23 มิ.ย. 2020 เวลา 07:23 • ศิลปะ & ออกแบบ
ทำความเข้าใจ Brand และ Ci (ตอน 2)
“Product” ผลงานของ Brand และ Ci สิ่งสำคัญที่จะบอกให้ทุกคนรู้ว่าเราเป็นใคร
“Product” ส่วน “ผล” ที่โชว์ผลงานชิ้นโบว์แดง ของความสามารถของ “ราก” (Brand) และการเจริญโตที่มั่นคงของ “ลำต้น” (Ci)
คงไม่มีสิ่งไหน ที่จะเป็นตัวการันตีผลงาน และความสามารถของส่วนประกอบต่าง ๆ ของต้นไม้ได้ดี เท่ากับ “ผล” อีกแล้ว !
ซึ่ง “ผล” ที่ว่านี้ หากเปรียบกับส่วนประกอบในการทำธุรกิจ มันก็คือ “ผลิตภัณฑ์” (Product) นั่นเอง แต่รู้ใช่ไหมว่า นิยามความหมายของคำว่าผลิตภัณฑ์ (Product) ที่ดี ใช่ว่าจะเพียงแค่ขายได้อย่างเดียว แต่สำคัญตรงที่ว่า จะขายได้แล้ว ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ด้วยว่าเป็นผลิตภัณฑ์ (Product) ของธุรกิจไหน !?
กล่าวคือ เช่นการขายองุ่น ที่มีอยู่เต็มท้องตลาด การขายองุ่นได้ มิใช่เป็นการประสบความสำเร็จขั้นสูงสุดแต่อย่างใด แต่มันจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ ผู้บริโภคซื้อไปแล้ว สามารถจดจำ และเข้าใจได้ว่า องุ่นที่ได้มานั้น เป็นของร้านค้าเจ้าไหน
เหตุผลอะไร … ? ที่ทำให้ “ผลิตภัณฑ์” (Product) ต้องสร้างการจำจดให้กับผู้บริโภค
หากเปรียบการแข่งขันบนเกมธุรกิจ เป็นตลาดสดแห่งหนึ่ง ที่เราเป็นผู้ขาย “องุ่น” เจ้าเล็ก ๆ เจ้าหนึ่งในตลาด ที่เต็มไปด้วยคนขายองุ่นมากมายเต็มไปหมด นั่นหมายความว่า หากเราต้องการผลลัพธ์ขั้นแรกของการขายสินค้า นั่นก็คือการขายให้ได้ แต่ในเมื่อตลาดเต็มไปด้วยผู้ขายมากมาย ขั้นแรกเลยที่ต้องพยายามตีโจทย์ให้แตก และทำให้ได้ ก็คือ การ “ขายสิ่งที่เหมือนอย่างไร … ให้ดูแตกต่าง”
ซึ่งความแตกต่างที่ว่านี้นั่น จะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์ ความแปลกใหม่ และความโดดเด่นในที่สุด ทั้งที่ทั้งนั้น เหตุผลก็เพราะว่า ขั้นแรกจะเป็นการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ให้เข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ (Product) ของเรา แต่ส่วนที่สำคัญที่สุด ก็คือการ “รักษาลูกค้าเก่า” ให้จดจำเรา และกลับมาซื้อซ้ำ
ลูกค้าเก่า/ลูกค้าประจำ ปุ๋ยที่ดีที่สุดของ Product ที่สร้างรายได้อย่างยั่งยืน และมั่นคง
“การหาลูกค้ารายใหม่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญกับธุรกิจ แต่การที่จะรักษาลูกค้าเก่า และทำให้คนเหล่านั้นกลับมาซื้อซ้ำได้อีกครั้ง ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นไม่แพ้กัน”
เพราะสุดท้ายแล้ว ธุรกิจจะดำเนินไปต่อได้แบบมั่นคง และยั่งยืน อาจจะไม่เกี่ยวกับการที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้นแบบครั้งเดียวจบแต่อย่างใด หากแต่หมายถึงการมีรายได้ประจำเรื่อย ๆ ไม่ขาดสายนั้นเอง ซึ่ง “ลูกค้าเก่า” หรือ “ลูกค้าประจำ” ก็เป็นเหมือนกับน้ำในสายยาง ที่ฉีดหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้เจริญเติบโต สวยงาม เบ่งบานออกผลตามฤดูกาลนั่นเอง
ขาดคนเหล่านี้ไป ธุรกิจก็คงเหมือนต้นไม้ที่ไม่ได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่ตามมาก็คือ ส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ขาดการหล่อเลี้ยงจากสิ่งสำคัญที่เรียกว่า “เงินทุน” ไปนานวันบ่อยครั้ง ผลที่ตามมาแน่นอนที่สุดเลยก็คือ ประสิทธิภาพของการทำงานก็จะลดน้อย และด้อยลงไปอีกด้วย
“Top of Mine” คือกุญแจด่านสุดท้าย ที่ Product ต้องไปให้ถึง
จะมีประโยชน์อะไร หากลูกค้าเดิมเข้าไปในตลาด และเกิดความรู้สึกว่า ซื้อองุ่นเจ้าไหนก็ได้ เพราะมันเหมือนกันทั้งนั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว อัตราการขายได้ของผลิตภัณฑ์ (Product) จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าการ “ขาดทุน” ในเกมการดำเนินธุรกิจ โดยทางออกของปัญหาที่ว่านี้นั้น คือการจัดการทำให้ผลิตภัณฑ์ (Product) ที่เป็น “ผลองุ่น” ของธุรกิจเรา ขึ้นเป็นไปที่หนึ่งในใจของผู้บริโภค หรือ Top of Mine ของคนเหล่านั้นให้ได้
ความเหมือนอย่างหนึ่ง ของ เกมความรัก และเกมธุรกิจ คือการบรรลุเป้าหมายสูงสุดด้วยการเป็น “ที่หนึ่งในใจ”
ข้อดีของการทำสิ่งเหล่านี้สำเร็จก็คือ ไม่ว่าคุณจะอยู่ส่วนไหนของตลาด ลูกค้าหรือผู้บริโภคจะเป็นผู้เดินเข้าไปหาคุณเอง หากอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการที่ลูกค้าจะเป็นผู้เดินเอาเงินไปให้คุณถึงบ้าน มากกว่าการที่คุณไปไล่ขายสินค้าให้ลูกค้าแต่ละบ้าน ๆ นั่นเอง ซึ่งมันดีไม่น้อยเลยล่ะว่ามั้ย … !? เพราะหนึ่ง คุณไม่จำเป็นต้องวิ่งไปหาลูกค้าให้เหนื่อย หรือเปลืองแรงอีกต่อไป และสอง ลูกค้าเหล่านั้นมักจะเกิดการซื้อซ้ำอีกด้วย ถ้าเป็นในกรณีนี้ เชื่อได้เลยว่ามันจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้คุณมองเห็นภาพของความยั่งยืน ของธุรกิจอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลแล้วล่ะ
ในยุคที่มีการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้นั้น คุณสมบัติในการ “ปรับตัว” คือสิ่งที่จำเป็น และสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างสูงสุด ซึ่งรูปแบบการทำงานของการปรับตัว ก็ต้องผสานงานรวมกันทั้ง รากที่เป็น Brand ลำต้นที่เป็น CI และผลที่เป็น Product ให้ดำเนินต่อไปในทิศทางเดียวกันด้วย แต่ก็ต้องคำนึงอย่างสูงสุดด้วยว่า การปรับตัวเหล่านี้ จะสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อตัวธุรกิจ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ และตรงจุดมากขึ้นด้วย ปรับตัว แปลว่า ต้องทำให้ดีขึ้น … อย่ายอมให้เป็นการปรับตัวที่ทำคุณภาพต่ำลงล่ะ
ติดตามอ่านตอนแรกได้ที่ : ทำความเข้าใจ Brand และ Ci (ตอน 1)
ติดตามอ่านบทความสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ และ แบ่งปันทริคง่าย ๆ
ผ่านบทความ การสร้างแบรนด์ ธุรกิจ ดีไซน์ เพิ่มเติมได้ที่ :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา