28 มิ.ย. 2020 เวลา 11:36 • ประวัติศาสตร์
☘🌷🌵 จากยางไม้ในป่าอะเมซอน สู่ตัวยาสำคัญ ทางด้านวิสัญญีวิทยาในห้องผ่าตัด และ ICU 🍀💕🌧
วันนี้นึกถึงเรื่องราวของสมุนไพรในตำนาน ที่นำมาสู่ตัวยาหลักๆ ในห้องผ่าตัด รวมถึงIcU คือ ยากลุ่ม ' หย่อนกล้ามเนื้อ '
ชื่อกลุ่มยา ฟังดูอาจจะประหลาดๆไปนิด แต่ถือว่าสำคัญมากๆนะคะ สำหรับการผ่าตัดที่ผ่านมาทุกยุคสมัย
งั้นอีกเดี๋ยว จะมีช่วงอธิบายนะคะ ว่ายากลุ่มนี้ เหตุใดถึงสำคัญเอามากๆทางวิสัญญี 💊⏳💉
เริ่มต้นมาจาก ยางไม้ชื่อ คิวราเร่ จากป่าใหญ่ของภูมิภาคอเมริกาใต้ ดิชั้นจะค่อยๆเล่านะคะ แบบว่าความรู้ทางเภสัชฯบวก ประวัติศาสตร์ ดิชั้นก็ไม่ค่อยสันทัดเท่าไร สมัย นศพ. เกือบตกแน่ะ แหะๆ 🥰🍀💕
' curare ' หรือ ยางไม้พิษ ที่จริงแล้ว ใช้กันมานานนับหลายศตวรรษ สำหรับกลุ่มพรานพื้นเมืองอเมริกันใต้ แต่ถ้าจะนับถึงการบันทึกครั้งแรก ก็ต้องย้อนไปนู่นเลยค่ะ
ปีคศ.๑๕๙๔ โดย ' เซอร์ วอลเตอร์ ไรห์ ' บันทึกถึงการใช้ธนูอาบพิษ ที่เรียกกันว่า
'คิวราเร่' ซึ่งคือ ยางไม้ได้จากต้นไม้ในป่าอะเมซอน มักใช้ทาหัวธนูเพื่อล่าสัตว์ และเมื่อสัตว์ป่าโดนอาวุธที่ว่า ปักเข้าไปในลำตัว ใช้เวลาเพียงไม่นานก็จะล้มลง และถ้าพิษรุนแรงมาก ก็อาจจะถึงแก่ชีวิต
หลังจากนั้น ก็ไม่มีหลักฐานการบันทึกเพิ่มเติมอย่างไร ด้วยเหตุสงครามในภูมิภาคยุโรป จนผ่านไปถึงช่วง ต้นศตวรรษที่๑๘
จึงมี นายแพทย์นักสำรวจ ' เอ็ดเวิร์ด แบนครอฟท์ ' นำยางไม้พิษชนิดนี้จากป่าอเมริกาใต้ กลับมายังยุโรป
และลงมือทดลองในสัตว์ ถึงการออกฤทธิ์ของยางไม้ ร่วมกับ 'เซอร์ เบนจามิน โบรดี้ ' เพื่อที่จะค้นคว้าถึงการออกฤทธิ์ ที่ทำให้สัตว์ใหญ่&น้อยถึงแก่ชีวิต
Cr. pinterest
จนเกิดการค้นพบครั้งสำคัญ คือ หากฉีดพิษของคิวราเร่เข้าในสัตว์ทดลอง ร่วมใช้เครื่องมือปั๊มลมเข้าสู่ปอด หรือ ให้ช่วยหายใจแก่สัตว์ตัวนั้น
ผลคือ สัตว์กลับรอดชีวิตมาได้สบายๆ แม้ต่อให้มีขนาดตัวเล็กๆก็ตาม เมื่อเทียบกับปริมาณของพิษที่ฉีดไป
( อันนี้ขอเสริมด้วยความเห็นส่วนตัว ว่าท่านทั้ง๒นี้ ช่างล้ำมากๆในการครีเอท เพื่อวิเคราะห์วิธีออกฤทธิ์ของสารพิษ เพราะนั่นคือ การค้นคว้าเมื่อกว่า๒๐๐ ปีที่แล้ว !!! )
ซึ่งหมายความว่า ถึงรับพิษเข้าในร่างกายขนาดสูง แต่หากยังมีการช่วยหายใจด้วยเครื่องมือเฉพาะ สัตว์ทดลองย่อมรอดชีวิตค่อนข้างแน่นอน
หลังจากนั้นคิวราเร่ ก็จัดเป็นยาดาวเด่น ในการค้นคว้าตลอดภาคพื้นยุโรป รวมทั้งแพร่หลายถึงการทดลองทางฝั่งอเมริกาเช่นกัน
จนกระทั่ง ที่สุดแล้วจึงแยกตัวยาที่มีฤทธิ์เฉพาะ จากยางไม้ชนิดนี้เพื่อเป็นสารตั้งต้นที่มีฤทธิ์ต้านต่อการหดตัว หรือ การทำงานของกล้ามเนื้อลาย
อิอิ ถึงตอนนี้ เดาว่าน่าจะลืมหมดแระสิคะ วิชาชีวะฯอ่ะ ใช่ป่าว..?!? ๕๕๕ 😊⏳
กล้ามเนื้อลาย นั้นคือ ... กล้ามเนื้อที่บังคับได้ตามใจต้องการไงคะ อิอิ แปลง่ายๆ งี้แหล่ะ เพื่อนๆต้องอดทนกับดิชั้นหน่อยอ่ะค่ะ 🥰💊
1
แต่จะมีกล้ามเนื้อลายอยู่ชนิด๑ ที่ไม่ต้องใช้ใจบังคับ ก็ต้องหดตัวตามจังหวะการหายใจไปตลอดชีวิตอยู่แล้ว คือ กระบังลม
ที่หดและคลายตัว เพื่อควบคุมการหายใจ อยู่ข้างใต้ปอดทั้ง ๒ ข้างน่ะค่ะ
ถึงตอนนี้ อาจจะมีคำถามด้วยความสงสัย ทำไมต้องมียา เพื่อที่ต้านการทำงานของกล้ามเนื้อ ด้วยล่ะ ?!?
เริ่มด้วยแบบนี้ก่อนค่ะ ยารุ่นแรกๆ ที่สกัดจากคิวราเร่ ได้เริ่มใช้ในต้นศตวรรษที่๑๘ โดย จิตแพทย์ด้านระบบประสาท เพื่อใช้ร่วมกับการรักษา ด้วยการช้อคไฟฟ้าแก่ผู้ป่วยจิตเวช
ซึ่งการช้อคไฟฟ้า คือ วิธีการกระตุ้นคลื่นสมอง จึงทำให้ผู้ป่วยชักเกร็งอย่างรุนแรง จนบางครั้ง ถึงขั้นกระดูกแขนขาหักกันเลยทีเดียวค่ะ
พอทดลองฉีดตัวยากลุ่มนี้ ร่วมกับวิสัญญีแพทย์ ดูแลรักษาโดยการใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจให้ผู้ป่วย
ผลก็คือ ดีเลิศประเสริฐศรี สุดๆไปเลยค่ะ
ตานี้ก็เลยมาถึงมือวิสัญญีแพทย์ เริ่มนำมาใช้ร่วมกับยาดมสลบ เพื่อเสริมฤทธิ์กัน
เพื่อ ลดภาวะกล้ามเนื้อหดตัวขณะผ่าตัด คืองี้ค่ะ บางทีนั้น แม้ว่าผู้ป่วยสลบอยู่ก็จริง แต่หากไม่ใช้ยากลุ่มนี้ ก็อาจยังมีการขยับตัวได้ ในช่วงขณะที่ยังสลบ
ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายได้ค่ะ ถ้าจู่ๆกล้ามเนื้อเกิดหด รึว่าเกร็งตัวในพอดีกับช่วงการผ่าตัดจุดสำคัญขณะนั้น เช่น ผ่าตัดเส้นเลือดแดงในอวัยวะสำคัญ อย่างนี้น่ะค่ะ
วิสัญญีแพทย์จะต้องคุมให้ผู้ป่วยแน่นิ่งอย่างที่สุด เพื่อความปลอดภัยตลอดการผ่าตัด 🌈🧭💗
Cr. pinterest
แล้วผลที่ได้จากการใช้ตัวยานี้ คือ การผ่าตัดราบรื่นเป็นที่ประทับใจสุดๆเข้าไปอีกค่ะ แต่ที่สำคัญ จะต้องมีอุปกรณ์ช่วยหายใจแก่ผู้ป่วยร่วมด้วยเสมอค่ะ ม่ายงั้น แฮ่ๆ
การผ่าตัดสำเร็จอย่างสวยงาม แต่คนไข้ไม่ได้หายใจ อย่างงั้นมันก็แย่น่ะสิคะ 😅💖⏳
นี่ละค่ะ เริ่มต้นจาก ยางไม้พิษเพื่อล่าสัตว์ในป่าอะเมซอน ร่วมกับใช้เวลาค้นคว้า มาตลอด ๒ทศวรรษ
จึงได้พัฒนามาเป็นกลุ่มยาหย่อนกล้ามเนื้อ ( muscle relaxants ) ที่มีให้ใช้หลากหลายชนิดในปัจจุบัน
ซึ่งจริงๆแล้ว พืชของไทยๆเราก็ใช่ย่อยนะคะ แค่ต้นยี่โถบ้านๆนี่ล่ะค่ะ
ที่ดิชั้นเคยอ่านเจอะมา ว่ามีพิษร้ายแรง คือ ถ้าขนาดสูงพอจะบล้อคการส่งกระแสของการเต้นหัวใจ จนกดให้หยุดเต้นได้ด้วยน่ะค่ะ น่ากลัวชะมัดเลย ง่ะ
อันนี้คือ ดิชั้นพยายามรวบรัดตัดประวัติศาสตร์ กันสุดๆเลย ที่มาของ ยางไม้คิวราเร่ จนถึงยุคปัจจุบัน 😊☘😅
ไว้มีเวลาเรียบเรียงอีก อาจจะมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆแบบนี้ จากในห้องผ่าตัดมาเล่าอีกนะคะเพื่อนๆ 💕⏳🌱
สุขสันต์วันดีๆนะคะ ทุกๆท่าน
🌈💗🏖
โฆษณา