Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่า
•
ติดตาม
23 มิ.ย. 2020 เวลา 14:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มาพบกับเทคนิคที่จะทำให้คุณฟันกำไรจากตลาดหุ้น
คุณถือหุ้น A อยู่ แต่ราคาไม่ค่อยขยับไปไหนสักเท่าไร
มีทางเลือกอะไรบ้างนะ กับเจ้าหุ้น A ตัวนี้
ซื้อ!!
ถือ!!
ขาย!!
ทางเลือกไหนจะให้ผลตอบแทนดีกว่ากัน?
มาดูเหตุการณ์สมมติกันต่อดีกว่า
คุณตัดสินใจซื้อหุ้น A เพราะเห็นแนวโน้มขาขึ้น แต่พอซื้อมาแล้วมันกลับไม่ขึ้นแบบที่หวังไว้
คุณเหลือบไปเห็นหุ้น B ที่ราคาพุ่งแล้วพุ่งอีก
คุณตัดสินใจขาย A ทิ้ง แล้วไปซื้อ B แทน
แต่พอคุณมาถือหุ้น B ราคากลับไม่ไปต่อซะอย่างนั้น
เหลือบกลับไปดูหุ้น A คุณพระ!! พุ่งทะยานฟ้าชนิดที่อะไรก็มาฉุดไม่อยู่
คุณเจ็บใจพอตัว แต่ “ครั้งนี้จะไม่ขาย B แล้วกลับไปซื้อ A หรอกนะ” เดี๋ยวจะเป็นแบบเดิมอีก
1
ผ่านไปสองวัน หุ้น B ที่คุณถืออยู่ราคาเริ่มตก สักพักก็ดิ่งเหว!!
คุณเริ่มปลอบใจตัวเอง “ไม่ขายก็ไม่ขาดทุน(วะ)”
ราคาหุ้น B ดิ่งนรกลงเรื่อย ๆ แต่คุณก็ยังไม่หวั่น
ขาดทุน 10% เหรอ “ชิล ๆ น่า”
ขาดทุน 20% เหรอ “เราสายถือยาวอยู่แล้ว”
ขาดทุน 30% เหรอ “ทำไมกินอะไรก็ไม่อร่อยเลย” แม้มื้อนี้จะทำโดยเชฟระดับโลกก็ตาม
ขาดทุน 40% เหรอ “ทำไมช่วงนี้นอนไม่ค่อยหลับ” ถึงหลับก็ฝันร้าย
หรือเพราะกังวลใจกับหุ้น B กันนะ เอาล่ะ ขายทิ้งดีกว่า!!
แต่พอดู ๆ ไป คุณมาไกลมาก และจะยอมขาดทุนหนักขนาดนี้ไม่ได้ กัดฟันรออีกสักหน่อย รอด้วยความหวังว่า ถ้าราคามันกลับไปขาดทุนสัก 20% คุณจะ cut losses ทันที!!
สุดท้ายตลาดเกรี้ยวกราดมาก หุ้น B ทำคุณขาดทุน 50% เข้าไปแล้ว!!
คุณเริ่มไม่เป็นอันทำอะไร จะนอน จะนั่ง จะเดิน ก็ไม่ได้แล้ว ทุกอย่างมันร้อนไปหมด แม้จะอยู่ในห้องแอร์
คุณตัดสินใจยอมมอบตัวที่ 50% นี่แหละ จัดการขาย B ทิ้งให้หมดพอร์ต!!
2
มาตอนนี้ราคาไหนก็ยอมขายหมด ไม่อยู่แล้ว ถอยแล้วจ้า
1
คุณได้ความโล่งใจกลับมาทั้งน้ำตา กินอิ่ม นอนหลับเหมือนเดิม
คุณตัดสินใจห่างจากตลาดหุ้นสักพัก เพื่อเติมพลังใจให้ตัวเอง
ยังไม่จบเท่านี้ครับ ถึงแม้จะห่างกันสักพัก แต่ก็อดเหลือบดูไม่ได้
ไหนขอแอบดูหุ้น B ตัววายร้ายหน่อย
ราคาตกไปกว่า 60% แล้ว!!
คุณโคตรจะดีใจ “เห็นไหมว่ามันลงมาอีก ดีนะที่ถอยออกมาก่อน” แล้วแช่งต่อไปอีกว่า ให้บริษัท B มันเจ๊งไปเลย
ถัดมาอีกสามสัปดาห์ คุณมีกำลังใจเต็มเปี่ยม ตัดสินใจกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นอีกครั้ง
เอาละ ก่อนอื่นต้องขอดูความล้มเหลวของหุ้น B เสร็จแล้วค่อยมาลุยอย่างอื่นกันต่อ
“เผลอ ๆ ล้มละลายไปแล้วมั้ง” คุณคิดในใจ
คุณถึงกับทรุดลงกับพื้น เมื่อหุ้น B กลับมายืนที่ราคาเท่ากับตอนที่คุณซื้อพอดีเป๊ะ!!
คุณขอเลี้ยงหมา เลี้ยงแมวต่ออีกสักพัก
ตัดสินใจเลื่อนการกลับสู่ตลาดหุ้นของตัวเองออกไปอีก
ตลาดมักจะทารุณพวกเราแบบนี้แหละครับ
"จริง ๆ แล้วเราใจดีมากนะ" นายตลาดไม่เคยกล่าวไว้
เราควรทำตัวแบบไหนกับตลาดผู้ใจร้าย?
แล้วอะไรคือทางเลือกที่ดีที่สุด?
เคยมีการศึกษาเรื่องนี้แล้วพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วหุ้นที่คุณขายไปจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นที่คุณซื้อเข้ามาใหม่!!
ยังจำเหตุการณ์สมมติของเราได้ไหมครับ
ถ้าเทียบเหตุการณ์สมมติของเราจะได้ว่า A ให้ผลตอบแทนสูงกว่า B โดยเฉลี่ย
โดยเฉลี่ยในที่นี้เกิดจากการศึกษานักลงทุนหลายคน เป็นเวลาหลายปี
บางคนทำผลงานได้ดี บางคนทำผลงานได้ไม่ดี
บางคนขาย A แล้วไปซื้อ B ได้ผลตอบแทนน้อยลง
บางคนขาย A แล้วไปซื้อ B ได้ผลตอบแทนมากขึ้น
บางช่วงเวลา นักลงทุนขาย A แล้วไปซื้อ B ก็ได้ผลตอบแทนมากขึ้นเช่นกัน
ผลตอบแทนที่มากขึ้น หรือต่ำลง ก็เป็นปริมาณที่ไม่เท่ากัน
แต่ทั้งหมดทั้งมวลโดยเฉลี่ยแล้ว การขายหุ้นเดิมแล้วไปซื้อหุ้นใหม่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าถือหุ้นเดิมไว้ครับ
ลองมองข้ามการวิเคราะห์เทคนิค การมองพื้นฐาน การคาดการณ์อนาคต อะไรพวกนี้ไปก่อน
แล้วคิดแค่ว่า เมื่อคุณมีหุ้น A อยู่ในพอร์ต เราทำอะไรกับมันได้บ้าง?
ซื้อ ขาย ถือ เหรอ? แล้วอะไรให้ผลตอบแทนมากกว่ากัน?
ขอย้ำไว้เลยอีกครั้งว่า คำตอบก็คือ ถือ!!
เห็นการ์ตูนน่ารัก ๆ อย่างนี้แล้ว อย่าทำเป็นเล่นไปครับ เรื่องแบบนี้มีเป็นงานวิจัยชื่อว่า “Trading Is Hazardous to Your Wealth” กันเลยทีเดียว
หากจะแปลว่า “ยิ่งเทรดยิ่งจน” ก็คงไม่ผิดความหมายนัก
ท้ายที่สุด คุณอยากได้กำไรจากตลาดหุ้นไหมครับ?
ลองลดจำนวนครั้งการเทรดให้น้อยลง แค่นี้ก็อาจจะได้กำไรแล้ว
**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน**
อ้างอิง
- หนังสือ “Thinking, Fast and Slow”, Daniel Kahneman
หุ้นขึ้น!! คุณใจร้อนรีบขาย
แต่พอหุ้นลง!! คุณใจเย็นเป็นน้ำแข็ง ไม่รีบขาย
ทำไมถึงเป็นแบบนี้ซะได้
ติดตามคำตอบได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5eef285d031a4e0cb262e591#
2
11 บันทึก
26
8
21
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อย่าถามหาเหตุผลในตลาดหุ้น!!
11
26
8
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย