Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
25 มิ.ย. 2020 เวลา 23:00 • สุขภาพ
หัวใจเต้นช้าแบบไหนที่อันตราย ?
https://youtu.be/PVQEILmG4-E
อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ในคนปกติ ก็จะมีอัตราที่แปรเปลี่ยนไปตามการกระตุ้นของระบบ ประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system)อยู่แล้ว เช่น เต้นเร็วขึ้นเวลา ตกใจ, ดีใจ, อดนอน หรือ มีไข้ , เต้นช้าลงเวลานอนหลับ หรือในบางครั้ง ผู้ป่วย ที่ได้รับ ยาลดความดันโลหิต ยาเหล่านี้บางตัวก็ทำให้หัวใจเต้นช้าได้ แล้วหัวใจเต้นช้าแค่ไหน จะอันตราย และควรได้รับการรักษา?
หัวใจบีบตัวแต่ละครั้งใช้อะไรบ้าง? ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก การเต้นของหัวใจแต่ละครั้งก่อนนะครับ การเต้นของหัวใจแต่ละครั้งก็คือ การบีบตัวของหัวใจ1ครั้ง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัย ไฟฟ้าในการกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจในแต่ละครั้ง โดยกระแสไฟฟ้านี้เริ่ม กำเนิดตรงที่ เนื้อเยื่อพิเศษ ในหัวใจ ห้องบนขวา (right atrium) ชื่อว่า SA node ซึ่งจะสร้างกระแสไฟฟ้า (หมายเลข1ในรูปบน) แล้วปล่อยลงมาตามทางเนื้อเยื่อพิเศษที่นำไฟฟ้า ลงมายังสถานีที่อยู่ระหว่าง หัวใจห้องบนกับห้องล่าง เรียกว่า AV node (หมายเลข2ในรูปบน) ก่อนที่จะส่งต่อลงไปยังหัวใจห้องล่าง (left and right bunble branch) แล้วแยกออกเป็นแขนงด้าน ซ้ายและขวา (หมายเลข3ในรูปบน) เมื่อกระแสไฟฟ้านี้เดินทางมาถึงจุดหมายก็จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว
กระแสไฟฟ้านี้ เราสามารถรวจจับได้ ด้วย เครื่องตรวจไฟฟ้าหัวใจ ที่เราคุ้นเคยกันคือ การตรวจECG (electrocardiogram)
หัวใจปกติเต้นกี่ครั้งต่อนาที? ในภาวะปกติ หมายถึงในยามที่ร่างกายไม่ได้ถูกกระตุ้น เช่น ตกใจ ดีใจ ออกกำลัง อัตราการเต้นหัวใจ จะอยู่ในช่วง 60-100ครั้ง/นาที ถ้าช้ากว่า60ครั้ง/นาที แพทย์ ก็เรียกว่า หัวใจเต้นช้า(bradycardia) หรือเต้นเร็วมากกว่า100ครั้งต่อนาที ก็เรียกว่า หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) แต่มิได้หมายความว่า ถ้าเรา ไม่ได้มีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงนี้แล้วจะถือว่าผิดปกติ การที่แพทย์ จะบอกว่า หัวใจเต้นช้าแบบไหน ที่อันตรายนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบ
หัวใจเต้นช้า แบบไหนจึงจะอันตราย? โดยทั่วไป ภาวะหัวใจที่เต้นช้า นั้น อาจจะมิได้มีความผิดปกติที่หัวใจเอง แต่มักจะมีปัจจัยภายนอกบางอย่างที่กดให้หัวใจเต้นช้า เช่น ยาลดความดันโลหิต, ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง, หรือ นักกีฬาที่ฝึกซ้อมประจำ สำหรับภาวะหัวใจเต้นช้า ที่อาจเป็นอันตรายนั้น มักพบใน ผู้สูงอายุ โดยมีอัตราการเต้น ที่ต่ำมาก เช่น น้อยกว่า40ครั้งต่อนาที หรือ มีอาการผิดปกติ ที่เกิดจาก ภาวะหัวใจเต้นช้า เช่น หน้ามืด, วิงเวียน, หมดสติ หรือ แน่นหน้าอก
นพ. วิโรจน์ ตันติโกสุม อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ชีวา ซีเนียร์ แคร์ บางใหญ่ นนทบุรี
ศูนย์ดูแลผู้ป่วย, ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, senior care, ชีวา ซีเนียร์ แคร์, chewa, นนทบุรี, กายภาพบำบัด, ชีวา
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย