ลองจินตนาการดูซิว่า ถ้าสินค้าทุกอย่างบนโลกนี้ไม่มีแบรนด์ ไม่มียี่ห้อเลยจะเกิดอะไรขึ้น? ชีวิตคงวุ่นวายมากๆเลยใช่ไหมคะ เพราะเราจะไม่มีทางรู้เลยว่าอันไหนคือของดี อันไหนคือของไม่ดี แล้วทำให้การเลือกซื้อของแต่ละอย่างคงเป็นสิ่งที่ยากลำบากไม่น้อย
.
ด้วยเหตุนี้ นักการตลาด จึงได้คิดค้นสิ่งที่เรียกว่า “แบรนด์” ขึ้นเพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าว่า สินค้าของเราหาได้ง่าย มีคุณภาพ ไม่ต้องเสียเวลาเลือก แต่จริงๆแล้ว คนที่เลือกซื้อสินค้าที่มี Brand นั้น เค้าเลือกซื้อกันเพราะอะไรกันแน่ ?
.
จริงๆแล้ว ผู้ซื้อมีความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าที่ต้องการซื้อน้อยมากๆ ไม่รู้จะเริ่มเลือกซื้ออะไร? เลือกอย่างไร? โดยเฉพาะสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย การมีแบรนด์นั้นนั้น ส่งผลจิตวิทยาต่อผู้ซื้อ ทำให้รู้สึกว่า
“ความเสี่ยงลดลง” ทั้งความเสี่ยงด้านราคา ว่าจะไม่โดนหลอกฟันราคา ความเสี่ยงด้านสังคมว่ากลัวคนมองไม่ดีที่ไม่ซื้อของแบรนด์ และความเสี่ยงด้านคุณภาพ ซึ่งจิตวิทยาที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ การซื้อของที่มีแบรน สำหรับสินค้าที่ไม่ได้ซื้อบ่อยๆนั้น ทำให้รู้สึกว่าเราซื้อของได้เก่ง ได้ถูกต้อง เหมือนกับเป็นรางวัลให้ตัวเอง
.
เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้จักแบรนด์นั้นเลยก็ตาม เชื่อหรือไม่คะว่า แค่มีแบรนด์ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกถึงคุณภาพสินค้าที่ดีขึ้นได้แล้ว นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า สินค้าที่มีแบรนดังนั้น สามารถขายของได้แพงมากกว่าสินค้าธรรมดาถึง 20%เลยทีเดียว
.
ด้วยเหตุนี้ หลายๆแบรนด์จึงชอบออกสินค้าใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าเดิมเลยแต่ใช้ชื่อแบรนเดียวกัน หรือเรียกกันว่า Brand Extension ในบางครั้งการขยายแบรนด์ก็ประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม เช่น Virgin ซึ่งมีแบรนของสินค้าต่างๆหลายร้อยชนิดทั่วโลก แต่บางครั้งการขยายแบรนด์ก็ล้มเหลวได้เช่นกัน อย่างเช่น Colgate เคยขายอาหารแช่แข็งและไม่ประสบความสำเร็จ
.
ถ้ารู้ว่าการสร้างแบรนสำคัญขนาดนี้แล้ว สิ่งที่นักการตลาดควรทำ คือการกำหนด Brand Personalitie ให้ชัดเจน นั่นก็คือ อยากให้ลูกค้าของเรามองว่าเราเป็นแบรนด์ลักษณะไหน และสื่อสารออกไปให้เป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่นในแบรนของเรามากขึ้นค่ะ
.
ส่วนถ้าใครไม่อยากพลาดทุกโพสต์ของเพจ “สะกดจิตให้จงซื้อ : การตลาดกับศาสตร์จิตวิทยา” แอดมินแนะนำให้กด See First เอาไว้ด้วยนะคะ 📌
💛อีกช่องทางการติดตาม : https://bit.ly/buynowmarketingbd
📖ที่มา : Paul B., Chris F., Kelly P.,Essential of Marketing
โฆษณา