Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Cocktails Club
•
ติดตาม
29 มิ.ย. 2020 เวลา 10:44 • การศึกษา
สาเก "Sake"
สาเก เป็นวัฒนธรรมเครื่องดื่มที่เก่าแก่ของญี่ปุ่น และมีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนานานกว่า 2000 ปี
วัฒนธรรมเครื่องดื่มสาเก
สาเก เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ที่หมักจากข้าว มีต้นกำเหนิดในประเทศญี่ปุน คำว่า" สาเก"ในภาษาญี่ปุ่น
เป็นคำที่ใช้เรียกเครื่องดื่ม"แอลกอฮอร์"โดยคำว่า
"นิฮนซู"(Nihonshu) ซึ่งก็หมายถึง แอลกอฮอร์เช่นกันแต่เรียกง่ายๆว่า"สาเก"
นิฮนซู Nihonshu หมายถึงแอลกอฮอร์
ส่วนประกอบหลักของการทำเหล้าสาเก คือ ข้าว,น้ำ
โคจิ (ยีสต์) และบางๆครั้งก็ใช้แอลกอฮอร์ปรุงแต่งร่วมด้วย ส่วนใหญ่มีแอลกอฮอร์ 10 - 20% บางครั้ง
สาเกถูกเรียกว่า"ไวน์ข้าว" นอกจานี้กระบวนการทำสาเก ยังมีลักษณะคล้ายกับการทำเบียร์มากกว่าการทำไวน์
ชนิดของข้าวและยีสต์ที่ใช้ทำสาเก
ในประเทศญี่ปุ่น ข้าวที่นำมาใช้หมักทำเหล้าสาเกมีมากกว่า 80 ชนิด โรงงานผลิตสาเกหลายแห่งจะตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งที่เป็นน้ำพุธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะคุณภาพของน้ำพุธรรมชาติเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี มีแร่
ธาตุผสมอยู่ ทำไห้เหมาะต่อการนำมาใช้ในกระบวนการกลั่น และยังเป็นคุณสมบัติของเหล้าสาเกที่ดีเยี่ยมอีกด้วย
น้ำพุธรรมชาติมีความสำคัญในการผลิตสาเก
ขั้นตอนในๆการทำสาเก
ขั้นตอนแรกคือ การสีข้าวเพื่อเอาผิวข้าวชั้นนอกของเมล็ดข้าวออกให้เหลือแต่เนื้อในที่เต็มด้วยแป้ง เป็นส่วนที่จะนำไปหมัก ในการทำสาเกให้ออกมาคุณภาพดี ข้าวจะต้องถูกนำมาสีจนเหลือ70%-50% หมายความว่าราวๆ 30%-50% ของเมล็ดข้าวจะถูกสีออกไป
ขั้นตอนการทำสาเก
ข้าวที่สีแล้วจะถูกนำมาล้าง แช่น้ำทิ้งไว้ และทำให้ข้าวสุกโดยการนำไปนึ่ง ต่อมาเข้าสู่กระบวนการหมัก
โดยมีการเติมเชื้อราชนิดหนึ่งลงไปเพื่อช่วยในกระบวนการหมักข้าวเป็นเวลา 5-7 วัน
ขั้นตอนการทำสาเก
หลังจากนั้นก็จะไส่น้ำ และยีสต์ที่ได้จากการเพาะลงไปผสม หมักต่อเป็นระยะเวลา 2 -3 สัปดาห์กระบวนการหมักในลักษณะนี้ทำให้สาเกมีปริมาณแอลกอฮอร์ที่สูงกว่าเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น เบียร์ โดยไม่ผ่านกระบวนการกลั่น หลังจากการหมักเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนผสมที่หมักจะถูกนำมาสู่กระบวนการกรองเพื่อสกัดออกมาเป็นเหล้าสาเก
ขั้นตอนการหมักสาเก
หลังจากนั้น เล้าสาเกที่กรองแล้ว จะถูกนำมาบ่มเป็นระยะเวลา 9-12 เดือนก่อนนำมาบรรจุขวด และพร้อมสำรับการบริโภค
ขั้นตอนการกรองและการบ่ม
เหล้าสาเกมีหลายชนิด ชนิดหลักๆของสาเกมีดังนี้
1.Junmai (จุนไม) เป็นเหล้าสาเกที่ทำจากข้าวล้วนๆ ซึ่งหมายความว่า จะไม่มีการไส่สารเติมแต่งใดๆลงไปทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาล หรือแอลกอฮอร์ปรุงแต่ง
ถ้าขวดไหนไม่มีคำว่า "Junmai"แปลว่ามีการเติมแต่งสาเกเรื่องรสชาติและกลิ่นต่างๆร่วมด้วย
Sake Grades
Junmai จะต้องทำจากข้าวที่ถูกนำมาสีจนเนื้อข้าวอย่างน้อย 70% ทำให้มันมีเนื้อราชาติที่เข้มข้น
Full body แต่ซ่อนเปรี้ยวเล็กน้อยและเผ็ดเล็กน้อย
ภาชนะไส่สาเก
2.Honjozo (ฮอนโจโซะ) มีลักษณะคล้ายกับJunmai
ตรงที่ข้าวที่นำมาใช้หมักจะต้องเป็นข้าวที่ถูกนำมาสีจนเหลือเนื้อข้าวอย่างน้อย 70% แต่แตกต่างตรงที่
Honjozo จะมีการใส่แอลกอฮอร์ปรุงแต่ง ซึ่งจะทำให้สาเกมีรสชาติที่ดี มีกลิ่นหอมน่าดื่มมากขึ้น
สาเก
3.Ginjo (กินโจ้ว)& Junmai Ginjo( จุงไม กินโจว)
Ginjo จัดเป็นสาเกพรีเมี่ยม โดยข้าวที่นำมาใช้หมักจะต้องเป็นข้าวที่ถูกนำมาสีจนเหลือข้าวอย่างน้อย 60%
นอกจากนี้ ยีสต์ที่นำมาหมักยังต้องเป็นยีสต์ชนิดพิเศษ และผ่านกระบนการหมักแบบพิเศษด้วย ทำให้สาเกที่ได้มีรสชาติเบา และมีกลิ่นหอมของผลไม้
Junmai Gingo เป็นชื่อสาเกชนิด Gingo ที่ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ เช่นไม่เติมแอลกอฮอร์เพิ่ม หรือเติมกลิ่น
4.Daiginjo (ไดกินโจ้ว) &Junmai Daigingo
Daiginjo เป็นสาเกชนิดเดียวกับ Ginjo โดยคำว่า Dai
แปลว่า"ใหญ่"
Daiginjo มีความพรีเมี่ยมมากว่า Ginjo เพราะจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคการทำที่ซับซ้อนมากกว่า ข้าวที่นำมาหมักจะต้องเป็นข้าวที่ถูกนำไปสีจนเหลือเนื้อข้าว
50% ทำไห้มีรสชาติหอมกลิ่น ฟรุตตี้ กลิ่นผลไม้
และทำให้มีราคาสูง
Junmai Daiginjo คือสาเกชนิด Daiginjo ที่ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ ไม่มีการเติมกลิ่น รสชาติเพิ่ม
โรงบ่มเหล้าสาเก
5. Futushu (ฟุทสึชู) จัดเป็นสาเกเกรดมาตรฐาน หาดื่มได้ทั่วไป หรือ Table sake มีส่วนผสมของ ข้าว
ยีสต์ (โคจิ) สุรากลั่น เป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยในสาเกชนิดนี้มักใช้น้ำตาล หรือกรดมาลิก เพื่อปรับรสชาติของสาเกนั้นๆ สาเกชนิดนี้ไม่มีการจำกัดการขัดสีข้าว ดังนั้นสาเกแต่ละญี่ห่อจึงมีความแตกต่างกันไป นิยมดื่มแบบเย็น แบบอุณหภมิห้อง แบบร้อน
สาเกแบบ Nigori นิโกริ
6.Shiboritate(ชิโบริตาเต้ะ) สาเกส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาการบ่มประมาณ 6-12 เดือน ก่อนนำมาดื่ม ซึ่งการนำมาบ่มนี้จะให้รสชาติที่นุ่ม แต่ถ้าเป็นประเภท
Shiboritate ที่ไม่ผ่านการบ่มเลย จะทำให้รสชาติ ออก กลิ่นฉุน ดีกรีแรง มีกลิ่นผลไม้
7.Nama Sake (นาม้ะ) คือสาเกที่ไม่ผ่านการ
พาสเจอร์ไรส์หรือกระบวนการฆ่าเชื้อ จึงจำเป็นต้องแช่เย็น เพื่อเก็บความสดอยู่เสมอ จึงมีรสชาติเข้มข้นกว่าสาเกชนิดอื่น มักจะดื่มแบบเย็น มีรสชาติสดชื่น
หรุตตี้ กลิ่นหอมหวาน
บาร์สาเกตามข้างถนนในญี่ปุ่น
8.Nigori (นิโกริ)เป็นสาเกที่มีการกรองแบบหยาบๆ จึงทำให้เหลือข้าวที่ใช้ในการผลิตให้เห็นอยู่ สาเกชนิดนี้มีลักษณะขาวขุ่น ไม่ใส เนื่องจากไม่ได้ผ่านการกรองแบบปกติ จึงมีรสชาติค่อนข้างเข้มข้น
ออกหวาน มีรสชาติเข้มข้น Full body
การรินสาเก
9.Jizake จัดเป็นสาเกที่หาทานค่อนข้างยาก เพราะมีความเป็นท้องถิ่นสูง รชาติความเป็นท้องถิ่นแท้ๆ ทำไห้เหมาะสำหรับดื่มคู่กับอาหารท้องถิ่น มีรสชาติสดชื่นเป็นเอกลักษณ์ ราคาไม่แพง
The Cocktails Club
เครื่องดื่มศรีอุดม
4 บันทึก
3
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สาเก เครื่องดื่มดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น
4
3
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย