21 มิ.ย. 2020 เวลา 20:49
มีครูคณิตศาสตร์ท่านหนึ่งได้ให้การบ้านกับนักเรียน
โดยให้นักเรียนกลับบ้านไปโยนเหรียญ 200 ครั้ง แล้วบันทึกผลการทดลอง
หรือว่าจะกลับบ้านไปสุ่มหัวก้อยขึ้นมาก็ได้ แล้วบันทึกผลการทดลองมาส่งเหมือนกัน
เมื่อถึงวันถัดไป ครูก็จะจ้องดูผลการทดลองของนักเรียนแบบผ่านๆ แล้วก็จะบอกว่าคนไหนที่ไม่ได้โยนเหรียญจริงๆบ้าง
เมื่อพูดถึงการสุ่ม เรามักจะนึกถึงความไม่มีแบบแผน และเราก็จะพยายามใส่ความไม่มีแบบแผนในความคิดเราไปในการสุ่มของเราโดยไม่รู้ตัว
วิธีการที่ครูใช้แยกผลการทดลองก็คือ ผลการทดลองมักจะเป็นของปลอม ถ้าผลการทดลองไม่มี หัว หรือ ก้อย มากกว่าหกครั้งติดกัน
หากครูสามารถจับได้ว่านักเรียนทำการบ้านมาจริงๆ หรือเมคมันขึ้นมาจากในหัว
แล้วเราสามารถจับคำตอบผิดๆที่ครูใส่มาในข้อสอบได้ไหม?
คำตอบก็คือ ได้
ถ้ามีข้อสอบให้เลือกข้อที่ถูก 1 ใน 4 ข้อ
เราไม่รู้ว่าเราจะตอบอะไรเราควรเลือก a, b, c หรือ d?
ในเมื่อผู้ออกข้อสอบมักจะไม่ใช่คอมพิวเตอร์ คำตอบที่ถูกมักจะไม่ถูกกระจายไปอย่างเท่าเทียม
คำตอบที่ถูกมักจะถูกใส่ในข้อ b และ c มากกว่าที่จะเป็น a หรือ d
วิธีการทำข้อสอบที่ถูกต้องก็คือ
1. ถ้าหากมีคำตอบในข้อ d ที่บอกว่า “ถูกทั้งหมด” หรือ “ผิดทั้งหมด” ให้เลือกข้อนี้
2. ถ้าหากไม่มีให้ดูตัวเลือก b และ c หากอันไหนยาวกว่าให้เลือกอันนั้น
แต่ที่น่าสนใจก็คือ ไม่ใช่แค่ครูเท่านั้นที่มักใส่คำตอบที่ถูกไว้ตรงกลาง
แต่นักเรียนก็มักจะมั่วข้อสอบในช่อง b และ c มากกว่าเหมือนกัน
และเหตุผลก็คือ เราทุกคนมีความสามารถในการสุ่มแบบมนุษย์นั่นเอง
โฆษณา