Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
26 มิ.ย. 2020 เวลา 23:00 • สุขภาพ
ทำไมหัวใจเต้นผิดจังหวะ AF ทำให้เกิดอัมพาต ?
https://youtu.be/4VkdIziLt4Q
โรค หัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบAF (atrial fibrillation) เป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ โรคนี้ เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจห้องบน ดังที่เคย เล่าไว้ในบทความที่ผ่านมา ความสำคัญของโรคนี้ ต่างจาก โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดอื่นตรงที่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ AF สามารถก่อให้เกิด ภาวะ สมองขาดเลือด หรือ อัมพาตได้ โดย เฉพาะ กลุ่ม ผู้สูงอายู, ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอื่นร่วมด้วย เช่น โรคลิ้นหัวใจ หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (cardiomyopathy)
ทำไม หัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบ AF จึงทำให้เกิด อัมพาต? โดยทั่วไป อัมพาต สามารถเกิดได้ทั้งจากภาวะ สมองขาดเลือด หรือ เลือดออกในสมองก็ได้ แต่ อัมพาต ที่เกิดจาก หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ AF นั้น ส่วนใหญ่ เกิดจาก สมองขาดเลือด อันเกิดจาก การอุดตันของ ลิ่มเลือด อย่างเฉียบพลัน จนทำให้เกิดอาการของ อัมพาต เช่น แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยว โดย ลิ่มเลือด นี้ ส่วนใหญ๋มาจาก หัวใจ
ทำไม การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบAF จึงก่อให้เกิดลิ่มเลือดในห้องหัวใจ? จังหวะการเต้นของหัวใจที่ปกติจะเป็นการเต้นที่เกิดจากการบีบตัวที่ประสานกันระหว่างหัวใจ ห้องบน กับ ห้องล่าง กล่าวคือ เวลาที่หัวใจห้องบน บีบตัว1ครั้ง (atrial systole) จะเป็นจังหวะเดียวกับที่ หัวใจห้องล่าง คลายตัว (ventricular diastole) ครั้ง พร้อมกับลิ้นหัวใจเปิดให้เลือดไหลลงมายังห้องล่าง
แต่ในหัวใจ ที่มีจังหวะการเต้น แบบ AF กล่าวคือ หัวใจห้องบน จะเต้นรัวเร็วมาก อาจจะเร็วถึง300 ครั้ง/นาที (ปกติหัวใจคนเราในขณะพัก จะเต้น80-100ครั้ง/นาที) การบีบตัวของหัวใจห้องบนนี้จะไม่สัมพันธกับจังหวะการคลายตัวของหัวใจห้องล่าง หรือการเปิดของลิ้นหัวใจเลย ทำให้เลือดไม่สามารถผ่านลงไปห้องล่างได้อย่างสะดวก จนเกิดการคั่งค้างของเลือดในห้องหัวใจบน การคั่งค้างนี้ ทำให้เม็ดเลือด สามารถเกาะกันเป็นกลุ่ม จนกลายเป็น ลิ่มเลือดได้ในที่สุด
อัมพาตป้องกันได้? การเกิด อัมพาต ในผู้ป่วย หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ AF นี้ แต่ละคน ก็มีความเสี่ยง ที่จะเกิด อัมพาต ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ผู้ป่วยต่อไปนี้จะถือว่ามีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจร่วมด้วย เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง, โรคลิ้นหัวใจ, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, เพศหญิง, ผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะAF แบบเรื้อรัง ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ การใช้ยาป้องกันอัมพาต คือ ยาละลายลิ่มเลือด Warfarin จึงมีความจำเป็น
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา ซีเนียร์ แคร์
บางใหญ่ นนทบุรี
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย