28 มิ.ย. 2020 เวลา 02:27 • กีฬา
ทำไม?เทนนิสต้องนับ 15 30 40
ลูกเทนนิส
เมื่อเพื่อน ๆ ดูเทนนิสครั้งแรก เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ ว่าทำไมการนับการนับแต้มของเทนนิส มันถึงแตกต่างจากการนับคะแนนของกีฬาชนิดอื่น ๆ ที่เกือบทั้งหมดจะเริ่มนับจาก 1 ไปจนถึงแต้มสุดท้าย ผมเองครั้งแรกที่ดูก็งงมากต้องใช้จินตนาการสังเกตสักพักถึงเริ่มเข้าใจ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมเทนนิสถึงนับแต้มแรกเป็น 15 แต้มที่สองเป็น 30 แต้มที่สามเป็น 40 แต้มที่สี่เป็น "เกมส์" ซึ่งก็มีการค้นหาที่มาของการขานแต้มแบบนี้ว่ามีที่มาจากอะไร แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนจะมีก็เพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น
ปัจจุบันกีฬา "เทนนิส" ถือว่าเป็นหนึ่งในยอดนิยมของโลกเลยทีเดียว โดยมีต้นกำเนิดประมาณศตวรรษที่ 13 ประเทศฝรั่งเศสมีการเล่นเกมส์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกีฬาเทนนิสเรียกว่า Le Jeu Du Paume (เจอเดอปูม) หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า The Game of the Palm (เกมส์ของฝ่ามือ) เป็นกีฬาของชนชั้นสูงที่เล่นในร่มโดยใช้ฝ่ามือตีลูกบอลทรงกลม หลังจากนั้นจึงมีการใช้เเร็คเก็ตเเทนฝ่ามือ มีการพัฒนามายาวนานกว่าจะมาเป็นเทนนิสในปัจจุบัน หนึ่งในเอกลักษณ์และเสน่ห์ของเทนนิส ก็คือการนับแต้มนั่นเองซึ่งก็มี 2 ที่มาคือ
1. มาจากนาฬิกา
เนื่องมาจากสมัยก่อนมีการใช้นาฬิกาในการขึ้นคะแนน โดยเข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวแทนผู้เล่น มีวิธีการนับดังนี้
แต้ม 0 นับว่า love น่าจะเพี้ยนมาจาก "L'oeuf" คำในภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า "Egg" หรือ "ไข่" เพราะด้วยรูปทรงของไข่ที่เหมือนเลข 0 นั่นเอง
แต้มที่ 1 นับ 15 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 3 ขานแต้มว่า Fifteen
แต้มที่ 2 นับ 30 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 6 ขานแต้มว่า Thirty
แต้มที่ 3 ในกีฬาเทนนิสจะนับ 45 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 9 ขานแต้มว่า Forty-five จนกระทั่งปี ค.ศ. 1875 สโมสร Marylebone Cricket Club (MCC) ในอังกฤษซึ่งเป็นผู้ออกกฎกติกาเทนนิสสมัยใหม่ ได้เปลี่ยนมานับแต้มที่สามเป็น 40 หรือ Forty แทน เพื่อให้กรรมการออกเสียงง่ายขึ้น แต่ถ้าในกรณีที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้แต้มสามแต้มเท่ากันให้ขานแต้มว่า ดิวซ์ (Deuce) ฝ่ายได้แต้มก่อนให้ขานแต้มว่า ได้เปรียบ และถ้าผู้เล่นคนเดิมได้แต้มที่สองติดต่อกันจะเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นคนทำแต้มได้ ต้องมาดิวซ์กันใหม่จนกว่าจะมีฝ่ายใดได้ 2 แต้มติด จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
แต้มที่ 4 เข็มนาฬิกาไปที่เลข 12 ขานแต้มว่า เกมส์ (Game) เป็นอันจบเกม
ถึงกระนั้น ทฤษฎีเข็มนาฬิกาที่ดูสมเหตุสมผลนี้กลับมีจุดบอดที่สำคัญมากๆ อยู่ นั่นคือในยุคแรกเริ่มของเทนิสนั้น นาฬิกาในยุคนั้นมีแค่เข็มชั่วโมงเท่านั้น กว่าที่เข็มนาทีจะถูกใส่ลงไปในนาฬิกาก็ต้องรอถึงปี 1690 ซึ่งมีการคิดค้นระบบลูกตุ้มนาฬิกาขึ้นมาใช้ ทำให้นักประวัติศาสตร์คิดว่าการนับแต้ม 15,30,40 ต้องมีมาก่อนการใช้นาฬิกาเพื่อนับแต้ม ซึ่งถูกนำมาใช้ภายหลังนักเทนนิสหญิง
2. มาจากกีฬาที่ชื่อว่า "Jeu de paume"
ก่อนที่กีฬาเทนนิสจะเป็นเทนนิสอย่างที่เห็นในปัจจุบัน มีกีฬาที่ชื่อว่า "Jeu de paume" ซึ่งมีลักษณะการเล่นคล้ายเทนนิส แต่ใช้ฝ่ามือในการตีลูกแทนแร็คเก็ต ซึ่งต่อมาน่าจะพัฒนามาเป็นเทนนิสในภายหลัง โดยกติกาของกีฬานี้คือ สนามจะมีความยาวรวม 90 ฟุต ซึ่งผู้เล่นจะต้องเริ่มเล่นจากปลายคอร์ต หรือ 45 ฟุตจากเน็ตที่อยู่ตรงกึ่งกลางสนาม เมื่อทำแต้มได้ จะได้ขยับไปเล่นใกล้ขึ้นอีก 15 หลา อีกแต้มก็ขยับอีก 15 หลา ทว่าเนื่องจากไม่สามารถขยับอีก 15 หลาไปยืนที่ตำแหน่งเดียวกับเน็ตเพื่อเล่นแต้มสุดท้ายได้ เพราะต้องเว้นระยะระหว่างผู้เล่นกับเนต จึงขยับขึ้นหน้าเพียง 10 หลา อยู่ที่ตำแหน่ง 5 หลาจากเน็ต - 15, 30, 40 จึงสื่อถึงจำนวนหลาที่ผู้เล่นได้ขยับขึ้นมาหลังจากทำแต้มได้นั่นเอง จะเห็นได้ว่ามันสมเหตุสมผลพอสมควรกับทฤษฎีนี้
แต่ก็ยังไม่มีบทสรุปที่แน่ชัด สำหรับการขานแต้มรวมถึงศัพท์เทคนิคเฉพาะของเทนนิส ว่ามีที่มาอย่างไรกันแน่ แต่มันก็ถือเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์อย่างนึง ที่สร้างความแตกต่างของเทนนิสกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ปล่อยให้แฟน ๆ ชมเกมส์ไป จินตนาการไปว่าการนับแต้มแบบนี้มันเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่
เครดิตภาพปก pixabay
อย่าลืมกดติดตามกันด้วยนะครับ
โฆษณา