9 ก.ค. 2020 เวลา 01:00
'โรงงานนรก'ของกรรมกรอังกฤษในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
อังกฤษขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่บุกเบิกยุค ‘ปฏิวัติอุตสาหกรรม’
(Industrial Revolution) เริ่มตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 กินเวลาไปถึง
ศตวรรษที่ 19 อันนำไปสู่การพัฒนาสังคมอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง และช่วยให้จักรวรรดิอังกฤษก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือทุกน่านน้ำได้
ทว่าอีกด้านหนึ่ง ความยิ่งใหญ่นี้ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อและหยาดเหงื่อ
ของชนชั้นแรงงาน ความรุ่งโรจน์อันโอ่อ่าของผู้ปกครองหรือชนชั้นสูงนั้น
ขัดแย้งกับสภาพความเป็นอยู่ของสามัญชนอย่างสุดขั้ว นี่คือความจริง
อันน่าหดหู่ของชนชั้นที่สร้างโลกขึ้นด้วยน้ำมือตน แต่กลับไร้สิทธิ์ไร้เสียง
1.ชั่วโมงตรากตรำในโรงงานนรก
1
ในศตวรรษที่ 19 เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมผุดขึ้นตามเมืองใหญ่ในโลก
ตะวันตก เครื่องจักรกลายมาเป็นกระดูกสันหลังของการผลิต สิ่งที่ขาดไม่ได้
คือ แรงงานจำนวนมหาศาลเพื่อบังคับควบคุมเครื่องจักรเหล่านี้
ในประเทศอังกฤษมีโรงงานอุตสาหกรรมผุดขึ้นมากมายจนได้รับฉายาว่า
เป็น ‘โรงงานของโลก’ (Workshop of the World) ผู้คนจากแถบชนบท
อพยพเข้ามาแสวงโชคในเมืองที่กำลังต้องการคนงาน เจ้าของกิจการฉวย
โอกาสนี้เอาเปรียบแรงงานได้อย่างสบายๆ
รัฐบาลสมัยนั้นก็ให้ความสำคัญกับแนวคิดทุนนิยมแบบปล่อยให้เอกชนทำ
โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว (Laissez-faire capitalism) สวัสดิภาพของแรงงาน
ในยุคนี้จึงแทบไม่มี พวกเขาแทบไม่มีสิทธิ์ต่อรองกับผู้ประกอบการ แรงงาน
ในสมัยนั้นต้องทำงานถึงวันละ 12-16 ชั่วโมง
เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ แถมยังมีรายได้น้อยนิดจนแทบจะไม่พอ
ประทังชีวิต ยิ่งเป็นผู้หญิงก็จะมีรายได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง แม้จะมีชั่วโมงการทำงานเท่ากับผู้ชายก็ตาม
ยิ่งสวัสดิการแรงงานแทบไม่ต้องพูดถึง รายงานการประชุมสภาอังกฤษฉบับหนึ่งจากปี 1832 บันทึกไว้ว่า "หากคนงานได้รับบาดเจ็บจากเครื่องจักรใน
โรงงานหรือล้มป่วยลง นายจ้างจะหาคนงานใหม่มาแทนพวกเขาได้ทันทีโดยไม่ชดเชยค่าเสียหายแต่อย่างใด แม้ว่าอาการของคนงานจะสาหัสเพียงใดก็ตาม"
2.กินอยู่ในสลัมแออัด
ผู้คนส่วนใหญ่ที่แห่เข้ามาทำงานยังนครใหญ่ล้วนมีรายได้น้อย ไม่อาจหาซื้อที่ดินหรือบ้านได้ พวกเขาจึงต้องไปอาศัยในบ้านเช่าหรือห้องเช่าขนาดเล็กที่
ไม่ไกลจากสถานที่ทำงานนัก
บ้านเช่าหรือตึกที่เจ้าของที่ดินสร้างไว้ก็มีสภาพย่ำแย่ ตามผนังและบานหน้าต่างมักมีรูโหว่จนผู้เช่าต้องหาผ้าหรือหนังสือพิมพ์มาอุดไว้ ในฤดูฝนน้ำจะ
ไหลซึมมาตามรูจนท่วมพื้นห้อง ฤดูหนาวจะมีลมเข้ามาตามช่องอาคารจน
ผู้คนในชุมชนแออัดของกรุงลอนดอนต่างเสียชีวิตไปจำนวนมาก
ครอบครัวใหญ่ขนาด 5-10 คนอาจต้องอัดแน่นกันอยู่ในห้องเช่าแคบๆ
เพียงไม่กี่ตารางวา หลายครั้งคนงานถึง 20 คนต้องแบ่งบ้านเช่าหลังเล็กๆ
ด้วยกัน คนงานที่อาศัยในบ้านเหล่านี้ต้องใช้วิธีขึงเชือก (Rope beds) กับ
กำแพงแล้วพาดตัวลงบนเชือกราวกับตากผ้า เพื่อนอนหลับพักผ่อนก่อนจะ
ตื่นไปทำงานในวันต่อไป
3.เมืองแห่งมลพิษและโรคระบาด
บ้านเช่าของคนงานมักอัดแน่นกันอยู่ในถนนแคบๆ สุดแสนสกปรก ติดกับ
เขตโรงงานอุตสาหกรรมจนกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม ชุมชนแรงงาน
ที่อาศัยในย่านนี้จึงมีสุขภาพย่ำแย่ ทั้งจากการทำงานหนักในโรงงานและ
หมอกควันหนาทึบจากถ่านหินที่ปกคลุมท้องฟ้าทั่วบริเวณ
พื้นถนนในเขตนี้ก็สกปรกจากคูน้ำที่มีของเสียปะปนจากทั้งชุมชนและโรงงาน น้ำประปาที่ชาวบ้านใช้ดื่มหรืออาบน้ำก็มักปะปนไปด้วยของเสียเหล่านี้ รวมถึง ขยะที่ถูกทิ้งกลาดเกลื่อนเต็มไปด้วยฝูงแมลงวัน กองทัพหนูวิ่งพล่านอา
ละวาดไปตามซอกหลืบ แพร่เชื้อโรคไปทั่วเมือง
ในสมัยวิคตอเรีย เกิดโรคระบาดหลายครั้งในประเทศอังกฤษ ไม่ว่าจะ
อหิวาตกโรค ไข้เหลือง ไทฟอยด์ หัด ฝีดาษ สภาพสุขอนามัยอันย่ำแย่ทำให้ชุมชนแออัดเหล่านี้ต้องรับผลกระทบไปเต็มๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ และยังเป็น
แหล่งเพาะเชื้อจำนวนมากอีกด้วย
4.แรงงานเด็กน่าอดสู
แม้แต่เด็กๆ ก็เป็นที่หมายปองของนายทุนเจ้าของกิจการ พวกเขาคือลูก
หลานของชนชั้นแรงงานที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา สถานการณ์อันแร้น
แค้นของครอบครัวบีบให้เด็กๆ จากครอบครัวที่ยากจนต้องตระเวนหางาน
ทำไม่ต่างจากผู้ใหญ่ ในอังกฤษยังเคยพบว่ามีแรงงานเด็กอายุเพียง 5 ขวบ
พวกเขายังมีค่าแรงต่ำเพียง 10-20% ของผู้ใหญ่ ในขณะที่ผลิตชิ้นงานออกมาได้น้อยกว่ากันไม่มากนัก นั่นแปลว่า ด้วยเงินจำนวนเท่ากัน เจ้าของ
โรงงานสามารถจ้างเด็ก 5-10 คน แทนผู้ใหญ่เพียง 1 คนได้ แถมยังให้
ผลผลิตสูงกว่าหลายเท่า พวกเด็กส่วนใหญ่ยังต้องทำงานถึง 12 ชั่วโมง
ต่อวัน
แรงงานวัยกระเตาะเหล่านี้ยังเชื่อฟังและบงการได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ แถมยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายแรงงานเด็กคอยคุ้มครอง เพราะเหตุนี้เอง นายทุนหลายคนถึงกับจ้าง ‘ผู้จัดการ’
เพื่อลงโทษเด็กที่มาทำงานสายด้วยการทุบตีหรือเฆี่ยน ซึ่งพวกเด็กๆ มักจะ
ยอมรับบทลงโทษอันหฤโหดเหล่านี้อย่างไร้ทางสู้ คนงานโรงสีชาวอังกฤษ
ผู้หนึ่งยังบันทึกไว้ว่า‘ผู้จัดการ’ ของโรงสีแห่งหนึ่งมักถือแส้รอหน้าทางเข้า
และเฆี่ยนเด็กที่มาเข้างานสายอย่างไม่ใยดี
อีกประโยชน์ของแรงงานเด็กที่นายทุนชื่นชอบคือขนาดตัวที่เล็กและบอบบาง เมื่อกลไกเครื่องจักรขัดข้องหรือมีอะไรเข้าไปติด มือน้อยๆ ของเด็กสามารถ
เข้าไปแก้ไขได้อย่างสะดวก
ไม่ต้องถอดชิ้นส่วนออกมาแก้ไข งานของแรงงานเด็กจึงต้องควบหน้าที่คน
งานเหมือง โดยพวกเด็กๆ ต้องคลานเข้าในอุโมงค์ขนาดเล็กที่ผู้ใหญ่ลอด
ไม่ได้เพื่อไปสกัดถ่านหินจนเนื้อตัวมอมแมม เด็กหลายคนยังต้อง
ประสบอุบัติเหตุจนพิการหรือเสียชีวิตระหว่างทำงานอันตรายในเหมือง
เหล่านี้
5.อาชีพสุดอันตราย : เก็บอุจจาระ-กวาดปล่องไฟ
เด็กที่ไม่ได้ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาจไปหารายได้ทางอื่นแทน หนึ่งในช่องทางหาเงินยอดนิยมของเด็กเหล่านี้คือ เก็บกวาดขี้ม้าตามท้องถนน
ซึ่งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ในยุคที่การสัญจรไปมายังต้องพึ่งม้าเป็นหลัก ม้าใน
กรุงลอนดอนสามารถผลิตขี้ม้าออกมาราว 1 พันตันต่อวัน โดยเทศบาล
ท้องถิ่นจะเป็นผู้ว่าจ้างเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 12-14 ปีเพื่อมาทำหน้าที่นี้
โดยเฉพาะ
อีกงานยอดนิยมคือ ทำความสะอาดปล่องไฟในบ้านของคนรวย ร่างกาย
ขนาดเล็กและเบาบางของเด็กๆ ทำให้พวกเขาเข้าไปทำงานในพื้นที่คับแคบ
ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่หรือวัยรุ่น ชาวเมืองที่ร่ำรวยจึงเสาะหาเด็กกวาดปล่อง
ไฟเพื่อทำให้ทำความสะอาดตั้งแต่ก้นยันปากปล่อง
หน้าที่ของพวกเด็กๆ คือการลอดตัวเข้าไปในปล่องไฟเตาผิงพร้อมไม้กวาด
แล้วค่อยๆ ไต่ขึ้นไปปัดเขม่าขี้เถ้าจนสะอาด มีเรื่องเล่าถึงเด็กหลายคนที่ติด
อยู่ในปล่องไฟจนขาดอากาศเสียชีวิตหรือตกลงมาจนพิการไม่สามารถ
ทำงานได้อีก
6.แหล่งบ่มเพาะอาชญากร
ด้วยความที่พ่อแม่มักตองไปทำงานอยู่ในโรงงานแทบทั้งวัน แถมยังมีรายได้แทบไม่พอประทังชีวิต สภาวะอันยากจนถึงขีดสุดทำให้เด็กๆ และวัยรุ่นต้อง
ขโมยอาหารหรือข้าวของเล็กน้อยเพื่อประทังชีวิต อาชญากรรมในเขตสลัมนี้ก็พุ่งสูงขึ้นตามมา
เด็กๆ หลายคนหันมารวมตัวกันก่ออาชญากรรมลักเล็กขโมยน้อยขึ้น
บางครั้งแก๊งเหล่านี้ยังมีหัวหน้าเป็นผู้ใหญ่ที่คอยเสาะหาเด็กยากไร้เพื่อสอน
เทคนิคล้วงกระเป๋าและลักขโมยให้ ไม่ต่างกับนวนิยายเรื่อง
‘โอลิเวอร์ ทวิสต์’ (Oliver Twist) ด้วยซ้ำ โดยแก๊งหัวขโมยเด็กมักเพ่งเล็ง
คนร่ำรวยตามท้องถนนในเมืองใหญ่
พวกเขาจะทำงานเป็นทีมเพื่อหลอกล่อและดึงความสนใจในขณะที่อีกคนหนึ่งเข้าไปประชิดตัวแล้วฉกฉวยสมบัติในกระเป๋าโดยที่เจ้าตัวแทบไม่รู้สึกตัว
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ศาลกรุงลอนดอนต้องรับเรื่องล้วงกระเป๋าหลาย
ร้อยคดีต่อสัปดาห์ แถมผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่ยังเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี
ยิ่งไปกว่านั้นผู้ต้องหาหลายคนที่เป็นเด็กกำพร้ายังถูกส่งตัวไปยังออสเตรเลียเพื่อบุกเบิกนิคมของอังกฤษด้วย
7.ปลิดชีพในแม่น้ำเทมส์
สะพานหลายแห่งที่ตั้งตระหง่านเหนือแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนไม่ได้เป็น
เพียงแค่แลนด์มาร์กเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดที่มีชาวบ้านมาฆ่าตัวตายเป็นประจำ ถึงขั้นที่ว่ามีอาชีพช้อนศพจากแม่น้ำเพื่อหาทรัพย์สินหรือเศษเงินติดตัวศพ
โดยเฉพาะ
สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) ในกรุงลอนดอนก็เป็นอีกสถานที่ยอดนิยมสำหรับฆ่าตัวตายไม่แพ้กัน ชาวลอนดอนที่หมดหวังในชีวิตมักแอบเข้า
ไปกระโดดลงน้ำทะเลสาบเป็นประจำจนต้องแบ่งบริจาคร่างผู้ตายไปยัง
วิทยาลัยการแพทย์และโรงพยาบาลเพื่อให้นักเรียนแพทย์ศึกษา
ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มักมีฐานะที่ยากจน พวกเขาไม่อาจทนต่อสภาพการ
ทำงานและชีวิตอันแร้นแค้นต่อไปได้ ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และหญิงขายบริการทางเพศจำนวนไม่น้อยที่เลือกปลิดชีวิตตนเองในแม่น้ำ นั่นอาจเป็นเพราะพวกเธอต้องทำงานหนักไม่ต่างจาก
ผู้ชาย แถมยังมีรายได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง และยังถูกกดดันให้เป็นผู้ทำงาน
บ้านไปด้วยกัน
ผู้หญิงบางส่วนยังหันไปหารายได้ประทังชีพด้วยการค้าบริการแทน แต่ด้วย
สังคมร่วมสมัยที่ทั้งกดขี่ทางเพศและอาชีพค้าบริการก็ไม่เป็นที่ยอมรับ
แถมยังถูกเอาเปรียบและขมขู่จาก ‘นายหน้า’ ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีสิทธิ์โต้
ตอบในทางกฎหมาย หญิงค้าบริการจึงมีสภาพความเป็นอยู่อย่างเลวร้าย
และตกอยู่ในอันตรายเสมอ
เรื่อง : อันโตนิโอ โฉมชา
ภาพประกอบ : เพ็ญนภา บุปผาเจริญสุข
โฆษณา