Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
27 มิ.ย. 2020 เวลา 09:00 • สุขภาพ
โรคหัวใจสั่นแบบ AF รักษาได้จริง ?
https://youtu.be/NV4xHllOJSg
หัวใจสั่นแบบAF (atrial fibrillation) เป็นเรื่องของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่ไม่สม่ำเสมอเลย (total irregularity) โดยผู้ป่วยอาจจะ มีอัตราการเต้นที่ช้าหรือ เร็ว ก็ได้ โรคนี้ถือว่า เป็น โรคที่สำคัญโรคหนึ่งของ ผู้สูงอายุ ดังนั้น ญาติ หรือ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ ดูแลผู้สูงอายุ ต้องมีความเข้าใจอย่างดี
ความสำคัญของโรคนี้ มิใช่เป็นเพียง สร้าง อาการใจสั่น หน้ามืด วิงเวียน ขณะเกิด AF แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ โรคนี้ถือเป็นต้นเหตุที่สำคัญของ อัมพาต ทั้งในผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่มี โรคหัวใจอื่นๆร่วมด้วย
สาเหตุของโรคใจสั่น AF? โรคหัวใจที่เป็นสาเหตุหลัก ของ AF ก็คือ โรค ลิ้นหัวใจ โดยเฉพาะ ลิ้นหัวใจตีบ ทางการแพทย์ เรียก AF ที่เกิดจาก โรคลิ้นหัวใจ นี้ว่า valvular AF ส่วน AF ที่ไม่ได้เกิดจาก โรคลิ้นหัวใจ จะถูกเรียกอีกกลุ่มหนึ่งว่า Nonvalvular AF ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ AF ที่พบในโรคหัวใจอื่นๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวอันเนื่องมาจาก โรคความดันสูง, โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง , โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรคที่ไม่เกี่ยวกับหัวใจเลย
สาเหตุของAF ที่ไม่เกี่ยวกับโรคหัวใจคือ? AF สามารถพบได้ในคนที่มี หัวใจปกติ โดยที่สาเหตุส่วนใหญ่อาจจะมาจาก โรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพองในคนที่สูบบุหรี่, โรคหอบหืด หรือ มะเร็งปอด นอกจากนี้ พบได้บ่อย ใน ผู้ป่วยที่มีการทำงานของ ต่อมไทรอยด์มากเกิน ที่เรียกว่า ไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis), ดื่มเหล้าจัด, สารเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ และ อีกกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่ แพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุ หรือโรคร่วมที่ทำให้เกิด AFได้
ใจสั่นAFมีกี่ชนิด? ถึงแม้ว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจสั่นแบบAF แต่ละคน จะมีลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ อาการขณะที่เกิด AF เหมือนกันหมด แต่ความต่างของ ผู้ป่วยแต่ละคน อยู่ที่ ระยะเวลาของการเกิดอาการใจสั่นแต่ละครั้ง กล่าวคือ ตั้งแต่เริ่มเกิดใจสั่นจนกระทั่ง หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติ ในผู้ป่วยที่เริ่มเกิดโรคใหม่ๆ จะเป็น AF ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งที่ไม่นาน ส่วนใหญ่จะ นานประมาณ 24-48 ชั่วโมง แต่ไม่เป็นนานกว่า1สัปดาห์ แล้วใจสั่นนี้จะหายไปเอง เรียกว่า เป็นแบบ ชั่วคราว (paroxysmal AF)
รู้จัก AF แบบกึ่งถาวร ในรายที่เป็นมากขึ้น อาจจะพบว่า เวลาที่เกิดใจสั่นแต่ละครั้ง เป็นนานขึ้น นานมากกว่า1สัปดาห์ แต่ยังไม่ถึง1ปี กลุ่มนี้ หัวใจมักจะไม่กลับคืนมาเต้นแบบจังหวะปกติด้วยตัวเอง จำเป็นต้องอาศัยการรักษา อาจจะเป็นการใช้ยาฉีดทางเส้นเลือด หรือ การช๊อคหัวใจด้วยไฟฟ้า(electrical cardioversion) เรียกว่า เป็นกลุ่ม กึ่งถาวร (persistent AF)
หัวใจสั่น AF แบบ ถาวร ผู้ป่วยที่มีโรค AF มาเป็นเวลานาน มักจะกลายเป็น กลุ่ม หัวใจสั่นAF แบบถาวร(permanent AF) ซึ่งหมายถึง ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่นที่ต่อเนื่องนาน มากกว่า1ปี และโอกาสที่หัวใจจะกลับมาเต้นแบบปกติ ก็จะยากขึ้น การรักษาในกลุ่มนี้จึงเน้นไปที่การควบคุมอัตราการเต้นของ จังหวะที่เต้นแบบAF ไม่ให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป
3หลักการรักษา AF การรักษาที่ดีที่สุดก็คือการ กู้คืนการเต้นที่ผิดปกติ ให้กลับมาเต้นแบบปกติ (Rhythm control) หมายเลข1ในภาพบน แต่ หลายครั้งที่ แพทย์ ไม่สามารถ แก้ไขได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ ต้นเหตุที่ทำให้เกิดAF, ระยะเวลาที่เป็นมานาน ที่ทำให้ยากที่จะกู้กลับคืนได้ เมื่อไม่สามารถกู้กลับคืนได้ ขั้นต่อไปก็คือ การควบคุม อัตราการเต้นของAF (rate control) ให้หัวใจเต้นอยู่ในอัตราที่เหมาะสม หมายเลข2ในภาพบน ด้วยการใช้ยารับประทานระยะยาว
การป้องกันอัมพาตจากAF ผู้ป่วยที่ยังคงมี หัวใจเต้นผิดปกติแบบAF อยู่ ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ย่อมมี ความเสี่ยงในอันที่จะเกิดอัมพาต จากการอุดดันของหลอดเลือดในสมอง หมายเลข1ในภาพบน โดยลิ่มเลือดที่ก่อตัวขึ้นในห้องหัวใจ จากการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจห้องบน (atrium)โดยยาที่ใช้เป็นหลักก็คือ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ได้แก่ ยา วาร์ฟาริน(warfarin)
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
ที่มาของข้อมูลบางส่วน:
https://pmj.bmj.com/content/79/928/67
แนะนำ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา ซีเนียร์ แคร์
บางใหญ่ นนทบุรี
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย