26 มิ.ย. 2020 เวลา 14:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
" ใ จ ใ ห ญ่ ใ จ โ ต " ตอนที่ 1
พวกเรานั้นต่างก็เคยได้ยิน
หรือคุ้นหูกับคำว่า “ ค น ใ จ ใ ห ญ่ ”
อยู่บ้างไม่มากก็น้อย
ตัวอย่างเช่น “ถึงพวกเธอจะตัวเล็ก
แต่ฉันคิดว่าพวกเธอก็ใจใหญ่ไม่เบาเลยนะ”
ตามหลักพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า
“ใจใหญ่ใจโต” คือ ว. ผู้ที่มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนเกินฐานะ.
https://www.yuvabadhanafoundation.org
ทุกที่สิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้
ต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
รวมถึงมีเหตุผลหรือข้อแก้ตัว
ให้กับเรื่องนั้นๆอยู่เสมอ
แต่สุดท้ายแล้วมันจะเอนเอียงไปด้านใด
จะดีหรือร้าย ?
ต่างก็ขึ้นอยู่กับการกระทำ
หรือนำไปใช้ของแต่ละบุคคล
ผู้ ที่ ใ จ ใ ห ญ่ ใ จ โ ต
อาจกระทำไปเพื่อให้ตัวเองมีความสุข
หรือเดือดร้อนก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา
และการกระทำในตอนนั้น
แต่สิ่งที่คนใจใหญ่ใจโตได้กระทำลงไป
อาจจะส่งให้ใครหลายคนมีความสุข
หรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้
ไม่มากก็น้อย...ใครจะไปรู้
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/69354/-blog-scibio-sci-
ซึ่งในทางการแพทย์
คนที่ใจใหญ่ใจโต ก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป
เดิมทีหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิต
เพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหาร
ไปล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
หัวใจถูกแบ่งออกเป็น 4 ห้อง
มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง
หัวใจซีกขวาจะรับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย
แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน
โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยัง
หัวใจทางด้านซีกซ้าย
และก็จะสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดต่างๆ
ไปยังทุกส่วนของร่างกาย
แ ต่ ถ้ า ห า ก ค น เ ร า มี หั ว ใ จ ที่ ใ ห ญ่ โ ต
จ น เ กิ น ก ว่ า ป ก ติ ล่ ะ จ ะ เ ป็ น อ ย่ า ง ไ ร ?
หัวใจโต (Enlarged heart หรือ Cardiomegaly)
อาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ
คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ
ลองนึกถึงคนที่ออกกำลังกายอย่างหนัก
และกินอาหารที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
อย่างเช่น นักเพาะกาย
ที่มีกล้ามเนื้อที่ใหญ่เกือบจะทุกส่วน
หรือเฉพาะส่วนที่ต้องการ
เช่นเดียวกับหัวใจของคนเรา
ถ้าหากทำงานหนักจนเกินไป
บีบตัวแรงและเร็วมากๆ
หรือมีผลมาจากพันธุกรรม
รวมถึงมีโรคระจำตัว
เช่น โรคความดันโลหิตสูง
หรือ โรคลิ้นหัวใจตีบ
ก็ทำอาจจะให้กล้ามเนื้อหัวใจ
หนาขึ้นกว่าปกติมาได้
เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
(Hypertrophic cardiomyopathy) เป็นต้น
https://www.aboutkidshealth.ca/article?contentid=1629&language=english
อีกประการหนึ่งก็คือขนาดของหัวใจโตขึ้น
เพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้ไม่เต็มที่
มีเลือดหรือน้ำเข้าไปคั่งค้างในเยื่อหุ้มหัวใจมากกว่าปกติ
คล้ายกับหัวใจที่เต้นอยู่ในลูกโป่งที่ใส่น้ำ
ซึ่งลูกโป่งนั้นเปรียบเสมือนกับเยื่อหุ้นหัวใจ
เมื่อมีการใส่น้ำอัดเข้าไปเรื่อย ๆ
ก็ทำให้ลูกโป่งนั้นขยายขึ้น ๆ
แต่หัวใจในลูกโป่งกับมีขนาดเท่าเดิม
หรือเล็กลงเนื่องจากการบีบอัดของน้ำ
การที่เยื่อหุ้มหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
และมีการบีบอัดของเลือดหรือน้ำ
ส่งผลให้หัวใจนั้นเต้นได้ไม่เต็มที่
เมื่อหัวใจเต้นได้ไม่เต็มที่
เลือดก็ไม่ได้สามารถออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
ของร่างกายได้ดีเช่นกัน
ซึ่งภาวะของโรคที่ทำให้เกิดอาการเช่นนี้ได้ก็คือ
“ โรคภาวะหัวใจถูกบีบรัด ” ( Cardiac tamponade )
data:image/jpeg;base64
ซึ่งจะมีวิธีการรักษา
และอาการอย่างไรกันนั้นน
โปรดติดตามตอนต่อไป....
#นายไซเรน #ขอบคุณครับ
โฆษณา