Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
25 มิ.ย. 2020 เวลา 09:00 • สุขภาพ
หัวใจเต้นช้า( bradycardia) เกิดจากอะไร ?
https://youtu.be/hpmWZXUBYnI
หัวใจเต้นช้า( bradycardia) หัวใจเต้นช้า คือภาวะที่หัวใจมีอัตราการเต้นที่น้อยกว่า 60ครั้งต่อนาที ซึ่งหัวใจที่เต้นช้านี้ อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ ดังนั้นการที่จะพิจารณา อัตราการเต้นหัวใจ ที่ช้ากว่า60ครั้งต่อนาที ต้องรับการรักษาหรือไม่ ยังต้องขึ้นกับปัจจัยอื่นอีก ซึ่งผมได้เล่าในบทความที่ผ่านมาแล้ว
สาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นช้า สาเหตุแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม คือ สาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ แต่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การใช้ยาลดความดันที่มีผลกดการเต้นของหัวใจ, ผู้ป่วยที่มี ไทรอยด์ทำงานลดลง, ความผิดปกติของระดับสารเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับโปแตสเซียมต่ำ ดังนั้นในกลุ่มนี้ ภาวะหัวใจเต้นช้าส่วนใหญ่จะดีขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขที่ต้นเหตุนั้นๆ
หัวใจเต้นช้าที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหัวใจ ในที่นี่ หมายถึง ระบบการนำไฟฟ้าในห้องหัวใจมีความผิดปกติ ซึ่งส่วนมากพบในกลุ่ม ผู้สูงอายุ โดยอาจจะเกิดตั้งแต่ระดับ 1. ตัวกำเนิดไฟฟ้า-SA node ป่วย (หมายเลข1ในภาพบน) โดยSA node แทนที่จะปล่อย กระแสไฟฟ้า 80ครั้งต่อนาที กลับส่งลงมาแค่40ครั่งต่อนาที หรือ แพทย์ เรียกกันว่า sick sinus syndrome 2. สถานีระหว่างทาง-AV node ไม่ยอมให้ ไฟฟ้าที่มาจาก SA node ผ่านไปได้ง่ายๆ (หมายเลข2ในภาพบน) กระแสไฟฟ้าจาก SA node ที่ถูกสร้างตามปกติ คือ 80ครั้ง/นาที กลับผ่านลงไปหัวใจห้องล่างได้บางจังหวะ เพราะไฟฟ้าบางส่วนไม่สามารถผ่านเนื้อเยื่อบริเวณ AV node ไปได้ หรือ เรียกว่า AV block
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ Pacemaker ในผู้ป่วย ที่มีภาวะ หัวใจเต้นช้า อันเกิดจากความผิดปกติของเนื่อเยื่อนำกระแสไฟฟ้าเหล่านี้ จนทำให้ ผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจ ช้ามาก เช่น ช้ากว่า40ครั้งต่อนาที หรือ มีอาการผิดปกติอันเกิดจากหัวใจเต้นช้านี้ เช่น วิงเวัยน, หน้ามืด, เป็นลม ในจังหวะที่หัวใจเต้นช้า การเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจด้วยการฝัง เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบถาวร (permanent pacemaker) จึงมีประโยชน์ โดยจะประกอบไปด้วย ตัวเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (หมายเลข1ในภาพบน)ซึ่งจะฝังใต้ผิวหนังบริเวณต่ำกว่า กระดูกไหปลาร้า และ สายนำไฟฟ้า2สาย ซึ่งจะต่อจากตัวเครื่องนี้ ผ่านหลอดเลือดดำที่แขน (subclavian vein)โดยมีปลายสายไปยังผนังห้องหัวใจของห้องบนขวา และห้องล่างขวา
นพ. วิโรจน์ ตันติโกสุม อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ชีวา ซีเนียร์ แคร์ บางใหญ่ นนทบุรี
ศูนย์ดูแลผู้ป่วย, ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, senior care, ชีวา ซีเนียร์ แคร์, chewa, นนทบุรี, กายภาพบำบัด, ชีวา
4 บันทึก
1
3
4
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย