชนลดความเกรงกลัวโจโฉ และทหารมีขวัญกำลังใจมากขึ้น
ซึ่งในสามก๊ก 2010 ก็ได้ทำให้ฉากนี้สั้นไว้เช่นเดียวกัน มำให้สามก๊กใกล้ประวัติศาสตร์ขึ้นมาอีกนิด
และประยุกต์ใช้กับสามก๊กประวัติศาสตร์ความจริงได้อีกหน่อย
นั้นก็ทำให้เห็นว่าสามก๊กสามารถประยุกต์ใช้ได้รอบด้านทั้งประวัติศาสตร์และนิยาย และเรื่องแต่งในซีรีย์ใหม่ๆ ได้ทั้งนั้น
| อันดับที่ 14 |
แม้ว่าซุนกวนจะได้รับคำแนะนำจากจิวยี่และฮันซี
เพื่อให้ เล่าปี่ เป็นตัวประกันระหว่างที่เขาไปเยี่ยมง่อ แต่ก็ไม่ได้ทำเช่นนั้นและ เล่าปี่ ก็ออกเดินทางโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ
ปี ค. ศ. 209 เล่าปี่สูญเสียภรรยาไปหมด ซุนกวนจึงเสนอซุนช่างเซียง ยอดหญิงงามแห่งกังตั๋งและน้องสาวตน
มาแต่งงานกับเล่าปี่แล้วยังเป็นการกระชับสัมพันธมิตรกัน
ให้แน่นแฟ้นยิ่งด้วยการดองเป็นญาติกัน
เล่าปี่รับข้อเสนอของซุนกวน แล้วเดินทางไปเข้าพิธีแต่งงานที่กังตั๋ง โดยมีจูล่งติดตามไปเป็นองครักษ์ด้วย
( ซึ่งในจดหมายเหตุบันทึกว่านางซุนช่างเซี่ยงหรือซุนฮูหยินนั้น
แม้จะเป็นหญิงงาม แต่ก็มีบุคลิกกลับห้าวหาญและมีฝีมือด้านอาวุธไม่แพ้ผู้ชาย
เพราะรับอิทธิพลจากซุนเกี๋ยนผู้เป็นบิดา และนางจึงชอบให้มีทหารหญิงองครักษ์นับร้อยคน
ยืนถืออาวุธเฝ้าอยู่หน้าห้องหอเล่าปี่มีความกังวลใจมาก
เพราะไม่มีใครกล้าขัดใจเหล่าองรักษ์หญิงของนาง ที่ติดตามมาที่เกงจิ๋วได้เลย
เล่าปี่จึงแต่งตั้งให้จูล่งเป็นพ่อบ้านคอยทำหน้าที่ดูแลกิจภายในทั่วไปเพราะจุล่งเป็นผู้มีความกล้าหาญ
และบุคลิกที่จริงจังเขาสามารถทำให้เหล่าทหารหญิงของนางซุนฮูหยินยอมเคารพเชื่อฟังได้
ตรงจุดนี้มีความแตกต่างอยู่บ้างระหว่างจดหมายเหตุและนิยายเนื่องจากในนิยายนั้น
เสริมเรื่องราวว่าการแต่งงานของเล่าปี่เป็นแผนการของจิวยี่
ที่ต้องการล่อเล่าปี่มาที่กังตั๋ง เพื่อที่จะลอบสังหาร แต่ขงเบ้งรู้ทัน
จึงวางแผนตลบหลังแล้วทำให้กลายเป็นการแต่งงานจริง ๆ
ต่อมาจิวยี่จึงเปลี่ยนแผนโดยหลอกล่อเล่าปี่ให้มีชีวิตที่สุขสบายในห้องหอ
เพื่อกักตัวเล่าปี่ไว้ที่ยังตั้งแต่ขงเบ้งก็อ่านแผนการออกและเตรียมทางหนีไว้ก่อนแล้ว
โดยให้จูล่งเป็นผู้ช่วยเตือนสติเล่าปี่จากนั้นจูล่งก็พาทั้งเล่าปี่และซุนฮูหยินหนีกลับมาเกงจิ๋วได้
แต่ในจดหมายเหตุบันทึกแตกต่างไปว่าการแต่งงานทางการเมืองครั้งนี้
เกิดขึ้นเพราะซุนกวนเป็นผู้เสนอขึ้นเองเพราะเขาต้องการเชื่อมสัมพันธ์กับเล่าปี่ในฐานะพันธมิตรเอาไว้
เนื่องจากในปีนี้เล่ากี๋ได้ล้มป่วยและเสียชีวิตกะทันหัน
ทำให้บรรดาขุนนางและนายทหารในเกงจิ๋วต่างสนับสนุนให้เล่าปี่ขึ้นเป็นผู้ปกครองเกงจิ๋วโดยชอบธรรม
อิทธิพลและอำนาจของเล่าปี่จึงทวีคูณขึ้นมากเรื่อยๆ
ซุนกวนจึงเริ่มหวาดเกรงจึงหาทางผูกสัมพันธ์กับเล่าปี่เอาไว้ดังนั้นจึงเสนอน้องสาวให้ไปแต่งงานด้วย
ซึ่งหลังจากแต่งงานแล้วนางซุนฮูหยินก็ติดตามเล่าปี่ไปอยู่ที่เกงจิ๋ว
::ดังนั้นในประวัติศาสตร์เล่าปี่จึงไม่ได้ถูกกักตัวไว้ที่กังตั๋งเหมือนที่ในนิยายเล่าไว้
แต่ส่วนที่คล้ายกันคือจูล่งเป็นผู้ที่ทำหน้าที่คลี่คลายปัญหาเรื่องภายในให้เล่าปี่
แต่ต่างกันที่ปัญหาและวิธีแตกต่างกัน ที่จูล่งได้เป็นพ่อบ้านแทนเท่านั้น
ส่วนในนิยายก็แต่งให้เล่าปี่และจูล่งเขเาขากันแต่เนียนเหมือนเมาไม่เข้าขาไม่รู้ใจกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ทำให้เห็นว่าสามก๊กสามารถประยุกต์ใช้ได้รอบด้าน
ทั้งประวัติศาสตร์และนิยายวรรณกรรม
และเรื่องแต่งในซีรีย์ใหม่ๆ ที่ทำขึ้นใหม่ ได้ทั้งนั้น เช่นกัน...
| อันดับที่ 16 |
ปี ค.ศ. 210 เล่าปี่ได้เมืองกังเหลงอันเป็นหัวเมืองสำคัญของเกงจิ๋วตอนกลางมาเป็นฐานที่มั่น
ทำให้เขาสามารถตั้งหลักได้เป็นครั้งแรกซึ่งสาเหตุที่เล่าปี่ได้เมืองกังเหลงมาครอง
ที่เกิดจากนโยบายและแผนทางการทูตอันแยบยลของขงเบ้ง
( ซึ่งจดหมายเหตุบันทึกว่าหลังศึกผาแดงจบลงแล้ว
จิวยี่ได้ทำศึกกับโจหยินซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่กังเหลงนานเกือบปีสองฝ่ายสู้รบอย่างหนักกระทั่งใจหยินต้องถอนกำลังขึ้นเหนือไปตั้งมั่นที่ซงหยง
ดังนั้นขงเบ้งจึงอาศัยโอกาสนี้เข้าเจรจากับโลกและซุนกวน
เพื่อขอยืมเมืองกังเหลงให้แก่เล่าปี่ให้เป็นฐานที่มั่นโลกชกเห็นชอบด้วย
เพราะโลซกต้องการใช้เล่าให้เป็นกันชนสำหรับต่อต้านโจโฉ
เนื่องจากเวลานั้นกำลังของซุนกวนยังมีไม่มากพอที่จะแบ่งไปดูแลที่เมืองกังเหลง
ได้เท่าที่ควรฝ่ายซุนกวนเองก็เห็นชอบด้วยอีก
ทั้งยังอาจถือว่าเป็นของขวัญสำหรับการแต่งงานของเล่าปี่และนางซุนฮูหยิน
ดังนั้นซุนกวนจึงยอมให้เล่าปี่ยืมเมืองไปโดยมีข้อตกลงกันว่าหากเล่าปี่นำทัพเข้ายึดดินแดนจ๊ก ( สู่ = Shu ) หรือเมืองเอ็กจิ๋ว (หรือเมืองเสฉวน) ได้เมื่อใดแล้ว
จะต้องคืนเมืองเกงจิ๋วให้จากนั้นเล่าปี่ก็อาศัยเมืองกังเหลงเป็นฐานที่มั่นในการควบคุมเกงจิ๋ว
และเพื่อบุกสู่ตะวันตกต่อไปหลังจากนั้นเล่าปี่ได้รับสารจากซุนกวนเสนอแผนให้
ร่วมกันโจมตีดินแดนจ๊กหรือเอ็กจิ๋ว(แคว้นเสฉวน) ด้วยกัน
เนื่องจากง่อก๊กไม่อาจข้ามไปโจมตีเสฉวนได้เองเพราะต้องเดินทัพผ่านเกงจิ๋ว
:: จ๊ก ปา คือส่วนหนึ่งใน เสฉวน ซึ่ง เสฉวนก็คือเอ๊กจิ๋วเช่นกัน
เพียงแต่คนสมัยก่อนเรียกแคว้นเก่าเพื่อเปรียบเทียบผืนดินเก่าที่ตนจะเข้าไปยึดแค่นั้น
แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ในส่วนนี้แม้นิยายเขียนมาดีมาก ว่าการยึดจากเขา
ทั้งมีไส้ศึกมาให้แผนที่ตนนั้นไม่ผิดในภายหลัง และคนขื่นชอบกันที่เล่าปี่ได้เป็นใหญ่
ทั้งๆเป็นการแต่ง ด้วยการร้องไห้ขอร้องให้ยืมเมือง
ไม่ว่าจะยืมเกงจิ๋วพูดเป็นรวมๆเหมือนในนิยาย หรือยืมเพียงกังเหลงเหมือนในประวัติศาสตร์
ก็ไม่ควรกล่าวและทำตามยกมาว่ามันถูกต้อง มิควรทำตามทั้งนั้น
แต่การเข้าหาประชาชน ทำให้ประชาชนชอบนั้นควรทำตามเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นก็มิควรทำให้ประชาชนนที่รักได้เกลียดชัง สิ่งที่ตนยึดมาเช่นกัน
| อันดับที่ 16 |
ในศึกอิเหลงกองทัพของเล่าปี่ไม่ได้มีถึง 700,000 อย่างในนิยายกล่าวไว้
แต่เล่าปี่มีกำลังพลทั้งหมดเพียง 40,000 ถึง 80,000 เท่านั้น
 
( ในจดหมายเหตุไม่ได้มีบันทึกว่าม้าเจ๊กได้เตือนเล่าปี่แล้วหรือไม่ที่ไม่ให้ผลีผลามบุกลงใต้
และไม่มีบอกว่าเล่าปี่ตั้งกองทัพในป่าไม้ล้อมเต็มไปหมด
แต่บันทึกไว้แค่ว่าเล่าปี่ตั้งทัพไว้ใกล้ลำธารเรียงตามทิวยาวอย่างไม่สนใจอะไร
และได้ถูกลกซนเผาทัพด้วยความประมาทของเล่าปี่ กระทั่งจูล่งมาช่วย พร้อมกับยกทัพหนุนมาช่วยเล่าปี่เอาไว้ได้ )
:: แต่กระนั้นเองสิ่งที่อ่อนไหวในตอนนี้ก็ทำให้เศร้าโศกอย่างมาก
เมื่อผู้อ่านนิยายได้ทราบว่าเล่าปี่เสียใจมากจึงบุกใต้ จนลืมอุดมการณ์ใหญ่นั้น
มันสะเทือนจิตใจมากเมื่อได้เสียคนรู้ใจสนิทสนมสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยความลำบากลำบนมาด้วยกัน
แต่ในตรงข้ามนั้นก็สะท้อนให้เราได้เตือนใจว่า อย่าเสียวจจนมากเกินไป
จนลืมอุดมการณ์ที่คนสนิทสนมได้ฝากฝังช่วยกันเอาไว้
รวมถึงประชาชน คนติดตาม คนรอบข้างได้คาดหวังเอาไว้
ประดุจดั่งคนดังคนใหญ่ ผู้คนชื่นชอบมากมาย เพราะผลงานการแสดงมากมาย
แต่สุดท้ายมาเสียคนเพราะคนดังได้สนับสนุนผู้นำคนที่ผู้ติดตามเขาเกลียด
กลายเป็นท่าดีทีเหลวนั้น เพราะเหมือนกับว่า ไม่สนใจคนผู้ชมที่คอยดูคอยชมคอยหนุนเขามาตลอด
ผู้ติดตามชมเลยถอดใจแล้วไม่สนแล้วกลับกลายเป็นด่าประณาม เป็นงั้นไป
| อันดับที่ 17 |
ปีค.ศ. 223 ในที่สุดพระเจ้าเล่าปี่ก็สิ้นพระชนม์ในเดือน 6 ณ เมืองกงกั้น
รวมอายุ 63 ปี รัชทายาทเล่าเสี้ยนขึ้นมาสืบราชสมบัติต่อถวายสมัญญานามย้อนหลัง
ให้เล่าปี่เป็นพระเจ้าเจียงบู๊เต้
จดหมายเหตุบันทึกว่า เล่าปี่มีภรรยารวมทั้งสิ้น 4 คนมีบุตรชายทั้งสิ้น 4 คน
มีไม่ปรากฏนามอีกอย่างน้อย 1 คน เชื่อว่าเกิดก่อนเล่าเสี้ยน แต่ตายตั้งแต่วัยหนุ่มและถูกจับที่สะภาพเตียงปัน ไม่ปรากฏว่ามีบุตรี
| อันดับที่ 18 |
ในอดีต เล่าปี่ เป็นผู้บัญชาการที่มีความสามารถมากกว่านิยาย
ที่ทำให้เขากลายเป็นคนขี้แงราชันเจ้าน้ำตา ร่ำไห้เกือบทุกที่
(ไม่ว่าจะวรรณกรรมรือจะเรียกอีกอย่างว่านิยาย และเทียบกับประวัติศาสตร์นั้น
เล่าปี่จะไม่สามารถทำศึกเพื่อรวบรวมแผ่นดินสามก๊กให้เป็นหนึ่งเดียว
แต่ความฝันครั้งวัยเยาว์ในการเป็นฮ่องเต้ก็บรรลุผลอย่างยิ่งใหญ่แล้ว
เราอาจถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างสูงสุดของบุคคลผู้หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์
ที่ควรต้องจารึกไว้เมื่อพิจารณาว่าเขามีจุดเริ่มมาจากการเป็นเชื้อพระวงศ์ตกยาก
ซึ่งยังชีพด้วยการทอเสื่อและสานรองเท้าฟางขายเท่านั้น แต่กลับสร้างชาติได้
:: ปัจจุบันนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ได้ค้นคว้าและตีความเรื่องราวของเล่าปี่
ที่แตกต่างไปจากเดิมนั่นยังรวมถึงทางสื่อต่างๆไม่ว่าภาพยนตร์ละครการ์ตูนเกมส์
เล่าปี่จากในวรรณกรรมนั้นมีความเป็นพระเอกแนวโศกนาฏกรรมผู้มีอุดมการณ์ยึดถือคุณธรรม
เป็นราชันย์เจ้าน้ำตาผู้พนมมือไปทั้งสิบทิศตามคำกล่าวของยาขอบ
แต่จากเรื่องราวของเล่าปี่นั้นหากค้นคว้าให้ลึกซึ้งลงไปเราอาจจะพบได้ว่า
ตัวจริงของเล่าปี่นั้นยากจะสรุปได้เขาเป็นบุคคลที่สร้างตัวมาจากสองมือเปล่า
แต่กลับผงาดขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 บุรุษผู้ทรงอำนาจที่สุดในยุคสามก๊ก
และเป็นบุรุษเดียวที่โจโฉยกย่องว่าคู่ควรแก่คำว่าวีรบุรุษผู้กล้า
ทั้งที่เป็นยุคที่ปรากฏขุนศึกที่ทรงอำนาจขึ้นมามากมาย
แต่สุดท้ายแล้วกลับเหลือเพียงเล่าปี่เท่านั้นที่ยังคงยืนหยัดสู้กับโจโฉผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในแผ่นดิน
| อันดับที่ 19 |
ยุทธการฮันต๋ง ฮองตงไม่ได้เป็น ผู้บัญชาการเอง
ดั่งในเกมส์ Romance of the Three Kingdoms ทำใหม่ไว้
แต่เป็น เล่าปี่ เองที่ศึกทุกอย่าง เพียงขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาขงเบ้งแค่นั้น
ทั้งยังไม่ได้เป็นขงเบ้งเองที่วางแผนการในศึกฮันต๋งนี้ อย่างในนิยายเขียนแต่งไว้
แต่ก็นับเป็นการแต่งที่เลิศล้ำ มหัศจรรย์ฝีมือของคนเขียน
| อันดับที่ 20 |
ตัวตนของเล่าปี่ที่แท้จริงทั้งในนิยายและประวัติศาสตร์
หากมองข้ามด้านความล้มเหลว และบุคลิกที่อันอ่อนแอเกินจะเป็นผู้นำได้
ผู้นำแบบเล่าปี่จะเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งที่สุดในเรื่องสามก๊กจึงเหมาะสมเป็นพระเอกยิ่ง
จนทำให้ผู้อ่านนิยายติดตามกันมากมายเพราะกลายเป็นไอดอลสู้ชีวิต
ทำให้ผู้อ่านนิยายที่หันมาอ่านประวัติศาสตร์ได้รู้แจ้งมากขึ้นมากกว่าเดิม
เพิ่มเติมคือสรรเสริญเล่าปี่และได้เห็นวิถีชีวิตจริงในประวัติศาสตร์มาปรับใช้จริงได้
ดังนั้นผู้คนที่ได้อ่านสามก๊กแบบรอบด้าน จึงชอบเล่าปี่ทั้งสองด้านเรื่องแต่งและไม่แต่งจนวันตาย
ทุกวันนี้สุสานของเล่าปี่ตั้งอยู่ที่เมืองเซงโตและได้รับเคารพยกย่องกราบไหว้บูชา
จากคนรุ่นหลังโดยมีสุสานของขงเบ้งซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว่าตั้งอยู่ใกล้กัน
อาจเพราะผู้คนส่วนใหญ่ประเมินความสามารถในฐานะผู้นำของเล่าปี่
ไว้ต่ำกว่าขงเบ้งอันเป็นผลมาจากบทบาทที่ปรากฏในนิยาย
แต่ถ้าจะว่ากันตามประวัติศาสตร์หรือต่อให้พิจารณาจาก
( ในนิยายด้วยซ้ำเราอาจจะพบว่าบุคลิกความเป็นผู้นำของเล่าปี่นั้นเหนือกว่าขงเบ้งไม่น้อยเลย
แม้แต่โจโฉไม่เคยกล่าวคำพูดใดที่แสดงว่าเขาหวั่นเกรงในตัวขงเบ้งสักครั้ง
แต่สำหรับเล่าปี่นี่คือบุรุษเพียงผู้เดียวที่โจโฉเคยวิจารณ์ว่าในแผ่นดินนี้
ผู้ที่ควรได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษแล้วนอกจากตัวโจโฉเองแล้วก็มีอีกคนคือเล่าปี่เท่านั้น
จึงอาจกล่าวได้ว่าเล่าปี่เป็นบุคคลเดียวที่โจโฉชายซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในยุคสามก๊ก
ให้การยอมรับเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งจึงถือว่าเส้นทางสู่ความสำเร็จ )
และการสร้างความยิ่งใหญ่ของเล่าปี่นับว่าเป็นสิ่งที่ควรต้องศึกษา
จากบุรุษผู้สร้างตัวมาจากสองมือเปล่าและมีต้นทุนที่ต่ำที่สุดในบรรดาผู้นำของทั้งสามก๊ก
เล่าปี่ เหี้ยนเต็ก (Liu Bei)- มังกรเลือดเย็น (1) ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่ แปลจากจดหมายเหตุสามก๊กฉบับเฉินโซ่วและเผยซงจือ ตอนที่ 26
เล่าปี่ เหี้ยนเต็ก (Liu Bei)- มังกรเลือดเย็น (2) ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่ แปลจากจดหมายเหตุสามก๊กฉบับเฉินโซ่วและเผยซงจือ ตอนที่ 27
หนังสือ
1.จดหมายเหตุสามก๊ก ฉบับ เฉินโซ่ว
และ
2.สี่ยอดผู้นำในสามก๊ก
และ
3.นามานุกรมสามก๊ก ฉบับ แฟนพันธ์แท้
โฆษณา