Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อยากคุยด้วย ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายก็ได้
•
ติดตาม
22 มิ.ย. 2020 เวลา 13:01 • การศึกษา
โปรมกรมเมอร์ยอดนักสืบ
สงสัยป่ะว่า คนที่เสาะหาข้อมูลเราจากบนเว็บไซต์ คนที่เข้าถึงข้อมูลเราบนทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม จะเพื่อตามหาเจ้าของเพจนิรนามเนื่องจากเพจนั้นโพสต์ไม่ดี โพสต์ไม่สุภาพ หรือโพสต์อ้างอิงถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปในทางที่เสื่อมเสีย ทำให้เพจดังกล่าวเค้าไม่สามารถใช้ชื่อ รูป ของตัวเองได้อะไรพวกนั้น ก็เลยทำให้เราไม่รู้ตัวคนนั้น และถ้าคนที่เป็นโปรแกรมเมอร์เก่งๆนี่เค้าอยากรู้ว่าใคร และเข้าตามหาข้อมูลต่างๆเผื่อสะกดรอยตามคนนั้นอะ หรือพลเมืองดีที่เก่งๆในด้านนี้เค้าจะเจาะเข้าหาข้อมูลต่างๆอะไรพวกนั้นเนี่ยเพื่อนำตัวคนนั้นที่ทำไม่ดีต่างๆที่ทำให้เสื่อมเสียต่อคนอื่นเนี่ย หรือการสะกดตามรอยบนโลกออนไลน์คนใดคนนึงโดยเข้าไปถึงข้อมูลส่วนตัวของคนนั้นๆเนี่ย ผิดป่ะ?
ไงดีอ่ะ ก่อนอื่นต้องพูดถึงว่าการค้นหาตัวคนที่เราต้องการหาบนโลกออนไลน์เนี่ย ยากมาก ซึ่งจะต้องค้นหาเข้าไปให้เจอ เลขIP Address ของบุคคลนั้นเพื่อตามรอยว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน ตรงไหน ซึ่งก็อาจจะเจอข้อมูลทำให้พบตัวคนนั้น และมันก็มีอีกหลายขั้นตอน หลายวิธี ที่กว่าจะเจอตัวคนที่เราต้องการหาซึ่งเค้าไม่เคยระบุตัวตนเลย ผ่านขั้นตอนพวกนี้ก็อาจจะเจอคนที่เราต้องการตามหา
อ่าแล้วสรุปผิดป่ะนะ?
พรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(PDPA) เกี่ยวข้องด้วยไหมอ่ะ?
ในส่วนของPDPAเนี่ย เราจะไม่พูดถึงเพราะว่า ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยังไม่ได้มีการบังคับ {หมวด2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด3 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมวด5 การร้องเรียน หมวด6 การรับผิดทางแพ่ง หมวด7 บทกำหนดโทษ(โทษทางอาญา,โทษทางปกครอง,บทเฉพาะกาล มาตรา95) } ฉะนั้นตรงนี้จะไม่เกี่ยวกับผู้ที่เก็บข้อมูลในพรบนี้เลย
-พรบ.คอมพิวเตอร์ อันนี้ถ้าพิจารณาจากตัวกฎหมายที่ได้บัญญัติมีไว้แล้วล่ะก็ ตอบได้ว่ามีความผิด ลองยกมาตราที่ชัดๆเกี่ยวกับประเด็นนี้มาให้อ่านดู ‘’มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและ มาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ , มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ’’ ต้องอย่าลืมว่าการกระทำความผิดตามมาตรานี้ ผู้กระทำได้กระทำไป “โดยมิชอบ” ด้วย ซึ่งหมายถึงการไม่มีอำนาจกระทำ ดังนั้น ถ้าผู้กระทำมีอำนาจที่จะกระทำได้ไม่ว่าโดยกฎหมายหรือโดยการอนุญาตของเจ้าของสิทธิ ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด และหากผู้ส่งใช้วิธีการส่งที่ไม่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลนั้น ผู้ที่ดักรับย่อมไม่มีความผิด
แต่หากเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจใจการเข้าถึงข้อมูลของเลข IP Address นั้นตามมาตรา18 ของพรบ.คอมฯ อันนี้ไม่มีความผิด เพราะมาตรา 26กำหนดหน้าที่ให้ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บข้อมูลหมายเลข IP Address ของผู้ใช้เอาไว้อย่างน้อย 90 วัน อยู่แล้ว ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะขอให้ผู้ให้บริการส่งข้อมูลหมายเลข IP Address ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมาให้ได้
อีกทีนะสรุปผิดหรือไม่ผิด
อ่ะมีคน 2คน คนหนึ่งไม่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลของคนอื่น ผิด!! คนที่สอง คือคนที่มีอำนาจในการเข้าถึงโดยตามกฎหมายถูกต้องชัดเจนว่าให้ทำได้ อันนี้ไม่ผิด!
คำแนะนำของเราก็คืออย่าไปเข้าถึงข้อมูลใดๆของคนอื่นเลยหากเราไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำได้ ไปแจ้งต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบตรงนี้ให้เค้าดำเนินการต่อดีกว่า
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย