28 มิ.ย. 2020 เวลา 02:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#การขนานระบบไฟฟ้า คืออะไร ? (ตอนที่2)
มาต่อในหัวข้อที่ 3 ซึ่งจะเป็นแนวทางการขนานหม้อแปลงจ่ายไฟให้ กับ หน่วยงาน กฟภ. หรือ กฟน. ซึ่งการขนานมีหลักเกณฑ์ข้อปฏิบัติในการขนานหม้อแปลงของ กฟผ. ผ่านระบบจำหน่าย (โดยจะยกตัวอย่างในกรณีของ หน่วยงาน กฟภ.)
1. กรณีขนานหม้อแปลงของ กฟผ. ซึ่งอยู่ในสถานีไฟฟ้าแรงสูงเดียวกันโดยผ่านบัสของ กฟภ.
- หม้อแปลงจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะขนานกันได้ คือ มีเวคเตอร์กรุ๊ฟ (VECTOR GROUP) เหมือนกัน มีพิกัดแรงดันเดียวกัน ส่วนพิกัด MVA และ อิมพีแดนซ์โวลเตจ (IMPEDANCE VOLTAGE) อาจแตกต่างกันได้ แต่ผลการแตกต่างกันนี้จะต้องไม่ทำให้หม้อแปลงที่ขนานกันตัวใดตัวหนึ่งเกิดการจ่ายเกินขนาดพิกัด
- อุปกรณ์ตัดตอนที่ใช้สำหรับ ปลด–สับ ขนานหม้อแปลง จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถ ปลด–สับ ในขณะมีโหลด และ ปิด–เปิด พร้อมกันทั้ง 3 เฟสได้
- กฟผ. จะต้องปรับแท็ป (TAP) ทางด้าน OLTC (ON – LOAD TAP CHANGER) ของหม้อแปลงที่จะขนานกันให้มี VOLTAGE RATIO เท่ากัน ถ้า TAP VOLTAGE ของหม้อแปลงนั้น IDENTICAL กัน หรือจะต้องปรับแท็ปให้มี VOLTAGE RATIO ใกล้เคียงกัน ถ้า TAP VOLTAGE ของหม้อแปลงนั้นไม่ IDENTICAL กัน ด้วย MANUAL MODE เพื่อให้ CIRCULATING CURRENT ในขณะขนานกันมีน้อยที่สุด ทั้งนี้แรงดันที่จ่ายให้ กฟภ. ในขณะขนานกันไม่ควรจะต่ำกว่าพิกัดแรงดันของระบบ 22, 33 kV และให้อยู่ที่ MANUAL MODE จนกว่าขั้นตอนการทำ SWITCHING จะเสร็จสิ้น
2. กรณีขนานหม้อแปลงของ กฟผ.หรือ กฟภ. ที่อยู่ต่างจากสถานีฯ โดยผ่านระบบจำหน่ายของ กฟภ.
หลักเกณฑ์ในการดำเนินการขนาน จะคล้ายๆกับแบบที่1 แต่เนื่องจาก ระยะห่างของจุดระนานหม้อแปลงอยู่ไกล ผลที่กระทบต่อหม้อแปลงจะมีไม่สูง แต่อย่างไรถ้าหม้อแปลงของทั้งสองสถานีฯ มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะขนานกันได้ คือ มีเวคเตอร์กรุ๊ฟ (VECTOR GROUP) เหมือนกัน มีพิกัดแรงดันเดียวกัน ส่วนพิกัด MVA และอิมพิแดนซ์โวลเตจ (IMPEDANCE VOLTAGE) อาจแตกต่างกันได้ แต่ทั้งนี้โหลดที่จ่ายขณะขนานจะต้องไม่เกินพิกัดหม้อแปลงแต่ละชุด จะทำให้การขนานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในความเป็นจริง การขนานของ กฟภ. จะขนานในระบบจำหน่ายเพื่อการถ่านเทโหลด ของ สองจุดจ่ายไฟ สิ่งที่คำนึงถึง และมีผลต่อการขนาน คือเรื่องของแรงดัน ดังนั้นการปรับระบบ จะดูเรื่องแรงดันเป็นหลัก โดยจะปรับให้ ทั้งสอง สถานีมีแรงดันไฟฟ้าที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อให้ความแตกต่างที่จุดขนานของ กฟภ. มีความปลอดภัย
ที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหลักๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติ ทั้งนี้ยังมีรายละเอียดอีกมาก จากอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลดสับ จะต้องมีการปฏิบัติเพิ่มเติมแต่ละจุดจ่ายไฟ ซึ่งจะมีข้อปฏิบัติของสองหน่วยงาน
(ถ้าเกิดข้อสงสัยสอบถามมาที่ เพจ ได้นะครับ ช่วยกดถูกใจ และติดตามด้วยนะครับ)
#ระบบส่งไฟฟ้าและการควบคุมการจ่ายไฟ #การขนานระบบไฟฟ้า
โฆษณา