Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Learning Visual Diary
•
ติดตาม
27 มิ.ย. 2020 เวลา 12:08 • ธุรกิจ
LVD#67 : เลียนแบบสมองด้วยการจดโน้ต
สวัสดีครับทุกท่าน เราทุกคนต่างทราบดีครับว่า การเรียนรู้เรื่องใหม่เป็น skill ที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบัน และมันก็คงดี ถ้าเรามีความสามารถในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆได้ในทุกๆเรื่องทุกวัน วันนี้ผมเลยอยากชวนทุกท่านมาคุยกันถึงหนึ่งใน Skill ในการเรียนรู้เรื่องใหม่ ที่ผมเองมีความเขื่อใน skill นี้เป็นอย่างมาก นั่นก็คือ การจดโน๊ตครับ เรื่องง่ายๆที่ทำได้ทุกคน แต่พลังของมันนั้นยิ่งใหญ่มากๆ เรื่องนี้สำคัญยังไง ลองตามมาดูครับ
1
คือมันอย่างนี้ครับ...
เนื้อหาวันนี้เป็นเนื้อหากึ่ง review หนังสือชื่อจดโน้ตขั้นเทพ เปลี่ยนกระดาษให้เป็นสมองที่สอง ของคุณยูจิ มาเอดะครับ
การจดโน้ตเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผมมีความเชื่อกับวิธีการนี้อยู่แล้ว และอยากจะพัฒนา skill นี้เป็นการส่วนตัว (สนามของผมก็คือเพจ LVD ยี่แหละครับ) และผมก็เชื่อว่าทุกคนทราบแหละว่าการจดมันดี ดังนั้น ผมขอเริ่มตรงภาคปฎิบัติเลยละกันนะครับ
เทคนิคการจดโน้ตเลียนแบบสมองมนุษย์
ทุกท่านทราบดีว่าสมองคนเราแบ่งเป็น 2 ซีก ซีกขวาจะทำหน้าที่ด้านคงามคิดสร้างสรรค์ ขณะที่สมองซีกซ้ายจะทำงานเชิงตรรกะ การจดโน้ตที่ดึงพลังสมองได้อย่างเต็มที่ ก็ควรจะเป็นการจดที่ให้ความคุ้นเคยกับสมองครับ จากแนวคิดนี้ คุณมาเอดะจึงแนะนำให้เราใช้สมุดจดแบบหน้าซ้ายขวา และ จดแบบหน้าคู่ต่อหนึ่งหัวเรื่อง โดยมีเทคนิคแบ่งหน้า ดังนี้
หน้าซ้าย จะเลียนแบบการทำงานสมองซีกซ้าย คือ ใช้ในการเขียนข้อเท็จจริง มีเทคนิคย่อยๆเป็นขั้นตอนแบบนี้ครับ
1
1. เขียนเรื่องที่เกิดขึ้นหรือที่เราได้ยินอย่างเป็น ไถกลางไม่ใส่ความคิดเห็นลงไป
2. วงกลม keyword ที่มีความเกี่ยวข้องกันเพื่อให้เห็นหมวดหมู่และความเชื่อมโยง
3. แบ่งพื้นที่ออกเป็นห้าส่วนตามแนวนอน และหนึ่งเส้นคั่นแนวตั้ง เพื่อเป็นพื้นที่ในการใส่ชื่อเรื่อง
4. หลังจากนั้น จัดกลุ่มข้อเท็จจริงที่จดไว้ลงไปในหัวข้อเหล่านั้น
5. จะเห็นว่าวิธีการนี้ จะทำให้การจดของเรามีขั้นตอนเหมือนการทำงานของสมอง คือเริ่มจากได้รับสาร ตีความ จัดหมวดหมู่ การจัดความคิดเข้า folder แบบนี้ ช่วยให้เราดึงความคิดออกมาใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องไปเสียเวลาหา
2
หน้าขวา จะเลียนแบบการทำงานของสมองซีกขวา นั่นคือ การเขียน ไอเดียใหม่ นั่นเอง ซึ่งคนส่วนมากเวลาเข้าประชุมมักจะจดข้อเท็จจริงที่ได้จากการประชุม การเว้นหน้าขวาไว้ทั้งหน้าสำหรับไอเดีย อาจจะทำให้รู้สึกสิ้นเปลื้อง แต่นี่คือหนึ่งในเทคนิคสำคัญเลย เพราะการที่เราปล่อยให้หน้าว่างเพื่อเขียนไอเดีย มันบังคับให้สมองต้องพยายาม fill in the blank โดยมีขั้นตอนแบบนี้
2
1. ขีดเส้นแบ่งคั่นกลางแนวตั้ง เพื่อแบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือการสรุปเป็นแนวคิดใหม่ และการประยุกต์ใช้
2. ลากเส้นเชื่อม "ข้อเท็จจริง" จากหน้าซ้าย ไปยัง"ความคิดใหม่" ในหน้าขวา เพราะหลายๆข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกันก็จะกลายเป็นความคิดใหม่ๆได้
3. สุดท้าย ลองเปลี่ยนแนวคิดเป็นการใช้จริง ซึ่งขั้นตอนนี้สำคัญมาก แต่คนมักไม่ได้ทำ แนวคิดที่อยู่ในกระดาษไม่มีประโยชน์ และการคิดถึงการประยุกต์ใช้ จะช่วยให้เรา spin ไอเดียจากเรื่อง A ไปเรื่อง B ได้
การแบ่งสีปากกาก็เป็นเทคนิคที่สำคัญ
ที่เราต้องแบ่งสีเพราะมันทำให้เราเห็นโน้ตเป็นภาพรวม ช่วยให้สมองจัดหมวดหมู่ได้ง่ายขึ้น และนอกจากนี้ยังช่วยเราจัด priority ได้ง่ายกว่า โดยคุณมาเอดะ แนะนำให้เราแบ่งปากกาเป็น 4 สี
สีดำ เป็นสีหลัก ใช้เขียนข้อเท็จจริง
สีเขียว เขียนความเห็นต่อข้อเท็จจริง
สีน้ำเงิน เขียนเรื่องสำคัญ หรือข้อมูลอ้างอิงสำคัญ
สีแดง เขียนเรื่องสำคัญมาก
1
โดยการแบ่งสีปากกานี้ไม่ได้แบ่งตามความเร่งด่วน เพราะความเร่งด่วนส่วนใหญ่ เราไม่ได้เป็นคนกำหนด ผมตีความว่า ถ้าไม่มีปัจจัยภายนอกมากำหนดความด่วนเราก็จะทำงานตามความสำคัญ แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับปัจจัยแวดล้อม บางครั้งเราก็ต้องทำงานที่สำคัญรองลงมาสำหรับเราแต่เร่งก่อนก็ได้ แต่ไม่ควรให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อย เพราะเราจะไม่ได้ทำเรื่องที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วนครับ
เหตุผลที่เราควรจดโน้ต
ตอนท้ายผมอยากจะแชร์ถึงประโยชน์ของการเขียนโน้ต ในหนังสือพูดเรื่องถึงประโยชน์การจดโน้ตไว้มากเลยครับ แต่ผมอยากจะสรุปรวบในความคิดผมในฐานะคนที่รักการเขียนโน้ตคนหนึ่ง เผื่อว่ามันจะเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านลุกมาขีดเขียนบ้างครับ
เราควรจดโน้ตเพราะมันช่วยให้ความคิดเราลึกและกว้างขึ้น มันเพิ่มมิติในการคิดต่อเรื่องหนึ่งๆ เราจะได้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงระบบ ซึ่งสำคัญมากๆๆๆๆในยุคต่อจากนี้
เราควรจดโน้ตโดยเฉพาะระหว่างสนทนาหรือประชุม เพราะมันเป็นภาษากายที่บอกผู้ส่งสารว่าเราตั้งใจและถือเป็นการสร้าง rapport ที่สำคัญ
เราควรจดโน้ตเพราะมันบังคับให้เราเปลี่ยนความคิดเป็นภาษา สังเกตุว่าทุกครั้งเวลาเราจะเขียนอะไร เรามักจะได้ยินเสียงในหัวระหว่างเขียนหรือพิมพ์เสมอ นั่นคือ กระบวนการถ่ายทอดเป็นภาษา ซึ่งมันผ่านการเรียบเรียงและทำความเข้าใจเสมอ
1
ในหนังสือมีเนื้อหาเยอะและละเอียดมากเลยครับ สไตล์หนังสือญี่ปุ่น ผมอยากจะชวนทุกท่านให้ลองขีดๆเขียนๆจริงๆนะครับ ถ้าคิดว่ารูปแบบยังยาก ก็ไม่จำเป็นต้องคิดมาก ลองทำดูก่อน แล้วเราจะเริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีเองครับ ปากกาในมือพร้อมแล้วครับ คุณเริ่มได้ เดียวนี้เลยครับ
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์
121 บันทึก
75
5
71
121
75
5
71
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย