Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Tell Tales
•
ติดตาม
26 มิ.ย. 2020 เวลา 14:44 • ปรัชญา
หลักการปล่อยวางของคนมองโลกในแง่ร้าย
[บทความนี้ไม่มีเจตนาในการลบหลู่ศาสนาใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่เป็นการวิเคราะห์หลักปรัชญาของนักปรัชญาชื่อดังว่าเขามีแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตและการตายอย่างไร]
"ฟรีดริกช์ นิทเช่ [Friedrich Nietzche]"
“To live is to suffer,
to survive is to find some meaning in the suffering."
"การมีชีวิตคือการทนทุกข์,
การใช้ชีวิต คือการตามหาความหมายในการทนทุกข์”
- Friedrich Nietzche
หลายๆคนคงจะคุ้นกับชื่อของคนๆนี้ในฐานะนักปรัชญาชาวเยอรมันผู้โด่งดังกับวลีที่ว่า "God is dead" หรือ "พระเจ้าตายแล้ว" นั่นเอง เพียงแค่นี้เราก็พอจะเดากันได้แล้วว่านิทเช่เป็นคนที่เชื่อในพระเจ้ามากขนาดไหน......
ว่าแต่เพื่อนๆล่ะคะ? เชื่อในพระเจ้ากันหรือเปล่า?
ด้วยความที่นิทเช่ไม่เชื่อในเรื่องของพระเจ้า ทำให้เขาไม่เชื่อเรื่อง นรก หรือสวรรค์ หรือชีวิตหลังความตายใดๆทั้งสิ้น
นิทเช่เชื่อว่าคนเราเมื่อตายไปก็แค่ตายไป กลับสู่ความว่างเปล่า
ชีวิตเราไม่ได้มีความหมายอะไรทั้งนั้น
โดยความเชื่อของนิทเช่จะสอดคล้องแล้วเกี่ยวข้องกับ "Nihilism [ไนฮิลิซึ่ม]"
"Nihilism"
เป็นหลักปรัชญาที่กล่าวว่าการที่คนเราเกิดมามันไม่ได้มีเหตุผลที่พิเศษอะไร
การมีอยู่ของเราไม่ได้มีเหตุผลที่พิเศษอะไร
และการตายของเราก็ไม่ได้มีเหตุผลที่พิเศษอะไรเช่นกัน
ที่คนเราเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ เชื่อว่ามีโลกหลังความตาย เชื่อว่ามีนรก มีสวรรค์ มันเป็นเพราะว่ามนุษย์เราต้องการที่จะหาเหตุผลในการมีชีวิตให้กับตัวเอง
ต้องการที่จะหาเป้าหมายในการใช้ชีวิตของตนเอง
และต้องการที่จะเชื่อว่าชีวิตของคนเราไม่ได้ว่างเปล่า
ไม่เพียงแต่นิทเช่เท่านั้นที่มีความคิดแนวๆนี้ แต่ยังมีนักปรัชญาคนอื่นอีกมากมาย
อย่างเช่นเขาคนนี้
"Arthur Schopenhauer [อาร์ธัวร์ โชเปนเฮาว์เออร์]"
"Life has no intrinsic worth,
but is kept in motion merely by want and illusion."
"ชีวิตไม่ได้มีคุณค่าที่แท้จริง,
แต่ชีวิตยังคงอยู่ต่อไปเพียงเพราะความต้องการและภาพลวงตา"
- Arthur Schopenhauer
นักปรัชญายาวเยอรมันอีกคนหนึ่งที่ไม่เชื่อในเรื่องของพระเจ้า และมองว่าชีวิตเป็นเพียงความทุกข์ทรมานที่ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่พิเศษอะไร
เขาได้พัฒนาแนวคิด "Will to Live" หรือก็คือ "ความต้องการที่จะมีชีวิต"
โดยกล่าวว่าสิ่งนี้คือ “แรงกระตุ้นอันมืดบอดที่ไม่มีวันหยุดหย่อนโดยปราศจากความรู้” ที่คอยผลักดันสัญชาตญาณและพฤติกรรมของมนุษย์ให้มีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อเป็นสาเหตุในการดิ้นรนมีชีวิตอยู่
และอีกหนึ่งแนวคิดที่เราค่อนข้างจะชอบมากที่สุดก็คงจะเป็น
"Epicureanism" หรือ "สุขนิยม"
แนวคิดนี้ไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายเสียเท่าไหร่ แต่ค่อนข้างจะเข้าใจง่ายดี
โดยแนวคิดนี้มาจากชายชาวกรีกผู้เคยมีชีวิตอยู่จริงราวๆ300กว่าปีก่อนคริสตกาล ที่มีชื่อว่า"Epicurus(เอปิคุรุส)"
"Death does not concern us,
because as long as we exist,
death is not here.
And once it does come,
we no longer exist."
"ความตายจะไม่ทำให้เรากังวล
เพราะตราบใดที่เรายังมีตัวตน
ความตายจะไม่อยู่ตรงนี้
และเมื่อใดที่ความตายมาถึง
ตัวตนของเราก็ไม่มีอยู่แล้ว"
- Epicurus
Epicurus
Epicurus คิดว่าเหตุผลหลักที่ทำให้คนเราไม่มีความสุขในชีวิตก็คือการที่มนุษย์เรากังวลมากเกินไป
เราถูกครอบงำด้วยคำถามอันยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวกับชีวิต ความตาย และพระเจ้า
ในทุกๆวัน เราต้องกังวลตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อยๆไปจนถึงเรื่องใหญ่
Epicurus ได้ให้วิธีแก้ปัญหาง่ายๆกับเราคือ"อย่าไปให้ค่ากับมัน"
เมื่อเราตระหนักแล้วว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีค่าหรือความสำคัญกับชีวิตเรามากขนาดที่เราจะต้องคอยเป็นกังวล
เราก็จะสามารถปลดปล่อยตัวเราจากความกังวลทนทุกข์ และสนใจแค่สิ่งที่สำคัญกับเราจริงๆ ให้ความสุขกับเราจริงๆ
Epicurus ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้มีความเชื่อเรื่องศาสนาหรือพระเจ้า
เขาเป็นผู้มีความคิดแบบสุขนิยม เป็นกลุ่มความเชื่อที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม"สสารนิยม"
คือ ไม่มีความเชื่อเรื่องโลกหน้า เรื่องนรก หรือสวรรค์
แต่เชื่อว่าเมื่อคนตายแล้วร่างกายเราก็แค่เน่าเปื่อยกลับสู่ธรรมชาติก็แค่นั้น
ดังนั้นเมื่อเรามีชีวิตอยู่ก็ควรเก็บเกี่ยวความสุขใส่ตัวเองให้เต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นักปรัชญาทั้ง 3คนนี้ที่เรากล่าวมาข้างต้น เขาเชื่อในแนวคิดที่ต่างกันก็จริง
แต่สิ่งที่พวกเขาเชื่อเหมือนกันมากๆก็คือ พวกเขาเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่ตาเห็น
ในเมื่อเราไม่รู้ว่ามันมีอยู่จริงหรือเปล่าแล้วทำไมถึงต้องเป็นกังวล?
ดังนั้นต่อให้คุณมีศาสนาคุณก็สามารถนำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
คือการ"ปล่อยวาง"เสียเถอะ ชีวิตเรามันก็เท่านี้ หาความสุขใส่ตัวให้มากๆนะคะ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Philosophy of Life & Death - ปรัชญาให้อะไรกับเราบ้าง
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย