Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มุมมองของเด็กมัธยม
•
ติดตาม
21 มิ.ย. 2020 เวลา 12:00 • ข่าว
เกษตรกรกับปัญหาที่ต้องแบกรับกับวิกฤต Covid-19
ที่มาภาพ pixabay.com
อาชีพหนึ่งที่ได้รับผลกระจากวิกฤต Covid-19 คือเกษตรกรซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งเป็นอย่างมาก และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ
ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ หาแหล่งขายพืชผลทางการเกษตรไม่ได้ ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศไม่ได้ หนี้สินที่มีมากสวนทางกลับรายได้ที่ลดลง
ตลอดหลายปีที่ผ่านเกษตรกรไทยได้รับผลกระทบราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำอย่างต่อเนื่อง พืชผลทางการเกษตรที่ราคาตกต่ำและเป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว อ้อย ผัก ผลไม้ มะพร้าว สับปะรด มันสำปะหลัง และข้าวโพด
ที่มาภาพ มูลนิธิวิถีชีวิตไทย
เมื่อราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำอยู่แล้ว ปีนี้เหมือนธรรมชาติจะไม่เป็นใจ ส่งวิกฤตภัยแล้งมาสู่เกษตรกร ทำให้พืชผลทางการเกษตรได้รับผล กระทบ ผลผลิตที่ได้น้อยลง หรือผลผลิตที่ได้ไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ
ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ ปัญหาภัยแล้งดูจะเป็นปัญหาใหญ่กับเกษตรแล้ว ปัญหาจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ตามเข้ามา
เมื่อ 3 สิ่งนี้พากันซัดเข้ามา เสาต้นหนึ่งที่ดูจะล้มแต่ก็ไม่ล้มเสียที เมื่อเจอวิกฤตครั้งนี้เสาต้นนั้นไม่สามารถต้านทานแรงที่มากระทบได้ จึงล้มลงในที่สุด
ปัญหาวิกฤต Covid-19 ส่งผลอย่างไรบ้างกับเกษตรกร
1.ไม่สามารถขายพืชผลทางการเกษตรได้หรือขายได้ไม่มากพอกับจำนวนพืชผลทางการเกษตรที่มีอยู่
เมื่อเกิดวิกฤต Covid-19 สินค้าทางการเกษตรที่ส่งออกไปยังต่างประเทศที่แต่เดิมส่งออกได้ไปขายยังต่างประเทศได้กลับส่งไปไม่ได้ เช่น จีนที่เป็นตลาดใหญ่ในการส่งออก ทุเรียน เงาะ มะม่วง ก็ไม่สามารถส่งออกไปได้เช่นกัน ทำให้ผลไม้ล้นตลาด
ทำให้ตลาดเหลือแค่ภายในประเทศ แต่ก็ยังติดเรื่องปัญหาต่างๆ เช่นการส่งสินค้าเข้าไปยังกรุงเทพยากขึ้น เพราะต้องผ่านด่านตรวจมากมาย หรือขายไม่ได้ขายไม่ออกเพราะปิดตลาดไม่รู้จะไปขายที่ไหน
แต่ตลาดใหม่ที่น่าสนใจตอนนี้คือตลาดออนไลน์ มีการขายผ่านทางออนไลน์มากขึ้น แค่อยู่ในบ้านก็ได้กินผลไม้สดๆจากสวน
ที่มาภาพ pixabay.com
2.หนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นสวนทางกลับรายได้ที่น้อยลง ปัญหาหนี้สินก็เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเกษตรกร รายได้ที่น้อยลงหนี้สินที่เพิ่มขึ้นสร้างความลำบากให้กับพวกเขาเหล่านี้
ข้อมูลปี 2561 ระบุว่าเกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 135,220 บาท/ปี
รัฐบาลได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกร เยียวยาเกษตรกร 5,000บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามพรก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท แต่ดูจะมีปัญหามากมายพอสมควร
ภาพชายคนนึงกำลังยกน้ำหนัก เปรียบเสมือนที่ยกน้ำหนักคือ ภาวะหนี้สินของเกษตรกร และชายที่ยกน้ำหนักคือ เกษตรที่ต้องแบกรับภาระ ที่มาภาพ pixabay.com
จากปัญหา 2 ข้อดังกล่าวดูจะเป็นปัญหาใหญ่และมีความท้าทายต่อเกษตรกร แม้ในช่วงนี้รัฐบาลมีการผ่อนปรนมาตราการเพิ่มขึ้น ทำให้ได้กับมาค้าขายได้สะดวกและตลาดส่งออกในจีนก็มีการกลับมาคึกคักมากขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้เกษตรกรกลับมามีรายได้เช่นเดิม
แต่เกษตรบางส่วนก็อาจจะมีการกู้เงินเพื่อไปลงทุนใหม่ เพราะได้รับผลกระทบในการลงทุนล็อตแรก
ในช่วงสุดท้ายนี้ทางเราก็ขอมอบพลังให้แก่เกษตรกรเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ ให้รับผลกระทบน้อยที่สุด
ผู้เขียนอยากจะให้ผู้อ่านร่วมแสดงความคิดเห็น ราคาผลไม้ก่อนวิกฤต Covid-19 กับตอนเกิดวิกฤตราคาต่างกันอย่างไรบ้าง
ถ้าชอบบทความดีๆจากพวกเรา อย่าลืมกดติดตามเพจ ของพวกเราด้วยนะครับ เพื่อไม่พลาดบทความดีๆและข่าวสารจากพวกเรา และเป็นแรงสนับสนุนให้เราสร้างบทความดีๆต่อไป ขอบคุณครับ🙏❤
อ้างอิง
https://voicetv.co.th/read/3H5QZzi3J
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_127332
https://www.thaipost.net/main/detail/32158
บันทึก
3
3
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย