26 มิ.ย. 2020 เวลา 09:00 • สุขภาพ
รู้จัก AF โรคใจสั่นที่ใกล้ตัว
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ใจสั่นแบบ AF (atrial fibrillation) เป็น ภาวะที่ หัวใจมีการเต้นที่ผิด จังหวะ แบบไม่สม่ำเสมอเลย(total irregularity) พบมากในกลุ่ม ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว, โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง นอกจาก ภาวะหัวใจสั่นแบบ AF นี้จะทำให้ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วย มีอาการ ใจสั่นแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยมีอาการ วิงเวียน, หน้ามืด, แน่นหน้าอก ขณะใจสั่นด้วย
โรคใจสั่น แบบAF คืออะไร? ลักษณะ พิเศษของ ใจสั่นแบบ AF นี้ คือ จังหวะการเต้นของหัวใจใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะไม่สม่ำเสมอเลย โดยที่อัตราการเต้นอาจจะ ช้า หรือ เร็วก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 100-130ครั้ง/นาที
ในภาพบน หมายเลข1 แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจที่ปกติ จะเห็นว่า ชีพจรที่เกิดขึ้นจะ มีความสม่ำเสมอ แต่ใน ภาพบน หมายเลข2 ใจสั่นแบบ AF แสดงให้เห็นถึงจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมเลย(total irregularity) โดยที่ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจจะมีใจสั่น AF เกิดขึ้น เป็นชั่วคราว แต่เป็นไม่นานกว่า1สัปดาห์ แล้วหายเองได้ (Paroxysmal AF) ในผู้ป่วยบางคน อาจจะเกิด หัวใจสั่นแบบ AF ต่อเนื่องมากกว่า1ปี โดยที่ไม่มีจังหวะที่หัวใจกลับมาเต้นปกติเลยใน1ปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ก็จะเป็น หัวใจสั่น AF แบบถาวร(Permanent AF)โอกาสที่หัวใจจะกลับมาเต้นเป็นปกติเองจึงน้อยมาก
เราเป็นใจสั่นแบบ AF หรือไม่? ในผู้ป่วยที่มี อาการใจสั่น แบบAF ที่เป็นแบบชั่วคราว จะมีความยากในการวินิจฉัยโรค ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า เวลาที่ ผู้ป่วย ไปพบแพทย์ อาจจะเป็นช่วงที่ผู้ป่วย ยังไม่ได้ เกิด ภาวะใจสั่น ทำให้แพทย์ตรวจไม่พบ ความผิดปกติ ไม่ว่า จะเป็น การตรวจร่างกาย หรือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ(ECG) อย่างไรก็ตามแพทย์ อาจจะใช้การตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ ติดตามตัว (Holter monitoring)
แต่ก็ยังมีวิธี เบื้องต้นที่ ผู้ป่วยสามารถตรวจ หรือ สังเกตุ ตัวเองที่บ้าน ในยามที่เกืดภาวะ หัวใจ สั่นขึ้นมา โดยการ คลำชีพจร ตัวเอง โดยตำแหน่ง ที่คลำได้ง่าย ก็คือ ข้อมือ บริเวณที่ใกล้กับ โคนนิ้วโป้ง โดย การตรวจหา อัตราการเต้นต่อนาที และ จังหวะหรือความสม่ำเสมอ ในการเต้นของชีพจร ซึ่งข้อมูลจากการคลำชีพจรในเวลาเดียวกับที่ ผู้ป่วยมีอาการ ผิดปกตินั้น จะเป็นข้อมูลที่สำคัญให้กับแพทย์
หัวใจบีบตัว แต่ละครั้ง ต้องใช้อะไรบ้าง? การบีบตัวของหัวใจแต่ละครั้ง ก็คือ ชีพจรแต่ละครั้งที่เราคลำได้ โดยในภาวะปกติ การเต้นของหัวใจ หรือ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจแต่ละครั้ง เกิดจาก กระแสไฟฟ้า ที่ถูกก่อกำเนิดมาจาก เนื้อเยื่อพิเศษในห้องหัวใจบนขวา (right atrium) เรียกว่า Sinus node (หมายเลข1 ในภาพบน) กระแสไฟฟ้า จะส่งผ่าน หัวใจห้องบนทั้งซ้ายและขวา ทำให้หัวใจห้องบนบีบตัว (atrial systole) ซึ่งตรงกับจังหวะที่ หัวใจห้องล่างคลายตัว(ventricular diastole) หลังจากนั้น กระแสไฟฟ้า ก็จะมาชะลอที่ สถานีระหว่างทาง เรียกว่า AV node (หมายเลข3ในภาพบน)ก่อนที่จะ ผ่านลงมา กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจในผนังหัวใจห้องล่าง จนเกิดการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง (ventricular systole)
หัวใจสั่น แบบ AF เกิดจากอะไร? โดยปกติการเต้นของหัวใจแต่ละครั้ง ใช้กระแสไฟฟ้าทีมีจุุดกำเนิดมาจาก SA node แต่ในผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของ เนื้อเยื่อใน หัวใจห้องบน จน หัวใจเกิดกระบวนการในการสร้าง กระแสไฟฟ้าหมุนวนขนาดเล็ก มากมายในห้องหัวใจบน จนก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า กระตุ้นมายัง หัวใจห้องบน หรือ สถานี AV node มากถึง 300ครั้ง/นาที (หมายเลข1 ในภาพบน) จำนวน กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างมากมายที่ผ่านมายัง สถานีAV node (หมายเลข2 ในภาพบน) นี้ ก็จะถูก สถานี AV node ป้องกัน และ จะไม่ยอมปล่อยให้ กระแสไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นมานี้ ผ่านไปได้หมดทั้ง 300ครั้ง/นาที แต่จะปล่อยให้ผ่านไป เพียงบางส่วน ทำให้ กระแสไฟฟ้าที่ลงมาห้องล่าง ถูกปล่อยลงมาแบบ ไม่แน่นอน ผู้ป่วยจึงมีจังหวะ การเต้นของหัวใจ ที่เป็นแบบ ไม่สม่ำเสมอเลย(total irregularity)
ที่มาของข้อมูลบางส่วน atrial fibrillation
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา ซีเนียร์ แคร์
บางใหญ่ นนทบุรี
โฆษณา