Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
I Labors
•
ติดตาม
27 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • การศึกษา
"คุณออกไปจากบริษัท ไปเลย! เป็นเลิกจ้างหรือไม่? "
...ท่านผู้อ่าน วันนี้ผมนึกถึงประเด็นหนึ่ง ซึ่งหลายคนอาจจะประสบอยู่ คือประเด็นการถูกไล่ออกด้วยอารมณ์โกรธของนายจ้าง เช่น ตรวจพบการทำงานที่ผิดพลาด การประชุมรายงานผลที่เคร่งเครียด ส่งผลต่อบรรยากาศที่กดดันรุนแรง จนถึงขนาดโต้เถียง ลงไม้ลงมือกัน...
1
...การไล่ออก ปกติแล้วควรจะทำเป็นหนังสือ ชี้แจงสาเหตุ และสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างคนนั้นควรได้รับ และให้ลูกจ้างเซ็นรับทราบ แต่บางครั้งก็จำเป็นจะต้องไล่ออกด้วยวาจา เพื่อให้ทันท่วงที แต่การกระทำลักษณะนี้ย่อมส่งผลให้เกิดความคลุมเครือและข้อขัดแย้งขึ้นหลายต่อหลายครั้ง
...เป็นที่ปวดเศียรเวียนเกล้าสำหรับฝ่ายบุคคลมาก หากตื่นเช้ามาพบข้อความไลน์แจ้งว่า "พี่ไล่คนนี้ออกแล้วนะ" "พี่ไม่ชอบมัน เลยให้ออกนะ" หรือ "หาคนให้พี่ใหม่นะ"
...สำหรับองค์กรไหนที่ปล่อยให้การไล่ออก เป็นไปตามอำเภอใจของหัวหน้างานแต่ละคน มักจะจบด้วยหมายศาลฟ้องคดีตามมาอีกเพียบแน่นอนครับ (มาแบบเงียบๆ)
"ถ้าท่านหัวหน้างาน จะไล่ใครออก ควรจะปรึกษาวางแผนกับฝ่ายบุคคลเสียก่อน ว่าจะทำอย่างไรให้ถูกวิธี อย่าด่วนใช้อารมณ์ตัดสินใจไล่ออก เพราะคนที่เสียหายคือนายจ้างครับ"
"ไม่ใช่ว่าหัวหน้างานไล่ออกไม่ได้ แต่ควรใช้กลไกทั่วไปของนายจ้าง เพื่อเซฟตัวท่านเองด้วย"
...ยกตัวอย่างคดีหนึ่ง ลูกจ้างทำงานตำแหน่งพนักงานการตลาด อัตราค่าจ้างสุดท้าย 50,000 บาท เป็นลูกจ้างตั้งแต่ปี 2543 จนถึง ปี 2557 รวมอายุงาน 13 ปีเศษ เป็นชาวต่างชาติซึ่งนายจ้างต้องดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานให้ด้วย ลูกจ้างรายนี้งานโดยตรงให้แก่นาย พ. กรรมการผู้มีอำนาจของนายจ้าง (ผู้บริหาร)
...ข้อเท็จจริงปรากฎว่าลูกจ้าง ทำงานในลักษณะอิสระ ไม่ต้องเข้ามาทำงาน สามารถทำงานที่บ้านได้ เวลาที่สะดวกในการทำงานติดต่อลูกค้าต่างประเทศ คือ เวลาเย็นและกลางคืน ทำงานผ่านทางอีเมล์และโทรศัพท์สื่อสาร ไม่ต้องบันทึกเวลา ไม่มีวันทำงานแน่นอน และไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง...
...วันหนึ่ง ได้มีการประชุมประจำรอบปกติ ซึ่งได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกจ้างสั่งซื้อวัตถุดิบผิดพลาด ทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อทั้งหมด เป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ในการประชุมได้ใช้ "ภาษาไทย" ซึ่งลูกจ้างเป็นชาวต่างชาติไม่สามารถเข้าใจได้ ประเด็นที่ประชุมนั้นเกี่ยวข้องกับลูกจ้าง จึงแจ้งขอให้ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร แปลความได้ว่า
..."คุณอยากให้ผมไปเหรอ จะพูดภาษาอังกฤษกันหรือจะให้ผมไป? เพราะถ้าอย่างนี้ผมก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่นี่!"
2
...นาย พ. กรรมการซึ่งร่วมประชุมด้วยขณะนั้น ได้ยินจึงตอบกลับไปว่า "โอเค คุณไปได้ และคุณออกไปจากบริษัทเรา ไปไปไปเลย ผมเกลียดคุณ ผมไม่ควรทำงานกับคุณ..."
1
...ศาลพิพากษาว่า การทำงานของลูกจ้างเป็นสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อนาย พ. (กรรมการ) ไม่ประสงค์ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจึงถือว่าเลิกจ้างลูกจ้าง พิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่านายหน้าคงค้าง ค่าชดเชย พร้อมดอกเบี้ย...
...ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ) และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม ได้ความว่าเหตุแห่งการเลิกจ้างนี้ แท้จริงมาจากการที๋ลูกจ้างทำงานผิดพลาด ทำให้ลูกค้าปฏิเสธงานทั้งหมด นาย พ.จึงเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจา...จึงมีเหตุอันควรในการเลิกจ้างลูกจ้างได้ทันที พิพากษาไม่ให้นายจ้างชดใช้ในส่วนนี้...
"...จากฎีกานี้ การเลิกจ้างในลักษณะสั่งด้วยวาจา ก็ถือเป็นการเลิกจ้างเช่นกันครับ ลูกจ้างเมื่อเข้าที่ประชุมและจวนตัวใกล้เพลี่ยงพล้ำ ต้องตรวจสอบเช็คตนเองให้ดีว่า ไม่มีอะไรผิดพลาดแน่นอนแล้ว ถ้าจวนตัวยังไงก็ต้องเกิดเหตุผู้บริหารหัวร้อนลักษณะนี้แน่นอน เพียงแค่ท่านปล่อยให้มันเกิดและบันทึกเสียงคำพูดทั้งหมดในเหตุการณ์และเดินยิ้มๆออกมาเฉยๆ แล้วค่อยส่งหมายศาลไปให้เขาสัก 1 ฉบับ สักพักเขาก็คงลดอาการหัวร้อนได้เองครับ"
1
"อยู่ข้างในคุณยิ่งใหญ่ อยู่ข้างนอกเราเท่าเทียม ด่ามาด่ากลับไม่โกง..."
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2560
"...ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการโดนเอาเปรียบจากสังคมแห่งแรงงาน..."
"...หากอยากให้กำลังใจผู้เขียน ช่วยกดติดตาม กดไลค์ หรือแชร์แก่ผู้อื่นเป็นวิทยาทาน ฯลฯ เพื่อจะได้สร้างสรรค์งานเขียนเช่นนี้ต่อไปครับ..."
CR : Fistful of talent
3 บันทึก
10
6
6
3
10
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย