25 มิ.ย. 2020 เวลา 09:10 • ธุรกิจ
ข้อตกลงความเข้าใจและความคืบหน้าเพื่อหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก หรือที่รู้จักกันคือ CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership)
ใครว่าไม่สำคัญ อ่านเก็บไว้ก็ไม่เสียหายนะ
CPTPP คืออะไร?
เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ
เกี่ยวอะไรกับเรา?
หากประเทศไทยเข้าร่วมไปแล้วเนี่ยแน่นอนเราจะมีทั้งได้ประโยชน์และเสียแน่ๆ
การส่งออก
CPTPP จะเพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิก CPTPP โดยเฉพาะตลาดแคนาดา และเม็กซิโกที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกอยู่ราว 2 % เป็นสินค้าจะพวก อาหารทะเลแปรรูป ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สินค้ากลุ่มนี้มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น
การลงทุนจากต่างประเทศ
ที่จะการเข้าร่วม CPTPP จะช่วยดึงดูดการลงทุนที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP
ความสามารถทางการแข่งขัน
CPTPP จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย จากการปรับปรุงกฎระเบียบภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ CPTPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นความตกลงทางการค้าคุณภาพสูง ตัวอย่างกฎเกณฑ์ที่ CPTPP สนับสนุน ได้แก่ กฎหมายสิทธิแรงงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียมระหว่างธุรกิจชาวท้องถิ่น และชาวต่างชาติ เป็นต้น ซึ่งการปฏิรูปกฎหมายเหล่านี้จะเป็นผลบวกกับไทยในระยะยาว
โดยมี 2 ธุรกิจของไทยที่โดนผลกระทบจากการเข้าร่วม CPTPP
ธุรกิจบริการ
ภาคบริการนั้น CPTPP ใช้เงื่อนไขการเจรจาแบบ negative list หรือการระบุรายการที่ไม่เปิดเสรี หมายความว่าประเทศสมาชิกสามารถระบุหมวดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องการเปิดเสรีได้ ส่วนที่หมวดธุรกิจบริการอื่นๆ ที่ไม่ได้เลือกไว้ในข้อตกลงจะต้องเปิดเสรีต่อนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด ดังนั้น สำหรับไทยที่เป็นประเทศที่ค่อนข้างปิดในหมวดบริการ การเปิดเสรีนี้อาจทำให้ธุรกิจบริการภายในประเทศเสียประโยชน์ให้นักลงทุนต่างชาติไป
อุตสาหกรรมเกษตร
มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น CPTPP ยังมีข้อบัญญัติให้ประเทศสมาชิกต้องเข้าร่วมในอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) ที่จะเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไทยไปทำการวิจัยเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่แล้วจดสิทธิบัตรได้ ข้อนี้ถือว่าส่งผลเสียต่อเกษตรกรไทยโดยตรง เพราะถ้านำพันธุ์พืชใหม่นี้มาปลูกแล้ว จะไม่สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกต่อได้เหมือนเมื่อก่อน ต้องซื้อเมล็ดใหม่เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการเกษตรยิ่งสูงขึ้น
สิ่งที่ยิ่งกลายเป็นความกังวลมากขึ้นไปอีกก็คือ “รายละเอียดใน รัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่า หากรัฐบาลลงนามในสนธิสัญญาใดๆ กับต่างประเทศ ที่มีผลต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า การลงทุน อย่างกว้างขวาง ให้รัฐสภาพิจารณาภายใน 60 วัน แต่ถ้าพิจารณาไม่ทัน ให้ถือว่ารัฐสภาเห็นชอบ ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่บังคับให้รัฐบาลต้องเปิดเผยรายละเอียดให้ประชาชนทราบอีกด้วย เพียงแต่ให้มีการแสดงความเห็นและได้รับการเยียวยาที่จำเป็นเท่านั้น”
โดยก็มีมุมมองจากหลายฝ่ายหลายเสียง
ซึ่งอีกมุมหนึ่งก็คือ การมองว่าหากเราเสียโอกาสไม่เข้าร่วมCPTPP ตรงนี้ไป อาจทำให้เราไม่เป็นที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเพราะว่าค่าแรงที่แพง และความสามารถที่จำกัดของแรงงานไทยในด้านดิจิทัล ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งได้ และหากเราเข้าร่วมเป็นทางให้เห็นโอกาสที่จะเปิดตลาดส่งออกจากการเข้าร่วมเจรจากรอบการค้าเสรีได้
ซึ่งแน่นอนการจะตัดสินใจเข้าร่วมCPTPP นี้ค่อนข้างอ่อนไหวและสำคัญมากๆสำหรับประเทศเราเพราะมีส่วนที่ได้มีส่วนที่เสีย โดยต้องคำนึงถึงหลายๆเรื่อง อาทิเช่น เวชภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ สาธารณาสุขอุตสาหกรรม การเกษตร และการจดสิทธิบัตร เหล่านี้ถือเป็นประเด็นหลักสำคัญมากเป็นอย่างยิ่ง
โดยจะมีการประชุมขึ้นอีกครั้งในวันที่ 30 มิถุนายนนี้
ยังไงก็ตามเราก็หวังจริงๆว่า จะเป็นประโยชน์และรักษาผลประโยชน์ของประเทศไว้ให้มากที่สุด
โฆษณา