👨🏻🏫แอดเลอร์ได้เสนอว่า เราควรใช้ชีวิตโดย ‘ยึดเป้าหมายเป็นสำคัญ’ นั่นหมายถึงว่าในทุกๆการกระทำของเราจะมีเป้าหมายอะไรบางอย่างซ่อนอยู่เสมอเด็กที่กักตัวเองอยู่ในห้อง แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นเพราะว่าเขามีแผลในอดีต เพียงแต่ว่าเขาต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ นั่นคือเป้าหมายที่ซ่อนอยู่ในตัวของเด็กคนนี้ เป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ และมันขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะกำหนดเป้าหมายแบบไหน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ‘ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง’ คนส่วนใหญ่กลัวการเปลี่ยนแปลงจึงมักจะยึดติดอยู่กับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบเดิมๆ
.
😏เหมือนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ‘ความทุกข์ของคนเราล้วนเกิดจากการที่เรามีความสัมพันธ์กับผู้อื่น’ ส่วนใหญ่ความทุกข์มักจะเกิดขึ้นจากการต้องการการยอมรับจากคนอื่น หรือการกลัวจะถูกคนอื่นเกลียด การมีความทุกข์แบบนี้ทำให้เราเกิดความรู้สึกต้อยต่ำกว่าคนอื่น และขาดการช้ชีวิตในแบบที่มีอิสรภาพ เช่นรู้สึกว่าเรามีสถานะทางสังคมที่แย่กว่า เรามีอาชีพการงานที่แย่กว่า เรามีความสามารถที่แย่กว่า เราโดน เราต้องเข้าใจก่อนว่า ‘ความรู้สึกต้อยต่ำ’ ที่เกิดขึ้นมานั้นแท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่จิตใจเราปรุงแต่งขึ้นมาเอง (ชักจะเหมือนกับหลักคำสอนของศาสนาพุทธแล้ว) นั่นเป็นเพราะว่ามนุษย์เราเกิดมาเพื่อแสวงหา ‘ความเหนือกว่า’
.
💪🏻การแสวงหาความเหนือว่านั้น จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันจทำให้เราเกิดความพยายามในการพัฒนาตัวเองให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เพียงแต่ว่าถ้าเราเอาความรู้สึกต้อยต่ำมาใช้ในเชิงลบ มันอาจถูกพัฒนาจนกลายเป็น ‘ปมด้อย’ ได้ ปมด้อยพวกนี้เมื่อถูกนำมาใช้ข้ออ้างบ่อยๆ มันอาจจะถูกพัฒนาขึ้นอีกขึ้นกลายเป็น ‘ปมเด่น’ หรือเป็นการวางอำนาจให้ตัวเองดูเหนือกว่าคนอื่น เพื่อที่จะได้กลบความรู้สึกต่ำต้อยของตัวเองไป เราอาจพบเห็นการวางอำนาจแบบนี้ได้ทั่วไปในที่ทำงาน หรือสังคมภายนอก เช่นการบอกว่าตัวเองเป็นคนใหญ่คนโต มีลูกน้องมากมาย ใส่ของแบรนด์เนม ทั้งหมดทำเพื่อให้คนอื่นยอมรับในตัวเขาเท่านั้น
.
👴🏻แอดเลอร์เลยเสนอว่าจริงๆแล้วการแสวงหาความเหนือกว่าเป็นเรื่องที่ดี เพียงแต่เราต้องเปลี่ยนมุมมองจากการแสวงหาความเหนือกว่าจากคนอื่น เป็นการแสวงหาความเหนือกว่าตนเอง มองเหมือนว่าทุกๆคนเท่าเทียมกันอยู่บนผืนทราย และเราก้าวเดินไปข้างหน้า เพื่อไปในจุดที่ไกลขึ้นกว่าที่ตัวเองยืนอยู่ในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องไปแข่งกับใคร การแข่งขันในชีวิตคือการแข่งกับตัวเอง เมื่อคิดได้แบบนี้เราจะได้ไม่มองโลกใบนี้เป็นสนามแข่งขัน แต่เป็นสถานที่ที่ทุกคนเป็นมิตรกันได้ด้วย
.
🎯เป้าหมายด้านพฤติกรรมในชีวิตของคนเรามีอยู่ 2 อย่าง คือ ต้องการพึ่งพาตนเองได้ และใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ดี ส่วนเป้าหมายด้านจิตใจที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรม 2 ดังกล่าว คือ ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ และความรู้สึกว่าคนรอบข้างเป็นมิตร
.
👨👨👧👧 สิ่งที่มักจะเป็นมารผจญคอยแย่งอิสรภาพในชีวิตของเราไปคือ ‘ความปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับจากผู้อื่น’ เพราะฉะนั้นแล้วเราต้องใช้ชีวิตโดยไม่ต้องทำตามความคาดหวังของใคร ไม่ต้องไปสนใจว่าใครจะมองเห็นหรือมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเรา ใช้ชีวิตตามความคาดหวังของเราเอง และสิ่งสำคัญคือ ‘เราเองก็ไม่ควรไปคาดหวังว่าคนอื่นจะใช้ชีวิตในแบบที่เราคาดหวังเช่นกัน’
.
👶🏻เรื่องนี้โยงมาถึงไฮไลท์ของแนวคิดของแอดเลอร์ที่บอกให้ ‘แยกยะธุระของแต่ละคนออกจากกัน’ และ ‘ไม่เข้าไปก้าวก่ายธุระของคนอื่น’ ทุกคนจะมีธุระเป็นของตัวเอง และเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลของการตัดสินใจของตัวเอง เช่นเด็กที่ไม่ยอมเข้าเรียนหนังสือ สุดท้ายก็อาจสอบตก เรียนไม่ทันเพื่อน นั่นคือผลลัพธ์ที่เกิดจากการะกระทำของตัวเด็กเอง เป็นธุระของตัวเด็กเอง พ่อแม่ไม่ควรเข้าไปก้าวก่าย แล้วเราควรจะทำอะไรได้บ้าง
.
การใช้ชีวิตในแบบที่ไม่เข้าไปก้าวก่ายธุระของคนอื่นนั้น ช่วยให้ชีวิตของเราเรียบง่ายขึ้น ไม่ต้องไปแบกภาระของใคร เราจะใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสรภาพมากขึ้น นอกจากนี้แล้วเมื่อนำเรื่องการมองโลกนี้แบบเป็นมิตร การไม่ต้องแข่งขันกันเพื่อความเหนือกว่านั้นทำให้ เราสามารถสร้าง ‘ความสัมพันธ์แบบเท่าเทียม’ ขึ้นมาได้ หลักการสามข้อที่เชื่อมโยงกันในการสร้างความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมคือ ‘การยอมรับตัวเอง’, ‘การเชื่อใจคนอื่น’ และ ‘การช่วยเหลือคนอื่น’ และนี่คือสิ่งที่เราทำได้และควรทำ การเชื่อใจคนอื่นจะทำให้เราเต็มใจที่จะช่วยเหลือคนอื่นจากใจจริงๆ
.
😎‘การยอมรับตัวเอง’ นั้นหมายถึงการยอมรับว่าสิ่งใดที่เราทำได้ และทำไม่ได้ นอกจากนี้แล้วเราสามารถเรียนรู้ได้ว่า คนเรานั้นเปลี่ยนแปลงกันได้ แต่เราต้อง ‘กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง’ หรือ ‘กล้าที่จะถูกเกลียด’ นั่นเอง นี่อาจเป็นความหมายจริงๆที่ผู้เขียน หรือผู้แปลเอามาตั้งเป็นชื่อหนังสือ
.
😄ส่วนการเชื่อใจและช่วยเหลือคนอื่นนั้น สิ่งที่เราควรทำไม่ใช่การให้รางวัล หรือลงโทษ แต่เป็น ‘การปลุกความกล้า’ เพราะเราต้องเชื่อว่าการที่คนคนหนึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ไม่ได้มากจากว่าเขานั้นไร้ความสามารถ เพียงแต่ว่าเขาไม่มีความกล้าพอที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา การที่เราได้ช่วยให้ตัวเราเองและคนอื่นรู้สึกในคุณค่าของตนเอง ยังเป็นวิธีเติมเต็มเป้าหมายในการมีชีวิตอยู่ของเราอีกด้วย
.
👍🏻สุดท้ายแล้วแนวคิดนี้ก็เชื่อมโยงกลับมาที่การตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง ทุกๆคนควรจะตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองนี้ และช่วยให้คนอื่นได้ตระหนักคุณค่าในตัวของเขาเองเช่นกัน เพราะเรามีชีวิตอยู่ได้เพราะรู้สึกว่าตัวเอง ‘มีประโยชน์ต่อใครสักคน’ เท่านี้เราก็จะกลายเป็นคนธรรมดาที่ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
.
💪🏻‘จงกล้าที่จะเป็นคนธรรมดาที่มีความสุขซะ’
.
👨🏻🏫แนวคิดของแอดเลอร์นั้นลึกซึ้ง และต้องการเวลาในการตกผลึกทางความคิด แต่ผมแนะนำว่านี่เป็นหนังสือที่ดีที่สุดอีกเล่มหนึ่งที่ผมเคยอ่านมา แม้มันจะ extreme แม้มันจะดูเหมือนไม่สามารถเอามาประยุกต์ใช้กับโลกยุคของเราได้หมด แต่ปรัชญาที่เป็นรากฐานของแนวคิดนี้น่าสนใจ และให้อะไรกับผู้อ่านได้มากกว่าที่คิด
.
.
.
………………………………………………………………………….
✍🏻ผู้เขียน Ichiro Kishimi (อิชิโร คิชิมิ), Fumitake Koga (ฟุมิทะเกะ โคะกะ)
✍🏻ผู้แปล โยซุเกะ, นิพดา เขียวอุไร
🏠สำนักพิมพ์ : Welearn
📚แนวหนังสือ : พัฒนาตัวเอง, จิตวิทยา
…………………………………………………………………………..
.
.
ติดตามบทความอื่นๆได้ที่
🐶Facebook หลังอ่าน
.
.
📚สั่งซื้อหนังสือได้ที่
.
#หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #หนังสือ2020