#การขนานระบบไฟฟ้า คืออะไร ? (ตอนที่1)
เราอาจเคยได้ยินคำว่าขนานระบบไฟฟ้า แล้วในระบบการจ่ายไฟฟ้าจริงมีแนวทางอย่างไร การขนานระบบไฟฟ้าในระบบส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า หลักๆ จะมีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน
1. #การขนานโรงไฟฟ้าเข้าระบบส่ง
2. #การขนานระบบส่งเข้าด้วยกัน หรือการเชื่อมโยงระบบต่างระดับแรงดันไฟฟ้ากัน
3. #การขนานหม้อแปลงในระบบจำหน่าย ในสถานีไฟฟ้าหรือสถานีไฟฟ้าที่ห่างกันออกไป ( กฟผ.-กฟภ./กฟน.)
สำหรับข้อที่ 1 และ 2 จะดำเนินการตามขั้นตอนสำหรับการขนานระบบ ดังนี้
1. ปรับความถี่ของระบบทั้งสองให้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันที่สุด
2. ตรวจ Phase Rotation หรือ เฟสจะต้องตรงกันและปรับแรงดันไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบให้ใกล้เคียงกัน
3. สับ Breaker Charge Line จากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง
(หลักทั่วไปสำหรับการขนานระบบส่งที่สถานีไฟฟ้ามีโรงไฟฟ้าเชื่อมเข้าระบบสถานีไฟฟ้าเดียวกัน (สถานีไฟฟ้า A) และระบบส่งที่จะขนานเชื่อมโยง (สถานีไฟฟ้า B) จะให้สถานีไฟฟ้า B จ่ายไฟยังสถานีไฟฟ้า A หรือจ่ายสถานีไฟฟ้าที่เป็นโหลดจ่ายไฟไปยังสถานีที่เป็นแหล่งจ่ายไฟหรือโรงไฟฟ้า )
4. “ON” Synchroscope ของ Breaker ที่จะขนานระบบ เพื่อตรวจสอบ Volt ด้าน Running และ Incoming ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าของทั้งสองระบบที่จุดสับขนานจะต้องเท่ากัน หรือต่างกันเล็กน้อย(ไม่เกิน 10% ของ Rated Voltage)
5. ตรวจสอบ Phase Angle มุมระหว่างแรงดันไฟฟ้าของเฟสที่เหมือนกันทั้งสองระบบจะต้อง In Phase กันหรือมีขนาดต่างกันเล็กน้อย (ไม่เกิน 30 องศา) ซึ่งโดยปกติถ้าระบบจ่ายไฟแยกกันอยู่ เข็ม Synchroscope จะหมุน ให้รอจนกระทั่งเข็ม Synchroscope หมุนช้าที่สุด แล้วดำเนินการสับ Breaker ดังนี้
- ถ้าเข็มหมุนตามเข็มนาฬิกา ให้ ”สับ” Breaker ที่ระหว่าง 11-12 นาฬิกา
- ถ้าเข็มหมุนทวนเข็มนาฬิกา ให้ ”สับ” Breaker ที่ระหว่าง 12-1 นาฬิกา
6. เมื่อสับ Breaker ขนานระบบได้แล้ว ให้ตรวจสอบ Power Flow ผ่านสายส่งไม่ Swing และนำสายส่งวงจรที่เหลือเข้าใช้งานเพื่อให้ระบบมีความมั่นคงยิ่งขึ้น
สำหรับหัวข้อที่ 3 จะนำเสนอครั้งต่อไป (ถ้าเกิดข้อสงสัยสอบถามมาที่ เพจ ได้นะครับ ช่วยกดถูกใจ และติดตามด้วยนะครับ)
#ระบบส่งไฟฟ้าและการควบคุมการจ่ายไฟ #การขนานระบบไฟฟ้า